ภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยเดือนพฤษภาคม 2565 และ 5 เดือนแรกของปี 2565 โดยในเดือนพฤษภาคมการส่งออกของไทยขยายตัวได้ 10.5% ที่มูลค่า 25,509 ล้านเหรียญสหรัฐ การนำเข้า ขยายตัว 24.2% ที่มูลค่า 27,383 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่งผลให้ในขาดดุลการค้า 1,874 ล้านเหรียญสหรัฐ
ไทยส่งออกโต 9.9% ขณะที่ราคาพลังงาน ปุ๋ยโลก ทำไทยขาดดุลการค้าสูง
เศรษฐกิจไทยดีขึ้น "ราคาพลังงาน-อาหาร" ดันเงินเฟ้อพุ่ง
ตรวจหวย - ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดวันที่ 1 กรกฎาคม 2565 ลอตเตอรี่ 1/7/65
ขณะที่การส่งออก 5 เดือนแรกปีนี้ (มกราคม-พฤษภาคม) ขยายตัวได้ 12.9% ที่มูลค่า 122,631 ล้านเหรียญล้านเหรียญสหรัฐ นำเข้า ขยายตัว 20.2% ที่มูลค่า 127,358 ล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้ 5 เดือนแรก ไทยขาดดุลการค้า 4,726 ล้านเหรียญสหรัฐ
รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ หดตัว 3.1% ต่อเนื่อง 5 เดือน โดยเป็นการหดตัวตลาดออสเตรเลีย เวียดนาม ญี่ปุ่น แต่ขยายตัวในตลาดฟิลิปปินส์อินโดนีเซีย สหรัฐฯ มาเลเซีย แอฟริกาใต้ ซาอุดีอาระเบีย และเม็กซิโก
เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ หดตัว 20.8% หดตัวต่อเนื่อง 2 เดือน หดตัว ในตลาดสหรัฐฯ ฮ่องกง จีน สิงคโปร์ญี่ปุ่น เม็กซิโก และเยอรมนี แต่ขยายตัวในตลาดเนเธอร์แลนด์ไอร์แลนด์ และ อินเดีย
เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ หดตัว 3.0% หดตัวต่อเนื่อง 3 เดือน หดตัวในตลาดเวียดนาม ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ และอินโดนีเซีย แต่ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ไต้หวัน อินเดีย สิงคโปร์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ท
ไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง หดตัว 2.8% หดตัว ต่อเนื่อง 5 เดือน หดตัวในตลาดจีน เกาหลีใต้ และลาว แต่ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น มาเลเซีย ฮ่องกง กัมพูชา เนเธอร์แลนด์ สิงคโปร์ และสหราชอาณาจักร
สิ่งปรุงรสอาหาร หดตัว 2.4% หดตัวในรอบ 9 เดือน หดตัว ในตลาดฟิลิปปินส์ สหราชอาณาจักร และเยอรมนี แต่ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น มาเลเซีย เนเธอร์แลนด์ ออสเตรเลีย และกัมพูชา
ขณะที่ ยางพารา ซึ่งกำลังมีปัยหาราคายางตกตำ แม้ช่วงเดือน พ.ค.จะ ขยายตัว 3.9% ซึ่งเป็นการขยายตัวในรอบ 3 เดือน ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ตุรกี ฝรั่งเศส และสเปน โดยช่วง 5 เดือนแรก ยางพารา หดตัวไป 4.3%
PTTGC ซื้อหุ้นเพิ่ม "Vencorex" ผู้ผลิตเคมีภัณฑ์ รวมถือ 100%
ราคาทองวันนี้ ร่วง 50 บาท ตามต่างประเทศลงใกล้แนวรับ 1.800 ดอลลาร์
อย่างไรก็ตาม ภาพรวมการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัว ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 18 ขยายตัว 25.8%
สินค้าเกษตร ขยายตัว 21.5% สินค้าที่ขยายตัวสูง เช่น ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ผลไม้สด ข้าว ยางพารา
สินค้าอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัว 32.7% สินค้าที่ขยายตัวสูง เช่น น้ำตาลทราย อาหารทะเล กระป๋องและแปรรูป อาหารสัตว์เลี้ยง สินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 15 ขยายตัว 4.2% สินค้าที่ขยายตัวสูง เช่น เครื่อง โทรสารฯ เครื่องจักรกลฯ
ส่วนสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับ น้ำมัน อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ยาง แผงวงจรไฟฟ้า และเมื่อหักการส่งออกทองคำ ขยายตัว 6.5%
ตลาดสำคัญต่อการส่งออก
ตลาดหลัก ขยายตัว 12.3% ขยายตัวต่อเนื่องในตลาดสหรัฐฯ อาเซียน CLMV ขณะที่ตลาด จีน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป เริ่มกลับมาขยายตัวเช่นกัน
ตลาดรอง ขยายตัว 8.9% ในตลาดเอเชียใต้ ตะวันออกกลาง ทวีปแอฟริกา และลาตินอเมริกา ขณะที่ทวีปออสเตรเลีย และรัสเซียและกลุ่มประเทศ CIS หดตัว รวมถึงตลาดสวิตเซอร์แลนด์
ส่วนการส่งออกไปตลาดสำคัญส่วนใหญ่ปรับดีขึ้น สะท้อนถึงอุปสงคจากประเทศคูคาที่ยังขยายตัวได้ แม้จะ ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความขัดแย้งของรัสเซีย-ยูเครนที่ยังคงยืดเยื้อ และการใช้มาตรการควบคุมไวรัส โควิด-19 ที่เข้มงวดในจีน
ไทยขาดดุลจากราคาพลังงานปรับตัวสูง
ขณะที่ สินค้าที่ผลักดันให้มูลค่านำเข้าขยายตัว 5 อันดับแรก เป็นสินค้าเชื้อเพลิง วัตถุดิบ และสินค้ากึ่งสำเร็จรูป ได้แก่ น้ำมันดิบ เครื่องเพชรพลอย อัญมณีเงินแท่ง และทองคำ ก๊าซธรรมชาติแผงวงจรไฟฟ้า และสินแร่ โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์
การนำเข้าเพิ่มขึ้นจากราคาพลังงานและวัตถุดิบ ปรับตัวสูงขึ้นจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและ ยูเครน ส่งผลให้มูลค่าการนำเข้าสินค้ากลุ่มดังกล่าวให้ขยายตัว และส่งผ่านต้นทุนไปยังราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ เกี่ยวข้องให้ปรับตัวสูงขึ้น
ประกอบกับการขยายตัว ของสินค้านำเข้าวัตถุดิบและสินค้ากึ่งสำเร็จรูปบางรายการ จากอุปสงค์ในประเทศและความต้องการผลิต เพื่อการส่งออก โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ ผลักดันมูลค่าการนำเข้าให้ขยายตัว
คนขายลอตเตอรี่เดือดร้อน หลังกองสลากเพิ่มสลากดิจิทัลเป็น 7.1 ล้านใบ
เปิดสถิติหวยออกย้อนหลัง 10 ปี งวด 1 ก.ค.