พลิกโฉมประเทศไทย "Amazing New Chapter" ผ่าน 3 R


โดย PPTV Online

เผยแพร่




รายการกาแฟดำโดยสุทธิชัย หยุ่น พูดคุยกับ   "ศิริปกรณ์ เชี่ยวสมุทร" รองผู้ว่าการด้านสื่อสารการตลาดการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ผ่านมาแล้ว 2 ปี ถึงเวลาที่ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่การพลิกโฉมประเทศไทย "Amazing New Chapter" เพื่อวันข้างหน้าที่สถานการณ์การแพร่ระบาดเริ่มคลี่คลาย

ปี 62 คือปีที่การท่องเที่ยวของไทยเฟื่องฟูที่สุด รายได้จากการท่องเที่ยวแตะ 3 ล้านล้านบาท จากนักท่องเที่ยวต่างชาติเกือบ 40 ล้านคน (สร้างรายได้ราว 2 ล้านล้านบาท) และนักท่องเที่ยวไทยอีกเกือบ 2 ล้านล้านคนครั้ง (1 ล้านล้านบาท) ก่อนที่ในปี 63 ไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ หรือ โควิด-19 เข้ามาจนทำให้ทุกอย่างสะดุดลง ซึ่งในด้านของการท่องเที่ยว มีทืั้งการรปรับตัวและประคองเพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

เราเที่ยวด้วยกัน เฟส 4 ขั้นตอนลงทะเบียน - เงื่อนไขร่วมโครงการ เช็กที่นี่

เช็ก! 13 เส้นทางเดินรถโดยสารไทย - สปป.ลาว บขส. เตรียมกลับมาให้บริการ 1 ก.พ. 65

 

รายการกาแฟดำโดยสุทธิชัย หยุ่น พูดคุยกับ "ศิริปกรณ์ เชี่ยวสมุทร" รองผู้ว่าการด้านสื่อสารการตลาดการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ถึงเรื่องการพลิกโฉมประเทศไทย "Amazing New Chapter" ซึ่งหากไล่เรียงไทม์ไลน์ของการท่องเที่ยวไทย ช่วงตลอดปี 2564 จนถึงปีนี้ (2565) คุณศิริปกรณ์ ฉายภาพคู่กับ 3 R คือ

Reopen การเปิดประเทศอย่างมั่นใจหลังสถานการณ์คลี่คลายและประชาชนได้รับวัคซีน ซึ่ง ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ (Phuket Sandbox) คือ โมเดลแรกและโมเดลต้นแบบของทั้งประเทศ จากความร่วมมือ ร่วมใจกันในทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน ด้านสาธารณสุข และประชาชนในพื้นที่ โดยมี ททท.เป็นหน่วยงานกลางประสานงานที่รับฟังข้อมูลของทุกภาคส่วนมาพิจารณาเพื่อก่อให้เกิดโมเดลที่สมดุลกันระหว่าง ด้านความลอดภัยทางสาธารณสุขและเศรษฐกิจ จนเกิดความมั่นใจทุกฝ่าย ก.ค.2564 ประตูประเทศจึงเปิดอีกครั้ง

ตลอดช่วง 4 เดือนแรก ( 1ก.ค.-31 ต.ค.) นักท่องเที่ยวต่างชาติ 60,000 คน เดินทางสู่ประเทศไทย จากเที่ยวบินกว่า 600 เที่ยวบิน ความมั่นใจจากการดูแลความปลอดภัยด้านสาธารณสุข การคัดกรองที่เข้มข้น ส่งผลทำให้ในจำนวนนี้พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 โดยสามารถคัดกรองได้ตั้งแต่ครั้งแรกเพียง 0.3% ของจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาทั้งหมด ซึ่งตรงนี้เองจึงเป็น “หัวใจสำคัญ” ของอีกหลายพื้นที่ตามมา

ในแง่ของเศรษฐกิจ รายได้ที่เริ่มไหลกลับมาเข้าแม้ในเชิงจำนวนอาจไม่สามารถเปรียบเทียบได้กับช่วงปี 2562 แต่พบว่า นักท่องเที่ยวต่างชาติ 60,000 คนแรกนี้ สร้างรายได้ให้กับประเทศได้ถึง 4,000 ล้านบาท สะท้อนให้เห็นว่า แม้จำนวนนักท่องเที่ยวจะน้อยแต่ค่าใช้จ่ายต่อหัวโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น จาก 40,000 บาทต่อคนต่อทริป เพิ่มขึ้นมาเป็น 70,000 บาทต่อคนต่อทริป ซึ่งส่วนต่างตรงนี้เกิดขึ้นเนื่องจาก “ระยะเวลาในการท่องเที่ยวไทยนานขึ้น”

จาก R แรก สู่ R ตัวที่ 2 Recovery การฟื้นฟู ซึ่งต้องยอมรับว่า เศรษฐกิจไทยผ่านจุดต่ำสุดมากแล้ว จากนี้จะเข้าสู่ช่วงการฟื้นฟู ซึ่งเป้าหมายของการ Recovery มีหลายส่วน ซึ่งต้องทำให้เร็วและมีแผนระยะยาว แม้ว่าจะมีสายพันธุ์โอมิครอน แต่พบว่าความต้องการเดินทางเข้ามาของนักท่องเที่ยวต่างชาติยังมีสูงมาก ดังนั้น เศรษฐกิจไทยต้องไปถึงจุดที่เติบโตเป็นแบบ V Shape ให้ได้ (การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจากจุดที่ต่ำสุดและกลับมาสู่จุดเดิมอย่างรวดเร็วเหมือนก่อนเกิดวิกฤต)

ณ สิ้นปี 64 นักท่องเที่ยวเข้ามาแล้ว 4 แสนคน ก่อนโอมิครอน โดยส่วนใหญ่เป็นรูปแบบการเดินทางมาแบบ “ครอบครัว” จุดนี้จึงสะท้อนให้เห็นถึงความมั่นใจต่อการรับมือกับสถานการณ์โควิด-19 ของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ยังมีต่อประเทศไทยอยู่มาก

คุณศิริปกรณ์ ยอมรับว่า R ตัวที่ 2 คือ Recovery เป็นสิ่งที่ต้องต่อสู้มากๆ เพราะการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจหลังเผชิญโควิด-19 ในแบบ V Shape หรือต้องค่อยๆ จะต้องเติบโตในทิศทาง U Shape (การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในแบบค่อยเป็นค่อยไป) ให้ได้

แต่จะต้องไม่เกิดขึ้นในแบบ K Shape ไม่ได้เลย ตรงนี้จึงทำให้เราต้องสู้เรื่อง Recovery (การฟื้นฟูเศรษฐกิจ) มากๆ (K Shape  คือ การฟื้นตัวอย่างไม่เท่าเทียมกันในแต่ละอุตสาหกรรม หรือธุรกิจ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดจากโรคระบาดซึ่งกระทบต่อแต่ละภาคส่วนอย่างไม่เท่าเทียมกัน เช่น ธุรกิจใดไปไม่รอดก็ไม่สามารถกลับมาได้เลย ขณะที่บางธุรกิจเติบโตขึ้นได้)

บทบาทของ ททท. กับเคล็ดลับปั้นภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ (Phuket Sandbox) ให้สำเร็จ

ด้วยบทบาทของ ททท. ที่มี Passion ในการทำงานในบทบาทของเป็นผู้ประสานงานและต้องฟังทั้งเสียงของลูกค้ากับคนท้องถิ่นทุกภาคส่วน โดยยึดหลัก Voice of Customer และ Voice of Stakeholder ประกอบกับ ความเป็นหนึ่งเดียวกันของทุกภาคส่วนทั้งฝ่ายปกครอง การแพทย์ ภาคเอกชน ประชาชนในพื้นที่ ทุกคนมั่นใจแล้วว่าถึงเวลากลับมาเปิดประเทศ  ไปจนถึงโครงสร้างทางภูมิศาสตร์ที่ทำให้ภูเก็ตเป็น Islands Approach สามารถควบคุมการเดินทางเข้าออกได้ทั้งทางบก อากาศ เรือ ทั้งหมดจึงเป็นกุญแจของความสำเร็จของ ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ (Phuket Sandbox) ซึ่งสะท้อนออกมาเป็นตัวเลข นักท่องเที่ยวต่างชาติ 60,000 คน มีผู้ติดเชื้อโควิด-19 0.3% จากความสำเร็จของ ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ (Phuket Sandbox)  นำมาสู่การเปิดประเทศในวันที่ 1 พ.ย.2564 

Resilience  ยืดหยุ่น ปรับตัว โดยมีโจทย์ท้าทายคือ BCG Model

ซึ่งเป็นหนึ่งในกลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ภายใต้แผนระยะยาว 6 ปี (พ.ศ.2564-2569) อันประกอบด้วย เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ไปจนถึงการกระจายรายได้ไปสู่ชุมชนอย่างแท้จริง การใช้ข้อมูลดาต้าแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน ซึ่ง ททท. พร้อมที่จะยืดหยุ่นปรับตัวในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

 

SHA คืออะไร สำรวจร้านอาหาร กทม.ที่ไหนนั่งดื่มสุราในร้านได้ ขั้นตอน วิธีลงทะเบียนรับรอง SHA ทำอย่างไร...

สร้างมาตรฐาน SHA  SHA+ และ SHA++ (Extra Plus) สร้างความมั่นใจนักท่องเที่ยวรับมือโอมิครอน

ปี 2565 คุณศิริปกรณ์ มองว่า บริบทขงการท่องเที่ยวเปลี่ยนแน่นอน นักท่องเที่ยวไม่ได้อยากได้แค่ความสวยงาม ความสะดวกสบาย ความประทับใจ แต่นักท่องเที่ยวต้องการความปลอดภัยด้านสาธารณสุข เลยเกิดเป็นมาตรฐาน "SHA" ขึ้นมา คือ Amazing Thailand Safety and Health Administration มาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย เพื่อนักท่องเที่ยว โดยนักท่องเที่ยว โดยเป็นมาตรฐานใน 4 ประเภท บริการคือ โรงแรมที่พัก ร้านอาหาร สปา ร้านของที่ระลึก  โรงมหรสพ สถานที่จัดงานกีฬาเพื่อการท่องเที่ยว ต่างๆ เหล่านี้จะถูกเซ็ตมาตรฐาน ต่อมา คือ SHA+ คือมาตรฐานระหว่างคนกับคน ขึ้นมาสร้างความมั่นใจ และเมื่อเกิดสายพันธุ์โอมิครอนจึงเกิด  SHA++ (Extra Plus) คือโรงแรมที่พักจะต้องมีคู่กับโรงพยาบาล เพื่อตอบโจทย์ทั้งด้านสาธารณสุขที่คู่กับเศรษฐกิจอย่างสมบูรณ์แบบ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่มีผลเป็นบวกในการรับช่วงต่อในการรักษา 

เดินหน้าสู่เป้าหมาย ท่องเที่ยวในประเทศให้ได้ 50% ของนักท่องเที่ยวต่างชาติ 

มองว่า คนไทยมีความมั่นใจมากขึ้นในการท่องเที่ยว เมื่อดูจากตัวเลข 4 วัน คือ 31 ม.ค.64-3 ม.ค.65 มีอัตราการเข้าพักเฉลี่ยสูงถึง 70% ซึ่งเลยจุดคุ้มทุนที่ 30% โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงโควิด-19 ที่อัตราการเข้าพักเหลือ 10% เพราะฉะนั้นเมื่อนักท่องเที่ยวไทยเริ่มกลับมาและพอที่จะทำให้ผู้ประกอบการประคับประคองตัวไปได้อย่างยั่งยืนในการสร้างรายได้ให้กลับมา อย่างไรก็ตามในส่วของการท่องเที่ยในประเทศ เป้าหมายวันนี้ที่จะไปให้ถึงครึ่งๆ ของนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ในระยะแผน 5 ปีจากนี้ 

นักท่องเที่ยวต่างประเทศ ไตรมาสแรก ต้องได้ 3 แสนคน

คุณศิริปกรณ์ คาดการณ์ว่าในช่วงไตรมาสแรกของปี 65 เป้าหมายนักท่องเที่ยวต่างชาติต้องให้ได้ 3 แสนคน เฉลี่ยเดือนละ 1 แสนคน ส่วนปลายปี 65 มองว่า ททท.มองไปที่คุณค่าเหนือปริมาณ การสร้างคุณค่าทางการท่องเที่ยวให้นักท่องเที่ยวอยู่นานขึ้น พอใจที่จะใช้จ่ายมากขึ้น

เพราะฉะนั้น ฉากทัศน์การท่องเที่ยวไทยปีนี้ (65) ททท.ใช้ปี 62 เป็นฐาน (รายได้ 3 ล้านล้านบาท) และสิ้นปี 65 ได้อย่างน้อยครึ่งหนึ่ง คือ เป้าหมาย 1.5 ล้านล้านบาท ทั้งนักท่องเที่ยวไทยและต่างชาติ ภายใต้การท่องเที่ยวปี 2022  Amazing New Chapter 

TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ