มุมมอง 3 ภาคเอกชน "โอมิครอน" ความเสี่ยงใหม่ต่อเศรษฐกิจโลกช่วงต้นปี 65


โดย PPTV Online

เผยแพร่




มุมมอง 3 ภาคเอกชน "โอมิครอน" ความเสี่ยงใหม่ต่อเศรษฐกิจโลกช่วงต้นปี 65 ขณะที่เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มเติบโตดีขึ้น

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประจำเดือนธันวาคม 2564 โดยมีนายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เป็นประธาน กกร. และมีนายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย เป็นประธานร่วมในการประชุม

"นพ.ยง" ชี้ สายพันธุ์ "โอมิครอน" จ่อผงาดมาแทนที่ "เดลต้า"

“ดร.อนันต์” ชี้ภูมิต้านทานลูกผสมจากไฟเซอร์ ป้องกัน “โอมิครอน” ได้ แม้หนีภูมิ 41 เท่า

ซึ่งทั้ง 3 สถาบัน มองว่า ประมาณการเศรษฐกิจปี 2564 เศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวสอดคล้องกับที่คาดการณ์ไว้ โดยคงคาดการณ์เศรษฐกิจในปี 2564 ไว้ในกรอบ 0.5% ถึง 1.5%

 

ขณะที่ประมาณการการส่งออกในปี 2564 ว่าจะขยายตัวในกรอบ 13.0% ถึง 15.0% เนื่องมาจาก Demand เพิ่มสูงต่อเนื่อง โดยมีประเด็นที่จะต้องเร่งแก้ปัญหาคือการ การขาดแคลนตู้ คอนเทนเนอร์ ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปคาดว่าจะขยายตัวอยู่ในกรอบ 1.0% ถึง 1.2%  

"โอมิครอน" ความเสี่ยงใหม่ต่อเศรษฐกิจโลกช่วงต้นปี 65

นอกจากนั้น ในที่ประชุมยังพูดถึง เศรษฐกิจทั่วโลกได้รับผลกระทบจากการแพร่ะบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน ซึ่งแพร่ระบาดได้รวดเร็วและสามารถติดต่อไปยังผู้ที่ได้รับวัคซีนแล้ว ส่งผลให้หลายประเทศกลับมาใช้มาตรการจำกัดการเดินทางหรือมาตรการจำกัดกิจกรรมอีกครั้ง 

ซึ่ง  โอมิครอน  อาจทำให้การฟื้นตัวต่อจากนี้ไปได้รับผลกระทบและต้องล่าช้าออกไป โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว ที่เพิ่งเริ่มรับนักท่องเที่ยวต่างชาติหลังการเปิดประเทศเมื่อ 1 พ.ย.

ดังนั้น “โอมิครอน” จึงกลายเป็นความเสี่ยงใหม่ต่อเศรษฐกิจโลกในช่วงต้นปี 2565 นอกเหนือจากความท้าทายที่มีอยู่เดิม ดังนั้น จำเป็นต้องจับตาปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ โดยขึ้นอยู่กับความรุนแรงและความรวดเร็วของการแพร่ระบาดซึ่งจะต้องติดตามอย่างใกล้ชิดในระยะนี้

เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มเติบโตดี

ในปี 2565 แม้มีการระบาดของสายพันธุ์โอมิครอน แต่ปัจจุบันไทยมีอัตราการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนในระดับสูงและเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงมาตรการด้านสาธารณสุข และการเข้า-ออก ประเทศที่มีความเข้มงวด  ภาคเอกชนเห็นว่าไม่ควรตื่นตระหนกจนเกินไป ทุกภาคส่วนควรปฏิบัติตามมาตรการสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด เพื่อไม่ให้เกิดการระบาดในระลอกใหม่ซ้ำเติม 

ที่ผ่านมาเห็นได้ชัดจากบทเรียนของการล็อกดาวน์ว่ามีต้นทุนต่อเศรษฐกิจและสังคมสูงมาก ทั้งผลกระทบโดยตรงจากการหยุดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และทางอ้อมจากการบั่นทอนความเชื่อมั่นของประชาชนและผู้ประกอบการ

แนะต้องมีนโยบายระยะสั้นและระยะยาว

การขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปี 2565 มองว่า ในระยะสั้นที่การฟื้นตัวล่าช้าออกไปภาคธุรกิจยังคงฟื้นตัวไม่พร้อมเพรียงกัน (K-shaped recovery) มาตรการพยุงเศรษฐกิจและกำลังซื้อของครัวเรือน รวมถึงการผ่อนคลายนโยบายการเงินที่มีความต่อเนื่องยังคงมีความจำเป็น

นอกจากนี้ สำหรับปัญหาการขาดแคลนแรงงานต่างด้าวควรแก้ไขโดย เร่งขึ้นทะเบียน และมี การจัดสรรวัคซีนให้ เพราะในขณะนี้ประเทศไทยเริ่มมีปริมาณวัคซีนที่เพียงพอมากขึ้น โดยในระหว่างนี้ต้องช่วยกันรณรงค์ให้คนที่ยังไม่ได้รับวัคซีนรีบมาฉีดวัคซีน เพราะอัตราผู้เสียชีวิตจาก COVID-19 ส่วนใหญ่มาจากคนที่ไม่ได้รับวัคซีน

กกร.คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยปี 2565 จะขยายตัวได้ในกรอบ 3.0% ถึง 4.5% สอดคล้องกับเศรษฐกิจโลกที่ปีหน้าน่าจะเติบโตที่ 4-5% ขณะที่ประมาณการการส่งออกในปี 2565 ว่าจะขยายตัวในกรอบ 3.0% ถึง 5.0% ซึ่งมาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกทำให้การส่งออกจะมีการขยายตัวต่อจากปีนี้

ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปคาดว่าจะขยายตัวอยู่ในกรอบ 1.2% ถึง 2.0% ซึ่งมาจากแนวโน้มของสินค้า Commodities มีแนวโน้มราคาสูงขึ้น และปีหน้าสิ่งที่ต้องจับตามองอีกเรื่องคือปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองเรื่อง Geopolitics ของหลายประเทศ

TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ