รู้จักกระแส "งานศิลปะ เพลง ของสะสม" รูปแบบ Non-Fungible Token (NFT)


โดย PPTV Online

เผยแพร่




รู้จักกระแส "งานศิลปะ เพลง ของสะสม" รูปแบบ Non-Fungible Token (NFT) ทั้งบทบาทของ ก.ล.ต. และ ประสบการณ์ตรงจากการประมูลภาพวาด 1.38 ล้านบาท สู่การลงทุนแห่งอนาคตอันใกล้

กระแส Non-Fungible Token (NFT) หรือ การนำเทคโนโลยีมาใช้แสดงความเป็นเจ้าของหรือ ให้สิทธิในสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือที่มีลักษณะเฉพาะในแต่ละเหรียญ ไม่สามารถทดแทนกันได้ (non-fungible) เช่น งานศิลปะ เพลง รูปภาพ ของสะสมเกี่ยวกับศิลปินนักกีฬา กำลังได้รับความนิยม ซึ่งมีทั้งรูปแบบ

ประมูลมีมดัง “โคลอี้ตาขวาง” เป็น NFT

ยอดทะลุ 50 ล้าน งานประมูลผลงานศิลปะ Bangkok Art Auction Center

ผู้ที่สนใจจะ นำทรัพย์สินหรือผลงานที่มีมาออกและเสนอขายในรูปของ token

ผู้ประกอบการ ที่จะให้บริการแพลตฟอร์มในการซื้อขาย NFT ทั้งในตลาดแรกและตลาดรอง

ผู้ที่สนใจซื้อขาย NFT  ทั้งที่ชื่นชอบในผลงาน หรือเพื่อใช้งาน หรือเพื่อการเก็งกำไร

พีพีทีวี นิวมีเดีย มีโอกาสได้ สัมภาษณ์หนึ่งในบุคคลที่เพิ่งร่วมประมูลภาพวาด ผ่าน รูปแบบของ NFT (Non-fungible token) จากงาน Bangkok Art Auction Center คุณศุภโชค ภู่ประเสริฐ หรือ คุณป๊อป โดยร่วมประมูลภาพวาด ของศิลปินไทย LINECENSOR หรือ เกียรติอนันต์ เอี่ยมจันทร์ ถูกประมูลไปจบที่ราคา 1,380,000 บาท โดยภาพดังกล่าวมีชื่อว่า “Burning of Metadata” 

ข่าวแห่งปี 2564 : ปีแห่งการเทรด "เหรียญดิจิทัล" ฟีเวอร์

คุณป๊อบเล่าให้ฟังว่า ปกติเป็นคนที่สนใจนวัตกรรม ไอที อยู่แล้วเลยลองศึกษาและอ่านบทความข้อมูลจากต่างประเทศ และได้มาเจอกับ รูปแบบของ NFT (Non-fungible token) ประกอบกับได้รับคำแนะนำให้ดูงานศิลปะต่างๆ จากรุ่นพี่ ขณะที่ส่วนตัวก็สนใจงาน Physical art อยู่

สำหรับ Burning of Metadata นี้เห็นว่าเป็นของศิลปินไทยที่อนู่ใน NFT รวมถึงชอบชื่อของผลงาน จึงหาข้อมูลเกี่ยวกับตัวศิลปิน และตัดสินใจร่วมประมูล (Bid) จนเป็นที่พอใจและจบที่ 1,380,000 บาท 

กระแส NFT คุณป๊อป มองว่าเป็นเหมือน Digital Training การลงทุนแห่งอนาคตที่น่าสนใจ และจะเป็นอนาคตที่สดใสของศิลปินไทยรุ่นใหม่ๆ ที่จะมีพื้นที่ในการแสดงผลงานและสร้างรายได้ ซึ่งหากมองไกลไปถึง เมตาเวิร์ส (Metaverse) ก็จะยิ่งเป็นเทรนด์การลงทุนในอนาคตที่น่าสนใจมาก

บทบาทและการเข้าไปกำกับดูแล NFT ของ ก.ล.ต.ในอนาคต

และเนื่องจากการสร้างผลงานในลักษณะ NFT นั้น สามารถเพิ่มความสะดวกในการซื้อขายแลกเปลี่ยน ทำให้เข้าถึงผู้ใช้งานได้มากขึ้นด้วยเทคโนโลยี และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการ การแสดงสิทธิในทรัพย์สิน รวมถึงป้องกันการปลอมแปลง แต่พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 (พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ)  ไม่ได้มีการกำหนดเกี่ยวกับ NFT ไว้โดยเฉพาะ

ดังนั้นการเข้าไปกำกับดูแลของ ก.ล.ต. ใน กรณีของ NFT นั้น จะต้องพิจารณาว่าลักษณะของ NFT แต่ละเหรียญ เข้านิยาม สินทรัพย์ดิจิทัล ประเภทใดประเภทหนึ่งตาม พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ หรือไม่ 

สำหรับสินทรัพย์ดิจิทัลภายใต้การกำกับดูแลตาม พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ มี 3 ประเภท ได้แก่

  1. คริปโทเคอร์เรนซี เป็นเหรียญดิจิทัลที่ใช้เป็นสื่อกลางในการซื้อขายแลกเปลี่ยนเพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้า บริการ หรือสิทธิอื่นใด หรือแลกเปลี่ยนระหว่างสินทรัพย์ดิจิทัลด้วยกัน
  2. โทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน (investment token) เป็นเหรียญดิจิทัลที่ให้สิทธิในการเข้าร่วมลงทุนในโครงการหรือกิจการใด ๆ
  3. โทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์ (utility token) เป็นเหรียญดิจิทัลที่ให้สิทธิแก่ผู้ถือในการได้มาซึ่งสินค้า บริการ หรือสิทธิอื่นใดที่เฉพาะเจาะจง โดยแบ่งเป็น utility token พร้อมใช้ และ utility token ไม่พร้อมใช้
    1. utility token พร้อมใช้ ผู้ถือเหรียญสามารถใช้สิทธิแลกสินค้าหรือใช้บริการได้ทันทีตั้งแต่วันที่เสนอขายครั้งแรก
    2. utility token ไม่พร้อมใช้ ผู้ถือเหรียญจะยังไม่สามารถใช้สิทธิแลกหรือใช้ประโยชน์สินค้าหรือบริการนั้นได้ในวันเสนอขาย แต่ต้องรอใช้สิทธิในอนาคต

ดังนั้น หากเป็น NFT ที่มีการกำหนดสิทธิในการได้มาซึ่งสินค้า บริการ หรือสิทธิอื่นใดที่เฉพาะเจาะจง เช่น มีการออก NFT ที่ให้สิทธิในการได้มาซึ่งทรัพย์สิน ซึ่งอาจจะเป็นสิ่งของที่มีลักษณะทางกายภาพที่จับต้องได้ (physical) หรือไฟล์ดิจิทัล หรือมีการสะสม NFT แล้วให้สิทธิแก่ผู้ถือไปแลกของหรือสิทธิอย่างอื่น จะเข้านิยาม utility token ตาม พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ ดังนั้น การประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ NFT ลักษณะนี้ จึงต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ภายใต้ พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ

แต่ถ้าหาก NFT นั้น เป็นตัวทรัพย์สินนั้นเอง เวลาซื้อขายหรือโอนก็ติดไปด้วยกัน ไม่อาจแยกกันได้ และไม่ได้มีการกำหนดสิทธิใด ๆ เพิ่มเติม และไม่มีวัตถุประสงค์ในการใช้เป็นสื่อกลางในการซื้อขายแลกเปลี่ยน เช่น NFT ที่สร้างขึ้นโดยการเก็บ digital file บน Interplanetary File System (IPFS) และสร้างเหรียญดิจิทัลขึ้นมาเพื่อความสะดวกในการซื้อขายแลกเปลี่ยน (ไม่ว่าจะสร้าง NFT เหรียญเดียวหรือหลายเหรียญจาก digital file ที่เก็บบน IPFS) โดย digital file และเหรียญนั้นจะโอนติดไปด้วยกัน ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลง และไม่สามารถแยกกันได้ เป็นต้น NFT ดังกล่าวจะไม่เป็นสินทรัพย์ดิจิทัล การดำเนินการเกี่ยวกับ NFT นั้น จึงไม่ถูกกำกับดูแลโดย พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ

และการประกอบธุรกิจที่เกี่ยวกับ NFT ที่เข้าข่ายเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลตาม พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ ในลักษณะการเป็นศูนย์กลางหรือเครือข่ายใด ๆ ที่จัดให้มีขึ้นเพื่อการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยน NFT โดยการจับคู่หรือหาคู่สัญญาให้ หรือการจัดระบบหรืออำนวยความสะดวกให้ผู้ซึ่งประสงค์จะซื้อขายหรือแลกเปลี่ยน NFT สามารถทำความตกลงหรือจับคู่กันได้ โดยกระทำเป็นการค้าปกติ (NFT marketplace) ต้องได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

ในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มี NFT marketplace ที่ได้รับใบอนุญาตศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นอกจากนี้ ศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่ได้รับใบอนุญาตไม่สามารถนำ NFT ที่เข้าข่ายเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลตาม พ.ร.ก. สินทรัพย์ดิจิทัลฯ มาให้บริการซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลได้ ตามข้อ 39/1 แห่งประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 11) ลงวันที่ 10 มิถุนายน 2564

โดย ก.ล.ต. อยู่ระหว่างทบทวนหลักเกณฑ์ในการกำกับดูแล NFT marketplace เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการกำกับดูแลของสากล

นับเป็นอีกหนึ่งการลงทุนแห่งอนาคตที่กำลังได้รับความสนใจ และกำลังจะก้าวเข้ามามีบทบาทในโลกของ ศิลปะ ดนตรี กีฬา ของสะสม ในอนาคตอันใกล้ 

TOP หุ้น การลงทุน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ