อ่วมอีก! ครม.ไฟเขียวปรับค่าตั๋วรถไฟฟ้า MRT เริ่ม 3 ก.ค. แพงสุด 43 บาท


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ราคาน้ำมันยังคงพุ่งสูง ทำให้เกิดผลกระทบเป็นวงกว้าง ล่าสุดค่าโดยสารส่วนค่าตั๋วรถไฟฟ้า MRT จะปรับราคาขึ้น แพงสุด 43 บาท เริ่ม 3 ก.ค. นี้

หลังจากที่ราคาน้ำมันพุ่งสูง จนรถร่วม บขส.ประกาศลดเที่ยววิ่งลง 80% ล่าสุด นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง บอกว่า ที่ประชุมมีมติอนุมัติให้ปรับขึ้นค่าโดยสารรถประจำทางหมวด 2 (วิ่งระหว่างกรุงเทพฯ-ต่างจังหวัด) และหมวด 3 (วิ่งระหว่างจังหวัด-จังหวัด และอำเภอ-อำเภอ) ให้ปรับขึ้นค่าโดยสารในอัตรา 5 สตางค์ต่อกิโลเมตร 

ประกาศ “พายุดีเปรสชัน” ฉ.2 เตือนฝนตกหนักทั่วไทย 30 มิ.ย.-2 ก.ค.นี้

สภาพอากาศวันนี้! กรมอุตุฯเตือน 35 จังหวัดรับมือฝนกระหน่ำ กทม.โดน 40%

ซึ่งเป็นอัตราที่ปรับขึ้นแล้วเท่าทุน ผู้ประกอบการสามารถดำเนินกิจการได้ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้โดยสารจนเกินไป มีผลตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม 2565 ส่วนรถ บขส.ยังให้ตรึงค่าโดยสารต่ออีก 3 เดือน เพื่อบรรเทาผลกระทบประชาชน

กยศ. ขยายเวลามาตรการลดหย่อนหนี้อีก 6 เดือน

อั้นไม่ไหว! ขนส่งไฟเขียวรถโดยสารประจำทางขึ้นราคา 4 ก.ค.

ขณะที่ราคาค่าโดยสาร MRT ล่าสุดคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไฟเขียวปรับค่าตั๋วรถไฟฟ้า MRT แล้ว เริ่ม 3 รกฎาคม 2565 แพงสุดอยู่ที่ 43 บาท โดยกระทรวงคมนาคมระบุเหตุผลว่า เนื่องจากสัญญาสัมปทานโครงการถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล และโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย) ได้กำหนดให้ดำเนินการปรับอัตราค่าโดยสารทุก ๆ ระยะ เวลา 24 เดือน และอัตราค่าโดยสารที่ใช้อยู่ในปัจจุบันจะครบกำหนดการบังคับใช้ตามสัญญาในวันที่ 2 รกฎาคม 2565

โดยมีการกำหนดอัตราค่าโดยสารใหม่โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ให้เริ่มต้นที่ 17 บาท สูงสุด 43 บาท โดยสถานีที่ 6, 9, 11 และ 12 ขึ้นไป จะมีอัตราค่าโดยสารเพิ่มจากปัจจุบัน 1 บาท และกำหนดให้คณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) อาจประกาศกำหนดผลิตภัณฑ์ของตั๋วโดยสาร เพื่อส่งเสริมการใช้บริการรถไฟฟ้า เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสาร

 

ส่วนแผนเก็บค่าบริการรถไฟฟ้าสายสีเขียว หรือ บีทีเอส ที่รวมกับช่วงส่วนต่อขยาย ซึ่งระบุเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2565 ไว้ว่าราคาควรอยู่ที่ 59 บาท เรื่องนี้นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ชี้แจงว่า ปัญหารถไฟฟ้า คือ ส่วนต่อขยายสายสีเขียวที่ให้บริการขณะนี้ไม่ได้มีการเรียกเก็บค่าบริการ ยังเปิดวิ่งฟรี จากข้อมูลของทีมผู้บริหาร สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) มีข้อเสนอมาว่าควรจัดเก็บค่าบริการตลอดสายขั้นสูงสุดไม่เกิน 59 บาท ดังนั้นราคานี้ไม่ใช่แผนแก้ปัญหาระยะยาว แต่เป็นแผนระยะสั้น ที่ กทม.รับข้อเสนอมาเพื่อพิจารณา

ส่วนนโยบายที่ตัวเองเคยหาเสียงไว้ว่า ค่าบริการรถไฟฟ้าควรจะอยู่ที่ 25-30 บาท ไม่ได้หมายความว่า นั่งจากสถานีต้นทางถึงปลายทางเป็นราคานี้ แต่คิดจากราคาค่าโดยสารเฉลี่ยที่คนใช้บริการ เดิมคิดค่าเฉลี่ย 8 สถานี แต่ล่าสุดสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) คำนวณไว้เฉลี่ยอยู่ที่ 11 สถานี

Perfect Storm กำลังมา! เศรษฐกิจถดถอย ส่อลากยาวถึงปีหน้า

โควิดวันนี้ (29 มิ.ย.65) ติดเชื้อ 2.5 พัน ปอดอักเสบยังพุ่งสูง 665 ราย

PR-โปรแกรมผลบอล-2_B PR-โปรแกรมผลบอล-2_B
TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ