แฟนด้อมชาวไทย พร้อมขับเคลื่อนแบรนด์และสังคม


โดย Hakuhodo (HILL-Thailand)

เผยแพร่




“แฟนๆชาวไทย ยินดีจ่ายเงินเพิ่มให้กับแบรนด์ที่สนับสนุนแฟนด้อม สูงที่สุดในอาเซียน และอยากร่วมมือกับแบรนด์สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ไปด้วยกัน”

แฟนด้อมในประเทศไทยกำลังเติบโตอย่างมากในช่วงสองปีที่ผ่านมา โดยผลงานวิจัยล่าสุดในหัวข้อ “เจาะลึกเรื่องแฟนด้อม” โดยสถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด (อาเซียน) เปิดเผยว่า เมื่อมองในแง่ของพลังในการใช้จ่าย แฟนด้อมชาวไทยถือเป็นกลุ่มที่มีพลังขับเคลื่อนแบรนด์สูงที่สุดในอาเซียน เพราะมีแฟนๆชาวไทยมากถึง 40% ที่ยินดีจะจ่ายเงินเพิ่ม 30% หรือมากกว่า ให้กับแบรนด์ที่สนับสนุนแฟนด้อมของตน (ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม) ในขณะที่มีแฟนๆชาวอาเซียนเพียง 29% ที่ยินดีจะจ่ายเงินเพิ่มสูงเท่านี้

“ฮาคูโฮโด” เผย คนไทยความสุขลดลง พยายามเอาตัวรอดจากเศรษฐกิจ เสนอแบรนด์ควรให้ความสำคัญกับครอบครัว ควา...

“ฮาคูโฮโด” เผย 5 เทรนด์พฤติกรรมผู้บริโภค และความสุขของคนไทยที่เปลี่ยนไปในยุคโควิด-19

กลุ่มประชากร: สมาชิกแฟนด้อมชาวไทยจำนวน 700 คน

แฟนด้อม หมายถึง กลุ่มแฟนที่ชื่นชอบในบุคคล, สิ่งของ, แบรนด์, กิจกรรม, งานอดิเรกต่างๆ ฯลฯ และวัฒนธรรมที่ถูกสร้างขึ้นโดยคนเหล่านั้น

ทั้งนี้ สิ่งที่แฟนๆชาวไทยคาดหวังให้แบรนด์ทำมากที่สุดเพื่อสนับสนุนแฟนด้อม คือ
1.    Co-Creation: ร่วมมือกับกลุ่มแฟนด้อมเพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆร่วมกัน (56.0%)
2.    Event sponsorship: สปอนเซอร์อีเว้นท์ขนาดใหญ่ที่เกี่ยวกับแฟนด้อม (54.9%)
3.    Advertisement: โปรโมทแฟนด้อมในแคมเปญโฆษณา (51.9%)

“อยากให้แบรนด์คิดถึงกลุ่มแฟนคลับให้มากขึ้น ไม่ใช่เน้นแต่กลุ่ม top spenders และอยากให้ทำของคุณภาพดีๆออกมาให้ใช้ แฟนหลายๆคนเค้าตั้งใจเก็บเงินมาเพื่อซื้อของซัพพอร์ตศิลปิน บางครั้งถึงของคุณภาพไม่ดีก็ต้องทนใช้ไป ซึ่งมันไม่โอเค” – สมาชิกแฟนด้อมศิลปินจีน

ดังนั้น เพื่อเป็นการตอบรับกับเทรนด์ของแฟนด้อม แบรนด์ควรเปิดโอกาสให้แฟนๆร่วมกันออกไอเดียและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เพื่อแสดงออกถึงความใส่ใจและขับเคลื่อน Brand loyalty ในระยะยาว ยกตัวอย่างเช่น แบรนด์อาจจะลองชวนแฟนๆมาร่วมแคมเปญคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ตอบโจทย์ความต้องการมากกว่าแต่ก่อน หรือ อาจจะลองหยิบยกประเด็นปัญหาในสังคมที่ถูกมองข้าม และชวนแฟนๆมาช่วยผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงไปด้วยกัน เป็นต้น
 

เศรษฐกิจกระเตื้องจากเปิดเมือง-โควิดคลี่คลาย จับตาราคาสินค้าพุ่ง

อนามัยโลกชี้ “ฝีดาษลิง” เป็น “ภัยเสี่ยงระดับปานกลาง” ต่อสาธารณสุขโลก

TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ