ภาพรวมการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเฉลี่ยต่อวันเดือนมกราคม – พฤษภาคม 2565 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 12.4 โดยราคาน้ำมันยังคงอยู่ในช่วง "ขาขึ้น" โดยเฉพาะกลุ่มเบนซินราคาขายปลีกทะลุ 52.56 บาทต่อลิตร (29 มิ.ย.65) เช่นเดียวกับแก๊สโซฮอล์ 91 และ แก๊สโซฮอล์ อี20 ที่ราคายังคงอยู่ในระดับสูง
รีบแวะเติม! “โออาร์” ปรับขึ้นเบนซินแก๊สโซฮอล์ 30-50 สต./ลิตร ตามตลาดโลก
โรงตึ๊ง กทม. ลดดอกเบี้ย-ขยายรับตั๋ว เริ่มแล้ววันนี้
ตรวจหวย - ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดวันที่ 1 กรกฎาคม 2565 ลอตเตอรี่ 1/7/65
ส่งผลทำให้การใช้น้ำมันกลุ่มเบนซินเดือนมกราคม – พฤษภาคม 2565 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 0.3 โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 29.71 ล้านลิตร/วัน
ส่วนการใช้แก๊สโซฮอล์ 91 ลดลงมาอยู่ที่ 6.97 ล้านลิตร/วัน
แก๊สโซฮอล์ อี20 ลดลงมาอยู่ที่ 5.74 ล้านลิตร/วัน
เบนซิน ลดลงมาอยู่ที่ 0.57 ล้านลิตร/วัน
ขณะที่การใช้แก๊สโซฮอล์ 95 (15.45 ล้านลิตร/วัน )และแก๊สโซฮอล์ อี85 (0.99 ล้านลิตร/วัน) มีการใช้เพิ่มขึ้น
เช็ก! เดือน ก.ค.มีสินค้าอะไรบ้าง จ่อขึ้นราคา แก๊ส-น้ำอัดลม
หารือโรงกลั่น “ได้ข้อสรุป” ในสัปดาห์นี้ ปตท.คาดน้ำมันโลกแพงยาวถึงสิ้นปี
กิจกรรมเศรษฐกิจฟื้นจากปีก่อน-ตรึงราคา ดันการใช้ดีเซลเพิ่ม
ส่วนการใช้น้ำมันกลุ่มดีเซลเดือนมกราคม – พฤษภาคม 2565 เฉลี่ยอยู่ที่ 75.81 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน (เพิ่มขึ้น ร้อยละ 15.6) การใช้ที่เพิ่มขึ้นนี้เป็นผลจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น และมาตรการช่วยเหลือโดยตรึงราคาให้ไม่เกิน 30-32 บาท/ลิตร
สำหรับน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี7 การใช้เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 65.70 ล้านลิตร/วัน (เพิ่มขึ้น ร้อยละ 69.5) น้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา ซึ่งเริ่มจำหน่ายตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม 2562 ปริมาณการใช้ลดลงมาอยู่ที่ 3.18 ล้านลิตร/วัน และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี20 มีปริมาณการใช้ 0.20 ล้านลิตร/วัน
ขณะเดียวกัน การใช้น้ำมันอากาศยานเชิงพาณิชย์ (Jet A1) เฉลี่ยอยู่ที่ 7.38 ล้านลิตร/วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน (เพิ่มขึ้น ร้อยละ 57.7) เนื่องจากการผ่อนคลายมาตรการการบินและการเดินทางเข้า-ออกประเทศ
LPG เพิ่มขึ้นทั้งขนส่ง ครัวเรือน อุตสาหกรรม NGV อานิสงค์ขยายเวลาคงราคาขายปลีก
ขณะที่ การใช้ LPG เฉลี่ยอยู่ที่ 17.89 ล้านกก./วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน (เพิ่มขึ้น ร้อยละ 9.5) เนื่องจากการใช้ในทุกภาคเพิ่มขึ้น โดยภาคปิโตรเคมีเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 8.03 ล้านกก./วัน (เพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.9) ภาคขนส่ง เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 2.05 ล้านกก./วัน (เพิ่มขึ้น ร้อยละ 15.7) ภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 2.03 ล้านกก./วัน (เพิ่มขึ้น ร้อยละ 9.7) และภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 5.78 ล้านกก./วัน (เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.1)
NGV เฉลี่ยอยู่ที่ 3.33 ล้านกก./วัน (เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.0) โดย ปตท. ขยายระยะเวลาการคงราคาขายปลีกก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (NGV) ที่ 15.59 บาท/กิโลกรัม และราคาขายปลีก NGV สำหรับรถแท็กซี่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งเคยได้รับสิทธิผ่านมาตรการ NGV เพื่อลมหายใจเดียวกันที่ 13.62 บาท/กิโลกรัม จนถึงวันที่ 15 กันยายน 2565
มูลค่านำเข้าทั้ง "มันดิบและน้ำมันสำเร็จรูป" เพิ่มขึ้นเกือบ 100%
สำหรับการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงเดือนมกราคม – พฤษภาคม 2565 เฉลี่ยอยู่ที่ 1,000,569 บาร์เรล/วัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน (เพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.9) โดยการนำเข้าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 937,101 บาร์เรล/วัน (เพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.7) สอดคล้องกับความต้องการใช้ในประเทศที่สูงขึ้น
ย้อนดูสถิติ วอลเลย์บอลสาวไทย ก่อนพบ โดมินิกัน ศึกเนชั่นส์ ลีก 2022
บขส. ตรึงราคาค่าโดยสารต่อ 3 เดือน
โดยมูลค่าการนำเข้าน้ำมันเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีนี้จาก 53,774 ล้านบาทต่อเดือน มาอยู่ที่ 103,878 ล้านบาทต่อเดือน เพิ่มขึ้นร้อยละ 93.2%
ส่วนการส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปเดือนมกราคม – พฤษภาคม 2565 เป็นการส่งออกน้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา น้ำมันอากาศยาน น้ำมันก๊าด และ LPG โดยปริมาณส่งออกลดลงมาอยู่ที่ 170,459 บาร์เรล/วัน (ลดลง ร้อยละ 4.8) คิดเป็นมูลค่าส่งออกรวม 20,690 ล้านบาท/เดือน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 86.2)