
"เศรษฐกิจไทยกับสงครามรัสเซีย-ยูเครน" กรณีเลวร้ายสุดไทยสูญ 244,750 ล้านบาท
เผยแพร่
ความเกี่ยวเนื่อง "เศรษฐกิจไทยกับรัสเซีย-ยูเครน" ทั้งส่งออก นำเข้า สินค้าและการท่องเที่ยว และแรงงาน และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น กรณีเลวร้ายสุดไทยสูญ 244,750 ล้านบาท เงินเฟ้อ 4.5-5.5%
สถานการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครน เกิดขึ้นในอีกซีกโลกหนึ่งจากประเทศไทย แต่ผลพวงมันกลับส่งผลเป็นวงกว้าง และเป็นลูกโซ่ในเชิงเศรษฐกิจการค้าอย่างมาก โดยเฉพาะผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับ ราคาอาหารของโลก อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะทั้งรัสเซียและยูเครน ต่างเป็นประเทศที่ส่งออกข้าวสาลีและข้าวบาร์เลย์คิดเป็น 1 ใน 3 ของโลก และทั้งสองประเทศมีสัดส่วน 12% ของการซื้อขายอาหารของโลก ขณะที่ยูเครนส่งออกข้าวโพดรายใหญ่ของโลกเช่นกัน
จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง? "เมื่อแซงก์ชั่นรุนแรงถึงขั้นยุติการนำเข้าน้ำมันจากรัสเซีย"
รัสเซียประกาศรายชื่อ 48 ประเทศ “ไม่เป็นมิตร” มีไต้หวัน ยังไร้ไทย
แล้ว การส่งออก-นำเข้าสินค้า ระหว่างไทยกับรัสเซีย-ยูเครน เป็นอย่างไร
ในปี 2564 รัสเซีย เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 36 ของประเทศไทย มูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 1,028.0 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วน 0.38% ของมูลค่าการส่งออกรวม โดยมีสินค้าส่งออก 10 อันดับแรกคือ
- รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ
- ผลิตภัณฑ์ยาง
- เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ
- ผลไม้กระป๋องและแปรรูป
- เม็ดพลาสติก
- เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ
- อากาศยานฯ และส่วนประกอบ
- ยางพารา 3
- แผงสวิทซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า
- อัญมณีและเครื่องประดับ
ส่วนการนำเข้าสินค้าของไทยจากรัสเซีย ถือว่าเป็นแหล่งนำเข้าสำคัญอันดับที่ 26 ของประเทศไทย มูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 1,752.2 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วน 0.65% ของมูลค่าการนำเข้ารวม โดย 10 อันดับแรกสินค้านำเข้า คือ
- น้ำมันดิบ
- ปุ๋ย และยาก้าจัดศัตรูพืชและสัตว์
- เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์
- สินแร่โลหะอื่นๆเศษโลหะและผลิตภัณฑ์
- เครื่องบินฯ และส่วนประกอบ
- สัตว์นำ้สด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูป 7
- พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช
- เครื่องเพชรพลอย อัญมณี และทองคำ
- ถ่านหิน
- แร่และผลิตภัณฑ์จากแร่
ส่วน ยูเครน เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 74 ของประเทศไทย มูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 134.8 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วน 0.05% ของมูลค่าการส่งออกรวมโดยมีสินค้าส่งออก 10 อันดับแรกคือ
- รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ
- ผลิตภัณฑ์ยาง
- ผลไม้กระป๋องและแปรรูป
- อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป
- เม็ดพลาสติก
- เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ
- ผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์
- ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ
- ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง
- เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ
ส่วนการนำเข้าสินค้าของไทยจากยูเครน ถือว่าเป็นแหล่งนำเข้าสำคัญอันดับที่ 58 ของประเทศไทย มูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 251.7 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วน 0.095% ของมูลค่าการนำเข้ารวม โดย 10 อันดับแรกสินค้านำเข้า คือ
- พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช
- เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์
- ไม้ซุง ไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์
- แร่และผลิตภัณฑ์จากแร่
- สินแร่โลหะอื่นๆเศษโลหะและผลิตภัณฑ์
- สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์
- เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ
- ลวดและสายเคเบิล
- เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน
- เคมีภัณฑ์
ด้านการท่องเที่ยว จำนวนนักท่องเที่ยวจากรัสเซียและยุโรปตะวันออกที่เดินทางเข้าประเทศไทยในปี 2561-2562 (ก่อนโควิด-19) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยในปี 2561 มีนักท่องเที่ยวจากทั้งรัสเซียและยุโรปตะวันออก 38,178,194 คน ปี 2562 จำนวน 39,916,251 คนเพิ่มขึ้น 4.6%
ต่อมาเมื่อเกิดสถานการณ์โควิด-19 ไทยใช้มาตรการ Test&Go พบว่า ช่วง 3 เดือน พ.ย.2564-ม.ค. 65 มีนักท่องเที่ยวรัสเซียและยุโรปตะวันออก 455,655 คน
ขณะที่ ด้านตลาดแรงงาน มีแรงงานไทยเดินทางไปทำงานทั้งที่ รัสเซียและยูเครนทั้งหมด 37,347 คน โดยในปี 2564 มีจำนวน 580 คน
ดังนั้น ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ประเมินผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยจาก สงครามรัสเซีย-ยูเครน พบว่า ผลกระทบทางตรง
- มูลค่าการส่งออกสินค้าไปยังพื้นขัดแย้งจะลดลง มีแนวโน้มที่จะสูญเสียไปประมาณ 70-90% จากปี 64 เนื่องจากกำลังซื้อในพื้นที่หดตัวลงมาก, การขนส่งสินค้า มีความยุ่งยาก ใช้เวลานาน และมีต้นทุนสูงขึ้น และการชำระเงินค่าสินค้าอาจไม่มีความน่าเชื่อถือ
- รายได้จากนักท่องเที่ยวที่มาจากพื้นที่ขัดแย้งลดลง มีแนวโน้มที่จะสูญเสียไปประมาณ 80-100% จากปี 64
- รายได้จากการส่งแรงงานไปทำงานลดลง รายได้จากการส่งแรงงานไปทำงานในพื้น มีแนวโน้มที่จะสูญเสียไปประมาณ 60-100% จากปี 64 เนื่องจากธุรกิจในพื้นที่มีแนวโน้มจะปิดตัวลงอันเป็นผลมาจากมาตรการคว่ำบาตร และค่าครองชีพที่ปรับเพิ่มสูงขึ้น
- ต้นทุนวัตถุดิบที่ต้องจัดหาทดแทน (จากพื้นที่อื่นๆ) เพิ่มขึ้น หากธุรกิจใดเคยจัดหาวัตถุดิบจากพื้นที่ขัดแย้งในสัดส่วนที่สูง (เช่น ธุรกิจผลิตอาหารสัตว์) ก็จะได้รับ ผลกระทบจากการขาดแคลนวัตถุดิบ และอาจจะมีต้นทุนเพิ่มสูงขึ้นหากต้องจัดหาวัตถุดิบจากพื้นที่อื่นๆ (ที่อาจจะแพงกว่า/ไกลกว่า) มาใช้ทดแทน
ผลกระทบทางอ้อม
- ค่าเงินบาทผันผวน ตลาดเงินโลกมีความผันผวน จากมาตรการคว่ำบาตร ส่งผลให้รัสเซียมีความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ของภาคเอกชนรัสเซียเพิ่มสูงขึ้น
- มูลค่าการส่งออกสินค้าไปยังพื้นที่อื่นๆ ชะลอตัวลง เศรษฐกิจโลก (โดยเฉพาะยุโรป) ที่มีโอกาสชะลอตัว และปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิตชิปจะกดดันให้ตัวเลขการส่งออกสินค้าปี 65 ลดต่ำลงจากเดิม
- อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น ราคาน้ำมันมันดิบมีโอกาสเพิ่มขึ้นแตะ 120 ดอลลาร์ฯ/ บาร์เรล, ต้นทุนการทำธุรกิจเพิ่มขึ้น, ต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้น,ราคาสินค้าโภคภัณฑ์สูงขึ้น , ผู้ขายปรับเพิ่มราคาขายเพื่อชดเชยกับความเสี่ยงที่สูงขึ้น
- การบริโภคและการลงทุนของ ภาคเอกชนชะลอตัวลง อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น และความมั่งคั่งที่ลดลง จากความผันผวนในตลาดทุนของไทยจะกดดันให้ ภาคเอกชนลดการใช้จ่ายลง
- รายได้จากนักท่องเที่ยวที่มาจากพื้นที่อื่นๆ ชะลอตัวลง เศรษฐกิจโลก (โดยเฉพาะยุโรป) ที่มีโอกาสชะลอตัวจะกดดันให้ตัวเลขนักท่องเที่ยว ต่างประเทศปี 65 ลดต่ำลงจากเดิม
อย่างไรก็ตาม ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ประเมินมูลค่าความเสียหายจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่มีต่อเศรษฐกิจไทยคาดว่าจะอยู่ที่ 244,750 ล้านบาท หรือคิดเป็น 2.7% ต่อจีดีพี อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 4.5-5.5% ในกรณีเลวรา้ยที่สุดคือความขัดแย้งยืดเยื้อตลอดทั้งปี 2565
อัปเดตข่าวล่าสุดก่อนใคร Add friend ได้ที่ @PPTVOnline