แบงก์ชาติ ประเมิน เศรษฐกิจไทยยังฟื้นตัวช้า ต้องรอถึงปี2566


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ผู้ว่าธปท. คาดเศรษฐกิจไทยยังฟื้นตัวช้า ต้องรอถึงปี2566 ขณะที่วิจัยกรุงศรี ฯ ห่วง โอมิครอนอาจมีการระบาดสูงถึง 32,000 คนต่อวัน

นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในงาน Meet the Press ว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 65 ยังเป็นการฟื้นตัวแบบเปราะบาง ไม่รวดเร็ว โดยเศรษฐกิจไทยถือว่ายังฟื้นตัวช้ากว่าประเทศอื่น ซึ่งคาดว่ากว่าที่เศรษฐกิจไทยจะกลับมาฟื้นตัวเทียบเท่ากับในระดับก่อนเกิดโควิด-19 น่าจะเป็นช่วงไตรมาส 1/66

นายกฯ สั่งทุกหน่วยงานแก้ไขปัญหา หมู-ไก่-ไข่ ขึ้นราคา

ตะลึง! ลอตเตอรี่ใบละ 80 มีอยู่จริง ชาวบ้าน อึ้ง หาซื้อมา 20 ปี ไม่เคยเจอ

โดยสาเหตุที่เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้ากว่าประเทศอื่น เนื่องจาก เศรษฐกิจไทยพึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวค่อนข้างมาก

ในขณะที่ภาคการท่องเที่ยวในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการแพร่ระบาดของโควิด  และ รายได้จากการจ้างงานยังไม่กลับมา

 ส่วนการระบาดของโควิดโอมิครอน ประเมินว่าน่าจะมาเร็วไปเร็ว ซึ่งหากเป็นไปตามที่คาด จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้าไทยในปีนี้ จะประมาณ 5.6 ล้านคน  นายเศรษฐพุฒิ กล่าว 

สำหรับ สถานการณ์เงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นนั้น ธปท.มองว่า ไม่น่าเป็นห่วง และยังเชื่อว่าทั้งปี 65 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะยังอยู่ในกรอบเป้าหมาย (1-3%)  โดยคาดในปีนี้เงินเฟ้ออยู่ที่ 1.7% ส่วนปี 2566 อยู่ที่ 1.4%  อย่างไรก็ตาม หากเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นมาก ธปท. ก็มีมาตรการที่พร้อมจะนำออกมาใช้ดูแล
8 อาการติด "โอมิครอน" สธ.ชี้ เกินครึ่งไม่แสดงอาการ

วิจัยกรุงศรี ฯ ห่วง โอมิครอนอาจมีการระบาดสูงถึง 32,000 คนต่อวัน 

ด้านวิจัยกรุงศรี ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) ระบุในบทวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจและการเงินว่า สถานการณ์จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศที่กลับมาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วหลังผ่านช่วงเทศกาลปีใหม่ โดยเฉพาะการระบาดจากสายพันธุ์โอมิครอนนั้น ล่าสุด วิจัยกรุงศรีได้คาดการณ์จำนวนผู้ติดเชื้อจากแบบจำลอง SIR ไว้ 3 กรณี คือ

- กรณีฐาน จำนวนผู้ติดเชื้อรายวันจะเพิ่มขึ้นสูงสุดเกือบ 11,000 คนในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ก่อนลดลงอย่างช้าๆ จำนวนผู้เสียชีวิตรายวันสูงสุดที่ประมาณ 50 คนในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ มีผลต่อจีดีพีลดลง 0.6%

- กรณีเลวร้าย จำนวนผู้ติดเชื้อรายวันจะเพิ่มขึ้นสูงสุดที่ 16,000 คนปลายเดือนกุมภาพันธ์ และมีผู้เสียชีวิตรายวันสูงสุดที่ประมาณ 100 คน มีผลต่อจีดีพีลดลง 1.4%

- กรณีเลวร้ายสุด วัคซีนเข็มกระตุ้นไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ ส่งผลให้มีผู้ติดเชื้อรายวันสูงสุดประมาณ 32,000รายในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ และมีจำนวนผู้เสียชีวิตสูงถึง 300 รายต่อวัน จะทำให้จีดีพีลดลง 3.0% 

ส่วนสถานการณ์ราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้น  คาดอัตราเงินเฟ้อจะยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และแตะระดับสูงสุดใกล้ 3% ในไตรมาสแรกของปี 2565

ฉีดวัคซีนเข็ม 3 "ไฟเซอร์" หรือ "แอสตร้าฯ" สู้กับ "โอมิครอน" ได้ดีแค่ไหน เช็กภูมิคุ้มกันที่นี่!

อย่างไรก็ตาม การส่งผ่านต้นทุนไปยังราคาสินค้าอาจยังมีข้อจำกัด เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยยังมีความเปราะบางจากการระบาดของไวรัส-19 ในประเทศจากไวรัสสายพันธุ์โอมิครอน โดยทั้งปี 2565 คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะเฉลี่ยอยู่ที่ 1.5%

TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ