รัสเซียเป็นประเทศ ที่ส่งออกสินค้าเหล็กมากสุดเป็นอันดับ 3 ของโลก ขณะที่ยูเครนเป็นประเทศส่งออกสินค้าเหล็กอันดับ 8 ของโลก รวมการส่งออกเหล็กจากทั้งรัสเซีย และยูเครนมีส่วนแบ่งตลาดรวมกัน อยู่ที่ราวๆ 14% ของการส่งออกสินค้าเหล็กของทั้งโลก และเมื่อเกิดสถานการณ์การสู้รบของทั้งสองประเทศ ค่าพลังงานในการขนส่งก็เพิ่มขึ้น ย่อมส่งผลกระทบต่อราคาเหล็ก และเกี่ยวโยงไปถึงธุรกิจรับสร้างบ้านในประเทศไทยด้วย
ผลพวงสงครามรัสเซีย-ยูเครน กระทบ "เหล็กแพง" ราคาบ้านจ่อปรับขึ้น 3-5% ในครึ่งปีหลัง
เปิดกลยุทธ์ลงทุนรับสงครามรัสเซีย-ยูเครน กับ 4 สถานการณ์ที่เป็นไปได้
นายวรวุฒิ กาญจนกูล นายกสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน เปิดเผยว่า ในไตรมาส 2 ของปีนี้ ประชาชนจะได้เห็นการปรับราคาครั้งใหญ่ของธุรกิจรับสร้างบ้านในประเทศไทย เพราะเมื่อเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัวจากสถานการณ์โควิด19 หลายประเทศต่างนำเข้าวัสดุสำคัญอย่างเหล็ก ที่ราคาต้นทุนแพงขึ้น 20-30% ประกอบกับปัญหา การสู้รบระหว่าง รัสเซีย-ยูเครน ที่กดดันให้ราคาพลังงานแพงขึ้นไปอีก
นายกสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน แนะด้วยว่า ผู้บริโภคควรรีบตัดสินใจหากคิดจะสร้างบ้าน เพราะในช่วงนี้ผู้ประกอบการจะพยายามที่จะตรึงราคาต่อไปอีกระยะหนึ่ง
จากวงการอสังหา มาที่วงการเกษตร กันบ้าง โดย เมื่อวานนี้ นายวัฒนศักดิ์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน ได้ประชุมร่วมกับ 3 สมาคม ผู้ผลิต ผู้จำหน่ายและนำเข้าปุ๋ยเคมี โดยมีข้อสรุปว่า เอกชนยืนยันว่าปุ๋ยมีเพียงพอสำหรับฤดูกาลเพาะปลูกที่จะเริ่มขึ้น เพราะเตรียมการนำเข้ามาเป็นระยะๆ และมีการสั่งซื้ออย่างต่อเนื่อง แต่อาจจะสะดุดบ้าง เพราะแหล่งผลิตสำคัญหลายแห่ง มีปัญหาจากผลกระทบของสงครามรัสเซีย-ยูเครน และการคว่ำบาตรรัสเซียและเบลารุส ซึ่งส่งผลให้ราคาปุ๋ยทั่วโลกทะยานขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เพราะทั้ง 2 ประเทศเป็นแหล่งผลิตและส่งออกรายใหญ่ของโลก
ซึ่งหลังจากที่กระทรวงพาณิชย์อนุญาตให้ปรับราคาปุ๋ยบางยี่ห้อและนำเข้าได้ เพื่อให้ปุ๋ยเคมีเพียงพอต่อฤดูเพาะปลูกที่กำลังจะเริ่มในเดือนเมษายนนี้ ทำให้มีคำถามและความกังวลว่าราคาปุ๋ยประเภทใดบ้างที่จะปรับขึ้น และปรับขึ้นเท่าไหร่ เพราะปัจจุบันก็มีปรับขึ้นไปก่อนหน้านี้แล้ว เช่น ปุ๋ยที่ใช้ในการทำนา
ปกติจะใช้อยู่ 2 สูตร คือ ปุ๋ยยูเรีย สูตร 46-0-0 เดิมราคากระสอบละ 500-600บาท ปัจจุบันราคาเพิ่มขึ้นเป็น 1,400บาท ส่วนปุ๋ยเม็ด สูตร 16-20-0 เดิมราคากระสอบละ 650 บาท ปัจจุบันเพิ่มเป็น 900-1,000 บาท
ชาวนารายหนึ่งใน จ.นครปฐม บอกว่า ปุ๋ยเป็นต้นทุนหลักที่พวกเขาต้องแบกภาระเพิ่มขึ้น ซึ่งเมื่อรวมกับ ค่ายาปราบศัตรูพืช ค่ารถเกี่ยวข้าว และอื่นๆจิปาถะ เมื่อขายข้าวได้ก็แทบไม่เหลืออะไร
ทั้งนี้ในมุของเกษตรกรได้เสนอให้รัฐบาล ช่วยอุดหนุนส่วนต่างของราคาปุ๋ยที่กำลังจะปรับเพิ่มขึ้น ไปยังผู้ประกอบการค้าปุ๋ยโดยตรง เพื่อเป็นทางออกช่วยเหลือทั้งผู้ประกอบการค้าปุ๋ยและเกษตรกร ไม่ให้เดือดร้อนไปมากกว่านี้