ผู้ประกอบการข้าวสาร ไม่เห็นด้วย รัฐเก็บ 300 บ. ค่าเหยียบแผ่นดิน หวั่นนักท่องเที่ยวหนี


โดย PPTV Online

เผยแพร่




กรณีรัฐบาล ประกาศวันที่ 1 เมษายน 2565 ประเทศไทยจะเริ่มเก็บเงินจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าไทยคนละ 300 บาท ด้านภาคเอกชน ย่านถนนข้าวสาร ไม่เห็นด้วย เพราะเป็นการเพิ่มกฎเกณฑ์ที่ซ้ำซ้อน ทำให้ต่างชาติหันไปเที่ยวประเทศอื่นแทน

รัฐบาลจ่อเก็บ “ค่าเหยียบแผ่นดิน” ต่างชาติคนละ 300 บาท ดีเดย์ 1 เม.ย. นี้

พนง.ย่านข้าวสาร ค้าน เก็บค่าเหยียบแผ่นดิน

นายสง่า เรืองวัฒนกุล นายกสมาคมผู้ประกอบการถนนข้าวสาร  เปิดเผยว่า ไม่เห็นด้วยที่รัฐบาลจะสร้างกฎเกณฑ์ที่เข้าประเทศเพิ่มขึ้น ด้วยการเก็บค่าเหยียบแผนดินในช่วงนี้ เพราะอาจสร้างผลกระทบต่อความรู้สึกของต่างชาติ และทำให้ต่างชาติหันไปเที่ยวประเทศอื่นแทน พร้อมตั้งคำถามว่าหากรัฐบอกว่าจะนำเงินส่วนนี้ เพื่อนำไปพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว แต่ปัจจุบันไทยก็ยังเก็บเข้าอุทยานหรือตามสถานที่ต่าง ๆ จะเป็นการเก็บซ้ำซ้อนหรือไม่ หรือหากต่างชาติเก็บค่าเหยียบแผ่นดิน 300 บาทในอนาคต ก็จะมีการยกเลิกค่าเข้าอุทยานให้หรือไม่

ซึ่งตรงนี้รัฐบาลต้องชี้แจ้งเงื่อนไขกับนักท่องเที่ยวด้วย แต่หากมีความเป็นต้องเก็บค่าเหยียบแผ่นดินจริง ๆ ก็ไม่ต้องประกาศให้เป็นเรื่องใหญ่โต แนะนำทำเป็นค่าใช้จ่ายแฝงไปตามค่าธรรมเนียมวีซ่า หรือค่าตั๋วเครื่องบินแทนจะดีกว่า เพื่อลดผลกระทบทางความรู้สึกของนักท่องเที่ยว

ผมคิดว่ามันเป็นการกระทบความรู้สึกของนักท่องเที่ยว เพราะว่าวันนี้นักท่องเที่ยว ค่าน้ำมันก็แพง ทุกอย่าง ประกันโควิดก็ต้องจ่ายของเมืองไทยเก็บ 50,000 ดอลลาร์สหรัฐ ที่ต้องซื้อประกัน ประเทศอื่นยังประมาณ 20,000-30,000 ดอลลาร์สหรัฐ เพราะฉะนั้นมันเป็นการสร้างภาระให้กับนักท่องเที่ยวนะครับ” นายสง่า กล่าว

ศูนย์ฉีดบางซื่อ เตือนนัดฉีดวัคซีนเข็ม 3 มีตกหล่น โปรดเช็กข้อมูลที่นี่

 

สำหรับค่าเหยียบแผ่นดิน หรือการเก็บค่าธรรมเนียมเข้าประเทศจากนักท่องเที่ยว คนละ 300 บาท  เงินที่ได้ จะนำไปใส่ในกองทุนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งชาติ นำไปพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในไทย และทำประกันให้แก่นักท่องเที่ยว เช่น กรณีประสบอุบัติเหตุหรือเสียชีวิต ก็จะได้รับวงเงินสูงสุด 1 ล้านบาท หรือค่ารักษาพยาบาล ได้รับสูงสุด 500,000 บาท เป็นต้น ส่วนค่าเหยียบแผ่นดินของประเทศอื่น ๆ จะมีการเรียกเก็บแบบรวมกับค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ญี่ปุ่น มีการเก็บภาษีนักท่องเที่ยวต่างชาติ "ซาโยนาระแท็กซ์" โดยถูกเก็บประมาณ 300 บาท ซึ่งภาษีในส่วนนี้จะถูกเก็บรวมไว้ในราคาตั๋วเครื่องบินที่จองแล้ว  สวิตเซอร์แลนด์ มีการเก็บภาษีเมือง หรือ City Tax โดยจะให้อำนาจแต่ละเมืองในการจัดเก็บจากนักท่องเที่ยว ส่วนภูฏาน เก็บค่าเหยียบแผ่นดิน หากคิดเป็นเงินไทยสูงสุดราว 9,630 บาทต่อวัน

ยื่นภาษีของปี 2564 ภ.ง.ด.90 ภ.ง.ด.91 และภาษีทุกประเภท ผ่าน E-FILING
 

ขณะที่วันนี้ มีความเคลื่อนไหวจาก นายวิรไท สันติประภพ อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวในงานเสวนาของวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ถึงปัญหาใหญ่ของประเทศไทย ว่า ปัจจุบันระบบราชการไทยที่มีขนาดใหญ่เกินไป รัฐบาลก็ยังยึดติดกับการรวมศูนย์ หรือ เรียกว่า ส่วนราชการหัวโต มีผู้บริหารระดับสูงจำนวนมาก  ซึ่งหากปล่อยให้เป็นแบบนี้จะส่งผลกระทบต่อภาระการคลังของประเทศอย่างแน่นอน ดังนั้นแนะนำให้มีการปฏิรูประบบราชการให้มีขนาดเล็กลง กระจายอำนาจมากขึ้น

“รัฐบาลของไทยใหญ่มากขึ้น แล้วก็เป็นรัฐบาลที่รวมศูนย์มากขึ้นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ลองดูส่วนราชการก็ได้ครับ เมื่อก่อนก็จะมีอธิบดี แล้วก็จะมีรองอธิบดี 2-3 ท่าน วันนี้มีอธิบดี มีที่ปรึกษาระดับ 10 อีกประมาณ 2-3 ท่าน แล้วค่อยมีรองอธิบดีอีก 2-3 ท่าน พอมันเป็นส่วนราชการหัวโตหมด ทุกคนก็ต้องพยายามทำให้ตัวเองมีงาน ที่พิสูจน์การเป็นระดับ 9-10 มันก็เลยมีงานที่อาจจะไม่ได้เป็นงานที่จำเป็นอยู่เยอะ ดังนั้นเรื่องการสร้างข้อจำกัด การสร้างวินัยให้มีเรื่องข้อจำกัดที่ชัดเจนของภาครัฐจะเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะว่าถ้าเราปล่อยให้รัฐบาลโตแบบนี้ไปเรื่อยๆ ภาระการคลังของประเทศจะมีปัญหาอย่างแน่นอน ดังนั้นแนะนำให้มีการปฏิรูประบบราชการให้มีขนาดเล็กลง กระจายอำนาจมากขึ้น ในอนาคต” นายวิรไท กล่าว

ผลวิจัยสหรัฐฯ ชี้สารในกัญชงป้องกันโควิด-19ได้

TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ