ใบสั่งเชือดหมู 7 หมื่นตัว หนีอหิวาต์แอฟริกา


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ย้อนไปตั้งแต่ต้นเดือนกันยายน 2562 ที่พบว่าผู้เลี้ยงสุกรในประเทศเพื่อนบ้าน พบการระบาดของเชื้ออหิวาต์ และโยนซากหมูทิ้งน้ำในพื้นที่ภาคเหนือชายแดนจังหวัดเชียงราย ทำให้กรมปศุสัตว์ต้องสั่งคุมเข้มตามด่านปศุสัตว์ที่มีความเสี่ยงทั้งหมด ทีมข่าวสืบค้นเอกสารที่มีความเกี่ยวข้องกับมาตรการป้องกันโรคระบาด

โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำหนังสือถึงสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เมื่อต้นปี 2564 เรื่องขออนุมัติใช้งบกลาง รายการเงินสำรองจ่าย เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการป้องกันอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ในเอกสารชิ้นนี้

เริ่มจาก วันที่ 9 กรกฎาคม 2562  คณะรัฐมนตรี (ครม.)มีมติอนุมัติแผนเตรียมความพร้อมรับมือโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร เป็นวาระแห่งชาติ หลังมีการแพร่ระบาดในประเทศเพื่อนบ้าน

เชียงราย คุมเข้มนำเข้าหมู หลังพบซากหมูตายถูกทิ้งเกลื่อนในแม่น้ำ ประเทศเพื่อนบ้าน

เข้าลาวแล้ว! พบหมูติดเชื้ออหิวาต์แอฟริกาในแขวงสาละวัน

ต่อมา วันที่ 14 ตุลาคม 2562 นายกฯ แต่งตั้งนายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฎ์ เป็นประธานคณะกรรมการอำนวยการป้องกันควบคุมและกำจัดโรค ส่วนนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน เป็นรองประธานกรรมการ

จากนั้น วันที่ 24 มีนาคม 2563 ครม.อนุมัติงบกลางปี 2563 รายการเงินสำรองจ่ายฉุกเฉิน เป็นเงิน 523,244,500 บาท ดำเนินมาตรการตามแผนรับมือ

วันที่ 16 ธันวาคม 2563 กรมปศุสัตว์เสนอใช้มาตรการลดจำนวนประชากรสุกร ในพื้นที่มีความเสี่ยงสูงร้อยละ 15 ใน 27 จังหวัด รวม 77,578 ตัว งบประมาณ 279.7 ล้านบาท โดยจ่ายไม่ต่ำกว่า 3 ใน 4 ของราคาสัตว์ที่อาจขายได้ในท้องตลาด

ซึ่งใช้งบส่วนนี้ทำลายสุกรในปี 2563 เป็นเงิน 200,262,895.75 บาท (จ่ายจริง 97.7 ล้าน ค้างจ่าย 102.4 ล้าน) ในปี 2564 เป็นเงิน 177,290,787.25 บาท (ค้างจ่าย 177.2 ล้าน)

จากนั้น วันที่ 20 ม.ค.2564 นายกฯเห็นชอบให้ใช้งบกลางปี 64 รายการเงินสำรองจ่ายฉุกเฉิน เป็นเงินทั้งสิ้น 279.7 ล้านบาท ตามแผนการป้องกันโรคระบาด  

โดยในเอกสารฉบับนี้ยังมีการประเมินความเสียหายที่จะได้รับหากโรคนี้ระบาดในไทย  ซึ่งว่าจะเกิดความเสียหายวงกว้างเป็นมูลค่าสูงถึง 150,000 ล้านบาท

ปศุสัตว์ ประกาศ "ไทยพบโรค ASF ในสุกร" จากโรงฆ่า จ.นครปฐม

โดยไทยเสียโอกาสส่งออกสุกรมีชีวิต สุกรแช่แข็งไปต่างประเทศ 22,000 ล้านบาทต่อปี  หากเกิดการระบาดร้อยละ 50 จะส่งผลธุรกิจอาหารสัตว์ เสียหาย 66,666 ล้านบาท  ธุรกิจเวชภัณฑ์ 3,500 ล้านบาทและยังส่งผลต่อความเชื่อมั่น หากหมูลดลงกิโลกรัมละ 30 บาท เกษตรกรสูญเสียเงินรวมปีละ 66,000 ล้านบาท

ล่าสุดวันนี้ นายกฯ เห็นชอบให้ใช้งบกลางปี 65  วงเงิน 574.11 ล้านบาท ส่วนหนึ่งเพื่อจ่ายชดเชยให้เกษตรกร ที่ถูกสั่งให้ทำลายสุกรตามแนวทางป้องกันโรคระบาด รวมงบประมาณที่รัฐบาลใช้ต่อสู้กับโรคระบาดนี้ในช่วง 3 ปี นับเป็นเงินรวมกว่า 1,277 ล้านบาท

 

TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ