จุรินทร์ แก้หมูแพง! ห้ามส่งออกหมูเป็น! ชั่วคราว 3 เดือน


โดย PPTV Online

เผยแพร่




จุรินทร์ แก้หมูแพง! ห้ามส่งออกหมูเป็น! เป็นการชั่วคราว ในเวลา 3 เดือน เริ่ม 6 ม.ค.65- 5 เม.ย.65 พร้อมสั่งลุยเช็คสต๊อกและแจ้งราคา

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์  รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) ครั้งที่ 1/2565 โดยได้พิจารณาประเด็นสำคัญเรื่อง สุกร หารือร่วมกันกับกรมปศุสัตว์ที่เป็นหน่วยงานดูแลการผลิตสุกรป้อนเข้าสู่ตลาด

ธ.ก.ส. ทุ่ม 3 หมื่นล้าน ออกสินเชื่ออุ้มเกษตรกร สู้วิกฤตหมูแพง

"เงินเฟ้อสูงขึ้น 2.17%" ผลพวงผัก เนื้อหมู เนื้อไก่ ไข่ ขึ้นราคา

โดยพิจารณา ห้ามส่งออกสุกรมีชีวิตเป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 6 ม.ค.65 ถึง วันที่ 5 เม.ย. 65 เป็นการชั่วคราว และจะพิจารณาตามสถานการณ์ว่าควรให้มีการต่ออายุหรือไม่ ซึ่งคาดว่าจะช่วยให้มีหมูเป็น กลับเข้าสู่ระบบเพิ่มเติมประมาณ 1 ล้านตัว

สำหรับ ตัวเลขเบื้องต้นในปี 2564 มีการเลี้ยงสุกรป้อนเข้าสู่ตลาด ประมาณ 19 ล้านตัว บริโภคในประเทศ 18 ล้านตัว ส่งออกไปต่างประเทศประมาณ 1 ล้านตัว  และคาดการณ์ว่าปี 2565 จะมีสุกรหายไปจากระบบ เหลือประมาณ 13 ล้านตัว จาก 19 ล้านตัว ซึ่งเราบริโภคในประเทศประมาณ 18 ล้านตัว  ทำให้ขาดสุกรประมาณ 5 ล้านตัวสำหรับการบริโภค

นายกฯ สั่งแก้หมูแพง ชะลอส่งออก ขอห้างค้าปลีก-ค้าส่งตรึงราคา คาด 4 เดือน กลับสู่ภาวะปกติ

"เจ๊จงหมูทอด" แบกไม่ไหว ประกาศปรับราคาขึ้น

นอกจากนี้ ยังสั่งการให้ผู้เลี้ยงที่มีปริมาณการเลี้ยงเกิน 500 ตัว ผู้ค้าส่งที่มีปริมาณเกิน 500 ตัว ห้องเย็นที่มีการเก็บสต๊อกเกิน 5,000 กิโลกรัมขึ้นไป ให้ดำเนินการแจ้งสต๊อกให้กรมการค้าภายในรับทราบ รวมทั้งแจ้งราคา ในทุก 7 วัน เริ่มวันที่ 10 ม.ค. 65 เป็นต้นไป เพื่อให้ทราบปริมาณหมูเป็นทั้งหมดที่อยู่ในระบบ รวมทั้งหมูแช่แข็ง แช่เย็น รวมกันทั้งประเทศว่ามีจำนวนเท่าไหร่ เพื่อพิจารณาแก้ไขปัญหาร่วมกันกับกรมปศุสัตว์และหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องต่อไป

กรมการค้าภายในจะทำงานร่วมกันกับกรมปศุสัตว์และหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด ให้ได้ตัวเลขที่ใกล้เคียงความจริงที่สุด 

ส่วนการจำหน่ายเนื้อหมูกำหนดให้มีการติดป้ายราคาจำหน่ายห้ามขายเกินราคาป้ายที่กำหนดไว้ รวมทั้งดำเนินการให้เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจตามกฏหมายทั้งผู้ว่าราชการจังหวัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พาณิชย์จังหวัดและกรมการค้าภายในรวมทั้งปศุสัตว์ ดำเนินการบังคับใช้กฎหมาย ทั้งการขายเกินราคา การเข้าข่ายค้ากำไรเกินควรก็ตาม 

และที่ประชุมยังมีมติเพิ่มเติมให้กรมปศุสัตว์ในฐานะหน่วยงานเจ้าของเรื่องโดยตรง ผลิตสุกร เข้าสู่ระบบเร่งดำเนินการ ส่งเสริมการเลี้ยงสุกรเพิ่มเติมเพื่อให้สุกรมีเพียงพอสำหรับการบริโภคในประเทศโดยเร็วที่สุด

รพ.บางใหญ่ เปิด walk-in ฉีดวัคซีนเข็ม 3 “ไฟเซอร์-แอสตร้าฯ”

ด่วน! สธ.ยกระดับเตือนภัยโควิด จาก 3 เป็น 4 ของดรวมกลุ่ม ชะลอเดินทาง

ด้านนายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  หารือกับหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องรวมทั้งสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ มีมาตรการเร่งรัดการส่งเสริมการเลี้ยง ซึ่งถ้ามีความจำเป็นในเรื่องใดที่จะต้องเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี กระทรวงพาณิชย์พร้อมที่จะให้การสนับสนุน โดยเฉพาะมาตรการเร่งรัดส่งเสริมการเลี้ยงการช่วยให้เกษตรกรรายย่อยสามารถเข้าถึงแหล่งทุนดอกเบี้ยราคาถูกหรือเงื่อนไขผ่อนปรนเป็นพิเศษ และขอให้กระทรวงการคลังเข้ามามีบทบาทช่วยดูแลเรื่องนี้ต่อไป รวมทั้งส่งเสริมให้เกษตรกรผู้เลี้ยงหมูเข้ามาเลี้ยงในระบบ GFM (Good Farming Management) ที่มีมาตรฐานและต้นทุนไม่สูงเกินไป เป็นระบบที่ป้องกันโรคได้และมีความปลอดภัยสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้

"เช็ก 5 อาการโอมิครอน" ที่แพทย์ตรวจพบในกลุ่มผู้ติดเชื้อโควิด

ลงทะเบียนฉีดวัคซีนเข็ม 3 รพ.รามาธิบดี เปิดจอง “แอสตร้าฯ-ไฟเซอร์” เริ่ม 6 ม.ค. 65

สำหรับมาตรการต่อจากนี้ จะดำเนินการ ในมาตรการที่ 1 เมื่อทราบสต๊อกจะเร่งนำหมูจากสต๊อกมาป้อนเข้าสู่ระบบโดยเร็ว

มาตรการที่ 2 กำกับราคาไม่ให้เกิดการค้ากำไรเกินควร ถ้าต้นทุนหมูสูงขึ้นจริงจำเป็นต้องขายราคาหน้าฟาร์มสูงขึ้น ก็ให้ความยุติธรรมกับทุกฝ่าย แต่ถ้าขายเกินราคาสมควรจนเข้าข่ายผิดกฎหมาย กระทรวงพาณิชย์จะเข้าไปดำเนินคดีโดยเด็ดขาด ไม่มียกเว้น ขอความร่วมมือกับพี่น้องประชาชนผู้บริโภคทั้งประเทศแจ้งเบาะแสมาที่สายด่วน 1569  ซึ่งนอกจากเข้าไปทำหน้าที่เชิงรุกของเจ้าหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์ จะขอความร่วมมือผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะที่เป็นกลไกของกระทรวงพาณิชย์ในระดับจังหวัดช่วยดำเนินการเรื่องนี้

นอกจาก มาตรการเร่งด่วน การห้ามส่งออกหมูมีชีวิตเป็นเวลา 3 เดือนแล้ว  นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ยังมี การช่วยเหลือด้านราคาอาหารสัตว์ โดยเฉพาะส่วนที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ เช่น การงดเว้นการเก็บค่าธรรมเนียมหรือภาษี การจัดสินเชื่อพิเศษของ ธ.ก.ส. เพื่อให้เกษตรกรที่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขได้กลับมาเลี้ยงใหม่ในพื้นที่ความเสี่ยงต่อโรคระบาดต่ำ การตรึงราคาจำหน่ายที่เหมาะสมและสอดคล้องกับต้นทุนที่เกิดขึ้น

- การเร่งสำรวจภาพรวมสถานการณ์การผลิตสุกร เพื่อกำหนดพื้นที่เป้าหมายและมาตรการที่เหมาะสม พร้อมเพิ่มกำลังการผลิตแม่สุกรทดแทน โดยให้เกษตรกรใช้สุกรขุนตัวเมียมาใช้ทำพันธุ์ชั่วคราว เร่งรัดเจรจาฟาร์มรายใหญ่ในการกระจายพันธุ์และลูกสุกรขุนให้กับรายย่อยและเล็กที่ต้องการกลับเข้ามาสู่ระบบใหม่ กำหนดโซนเลี้ยงและออกมาตรการบังคับใช้อย่างเหมาะสมเพื่อควบคุมโรค และเร่งรัดการวิจัยพัฒนาวัคซีนป้องกันโรค

2. มาตรการระยะสั้น ส่งเสริมการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพื่อทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ การขยายกำลังผลิตแม่สุกร สนับสนุนศูนย์วิจัยและบำรุงสัตว์ ในสังกัดกรมปศุสัตว์และเครือข่ายคู่ขนานกับฟาร์มเกษตรกรและภาคเอกชน เร่งเดินหน้าการศึกษาวิจัยยาและสารกระตุ้นภูมิคุ้มกันเพื่อลดความสูญเสียจากโรคระบาด 

3.มาตรการระยะยาว กระทรวงเกษตรฯ จะผลักดันการยกระดับมาตรฐานฟาร์มของเกษตรกรเพื่อป้องกันโรคระบาด ส่งเสริมให้ปรับปรุงเป็นฟาร์มที่มีระบบการป้องกันโรคและการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม (GFM) มีค่าใช้จ่ายต่ำกว่ามาตรฐานฟาร์ม GAP ซึ่งจะเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรกลับมาเลี้ยงสุกรใหม่และเพิ่มปริมาณการผลิตหมูให้เพียงพอต่อความต้องการบริโภค ทั้งยังจะมีการสนับสนุนการเลี้ยงโดยจะมีสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้กู้ยืมจาก ธ.ก.ส. ในโครงการสานฝันสร้างอาชีพ ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้กรมปศุสัตว์ เร่งขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยเพื่อช่วยเหลือให้เข้าถึงแหล่งสินเชื่อได้ง่ายและสะดวกรวดเร็ว รวมทั้งการรวมกลุ่ม สนับสนุน และหาตลาดในราคาที่เกษตรกรอยู่ได้อย่างดี

TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ