หมูยังแพง คนหันไปกินเนื้อไก่แทน


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ราคาเนื้อหมูยังคงสูงต่อเนื่อง ขณะที่วานนี้กระทรวงพาณิชย์ ออกมาตรการเร่งด่วนสั่งห้ามส่งออกหมูไปต่างประเทศ 3 เดือน หวังแก้ปัญหาหมูแพง

เขียงหมูที่ตลาดยิ่งเจริญ ย่านบางเขน วันนี้ ร้านขายเนื้อหมูหลายร้านยังคงมีประชาชนมาจับจ่ายเลือกซื้อสินค้ากันอย่างต่อเนื่อง แต่ทั้งพ่อค้าแม่ค้า และคนซื้อเองก็ต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันครับว่า ราคายังแพง อย่าง เนื้อแดง 210 บาทต่อกก. อีกสิ่งหนึ่งที่พบได้มากหลังจากราคาเนื้อหมูปรับตัวแพงขึ้นต่อเนื่อง นั่นคือสินค้าวัตถุดิบประเภทอื่นๆ อย่าง เนื้อไก่ ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้น

 

น่าห่วง! ราคาเนื้อหมูอาจทะลุ 200 บาท แนะรัฐคุมส่งออกทันที

หมูแพง! ร้านหมูกระทะพัทยาขอตรึงราคาเพื่อลูกค้า

เนื้อไก่ ที่หน้าแผงพ่อค้ารายนี้ในตลาดยิ่งเจริญ กรุงเทพมหานคร ได้รับความนิยมจากลูกค้ามากขึ้น เพราะลูกค้าหลายคนเลือกนำไปประกอบอาหารแทนเนื้อหมู ที่ราคาพุ่งสูงมากในขณะนี้

ส่วนราคาของ เนื้อไก่ ยังไม่ปรับขึ้น โดยราคาเนื้อไก่ แบบซื้อเป็นตัว , ซื้อชิ้นส่วน อกไก่ น่องไก่ และ เนื้อบด ราคาอยู่ที่ราว 70-75 บาทต่อกิโลกรัม

จุรินทร์ แก้หมูแพง! ห้ามส่งออกหมูเป็น! ชั่วคราว 3 เดือน

ขณะที่ ขายปลีกเนื้อหมูวันนี้ยังคงราคาสูงอยู่ เช่น หมูเนื้อแดง จากเดิม 120-130 บาท เพิ่มขึ้นเป็น 200-210 บาทต่อกิโลกรัม   เนื้อหมูสามชั้น จากเดิม 150 บาท กิโลกรัมละ 240 บาท  สันคอ-สันนอก จากเดิม 140 บาท ขึ้นเป็น 220 บาทต่อกิโลกรัม   ส่วนหมูบดไม่ติดมัน จากเดิม 120 บาท เพิ่มขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 200 บาท  ซึ่งราคาที่ปรับขึ้นมานึ้ เป็นราคาที่ในช่วง6เดือนที่ผ่านมา 

โดยหนึ่งใน ลูกค้า บอกกับทีมข่าวว่า ปัญหาราคาหมูที่แพงมาก ขอให้ภาครัฐออกมาตรการลดค่าครองชีพ หรือ เยียวยาเพิ่มเติมในช่วงนี้ เพราะตอนนี้สินค้าในชีวิตประจำวันหลายประเภทขึ้นราคา ก่อนหน้านี้ก็เป็น พืช ผัก จากสถานการณ์น้ำท่วม

พ่อค้าเขียงหมูในตลาด นายศกยพัฒน์ เลาหเรืองชัยยศ บอกว่า ราคาเนื้อหมูปรับสูงขึ้นมาตลอด ปกติหลังจากหมดวันพระราคาจะลดเล็กน้อย แต่ปัจจุบันมองว่าสถานการณ์ผิดปกติ  ทุกวันนี้ผู้ค้ารายย่อย ต้องแบกรับต้นทุนที่พุ่งจนแทบไม่เหลือกำไร และหากลูกค้ารับไม่ไหว ไม่ซื้อหมูอีกเพราะราคาที่แพง ทุกภาคส่วนจะผลกระทบเป็นลูกโซ่

ด่วน! สธ.ยกระดับเตือนภัยโควิด จาก 3 เป็น 4 ของดรวมกลุ่ม ชะลอเดินทาง

จากปัญหาโรคระบาด ต้นทุนที่สูง ทำให้ผู้ผลิตหมูลดลง สะท้อนยังรายงานของ กรมปศุสัตว์ ระบุว่า ในปี 2564 สุกรป้อนเข้าสู่ตลาด ประมาณ 19 ล้านตัว แบ่งเป็นบริโภคในประเทศ 18 ล้านตัว ส่งออกไปต่างประเทศประมาณ 1 ล้านตัว ส่วนปีนี้ 2565 จะมีสุกรหายไปจากระบบประมาณ 5 ล้านตัว เหลือประมาณ 13 ล้านตัว จากเดิม 19 ล้านตัว 

ส่วนวานนี้ คณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ หรือ กกร. ออกมาตรการเร่งด่วนห้ามส่งออกสุกรมีชีวิตเป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 6 ม.ค.65 ถึง วันที่ 5 เม.ย. 65 รวมถึงสั่งให้ผู้เลี้ยง-ผู้ส่งออก ที่มีปริมาณการเลี้ยงเกิน 500 แจ้งสต๊อกให้กรมการค้าภายในรับทราบ

สำหรับมาตรการของกระทรวงพาณิชย์ที่ห้ามส่งออกหมูเป็นเวลา 3 เดือน พ่อค้า-แม่ค้าในตลาด บอกว่า หากกฎระเบียบกับเจ้าหน้าที่บังคับใช้คุมได้จริง ก็คงช่วยลดปัญหาได้ระดับหนึ่ง แต่ต้องดูในทางปฎิบัติด้วยว่าจะสามารถทำได้จริงหรือไม่

"เช็ก 5 อาการโอมิครอน" ที่แพทย์ตรวจพบในกลุ่มผู้ติดเชื้อโควิด

PR - ตารางคะแนน-2_B PR - ตารางคะแนน-2_B
TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ