การแพร่ระบาดของโควิด-19 ตลาดขนส่งพัสดุไทย (Parcel Delivery) ในช่วงปี 2019-2021 เติบโตในระดับสูงจากเนื่องจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่หันมาซื้อสินค้าผ่านทางออนไลน์หรือ E-commerce มากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะในช่วงที่มีการใช้มาตรการควบคุมโรคอย่างเข้มงวด
อุตสาหกรรมการบิน อีก 3 ปีฟื้นเท่าก่อนโควิด-19 รอท่องเที่ยวฟื้นตัว
ราชกิจจาฯ ประกาศอัตราค่าจ้าง 16 สาขาอาชีพ สูงสุดวันละ 650 บาท
ปี 2022 ตลาดขนส่งพัสดุไทยยังมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ คาดว่า
ปี 2022 มูลค่าตลาดขนส่งพัสดุไทยยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องที่ราว 17%YOY มีมูลค่าราว 1.06 แสนล้านบาท และมีปริมาณขนส่งพัสดุเพิ่มขึ้นเป็นอย่างน้อย 7 ล้านชิ้นต่อวัน
จากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป มีความคุ้นชินและพึงพอใจในการซื้อสินค้าผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้นจนกลายเป็น new normal ของผู้บริโภค ขณะเดียวกันสภาวะการแข่งขันและสงครามราคา (price war) ยังมีแนวโน้มรุนแรงต่อไปในปี 2022 ประกอบการขนส่งพัสดุรายใหญ่หลายรายลงสนามแข่งขันกันอย่างดุเดือดและรุนแรงขึ้นตั้งแต่ปี 2019 ซึ่งหากย้อนดูส่วนแบ่งมูลค่าตลาด ระหว่างปี 2018 และปี 2020
ในปี 2018 มีผู้เล่นรายใหญ่ 3 รายที่ครองส่วนแบ่ง ตลาดรวมกันเกือบ 90% ได้ปรับเปลี่ยนไปสู่ตลาดขนส่งพัสดุในปี 2020 ผู้เล่นเพิ่มขึ้นเป็นทั้งหมด 7 รายใหญ่ที่ครองส่วนแบ่งตลาดรวมกันในสัดส่วนเดียวกัน เช่น Flash Express, J&T Express, Best Express และ Shopee Express อีกทั้ง ยังมีผู้ประกอบการรายอื่น ๆ ที่ต่างเร่งขยายบริการด้วย เช่น DHL eCommerce Solutions, Ninja Van เป็นต้น
ในช่วงที่ผ่านมา รายได้ของผู้เล่นรายใหม่ต่างเพิ่มขึ้น หลายเท่าตัวพร้อมทั้งมีส่วนแบ่งตลาดที่เพิ่มขึ้นค่อนข้างมากโดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากการใช้กลยุทธ์ด้านราคา เพื่อขยาย/แย่งชิงส่วนแบ่งตลาด และทำให้อัตราค่าจัดส่งพัสดุเริ่มต้นลดลงจาก 35-40 บาทต่อชิ้น เหลือเพียง 15-20 บาทต่อชิ้น และจะยังแข่งขันกันอย่างดุเดือดในปี 2022
4 เทรนด์กำลังเติบโตและกลายเป็นโอกาสให้ผู้ประกอบการ
จากสงครามราคาที่ดุเดือดในตลาดขนส่งพัสดุที่เป็นตลาด Red Ocean ผู้ประกอบการควรเริ่มปรับตัวและขยายบริการไปสู่ตลาดใหม่ ๆ ที่ยังเป็นตลาดที่ค่อนข้าง Blue Ocean มากยิ่งขึ้น คือ
1. เทรนด์การให้บริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ
2. เทรนด์การให้บริการขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ หรือแบบไม่เต็มคันรถ (Less than Truckload: LTL)
3. เทรนด์การให้บริการโลจิสติกส์แบบครบวงจร
และ 4. เทรนด์การให้บริการขนส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิแบบด่วนทั้งสินค้าแบบแช่เย็นและแช่แข็ง
ในอนาคตข้างหน้า ธุรกิจขนส่งพัสดุยังมีความท้าท้ายที่ต้องเผชิญอีกหลายประการ และส่งผลให้ต้องเร่งปรับกลยุทธ์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและขยายสู่ตลาดใหม่ ๆ เช่น พัฒนาความเร็วในการจัดส่งพัสดุอย่างต่อเนื่อง การสร้าง strategic partnership หรือ M&A กับผู้ประกอบการต่าง ๆ เพื่อต่อยอดธุรกิจ และ การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้กับการดำเนินการมากยิ่งขึ้น