ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา การแพร่ระบาดของโควิด-19 สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงและเป็นวงกว้าง นับเป็นวิกฤตครั้งสำคัญของโลก แม้ว่าปัจจุบันจำนวนผู้ติดเชื้อรวมถึงความรุนแรงของโรคจะเริ่มลดลง หลายประเทศมีการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรคจนใกล้เข้าสู่ภาวะปกติ
ตลาดทุนผันผวน รอท่าที "เฟด" ต่างชาติเทขายหุ้นไทยกว่า 3 พันล้าน
ราคาเหล็ก ค่าแรงก่อสร้าง ดัน ราคาบ้านแพงขึ้น
แต่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในหลายประเทศยังเป็นไปได้อย่างค่อยเป็นค่อยไปจากรอยแผลเป็นทางเศรษฐกิจที่การแพร่ระบาดทิ้งเอาไว้
วิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 VS โควิด-19
จุดเริ่มต้นมาจากวิกฤตการเงิน (Financial Crisis) ของไทย และขยายผลกระทบจนนำไปสู่การเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในหลายประเทศ จากการใช้จ่ายเกินตัว การลงทุนด้วยเงินกู้ ตลอดจนการหวังเก็งกำไรจากสินทรัพย์ต่าง ๆ จนทำให้เกิดช่องโหว่ทางการเงินมากมาย และกลายเป็นฟองสบู่ใน ซึ่งวิกฤตต้มยำกุ้งใช้เวลาเกือบ 5 ปี กว่าที่มูลค่าทางเศรษฐกิจจะฟื้นตัวกลับมาเทียบเท่าก่อนการเกิดวิกฤต
เมื่อเทียบกับโควิด-19...
การลงทุนภาคเอกชน
การฟื้นตัวจากวิกฤตโควิด-19 ใช้เวลาเพียงประมาณ 2 ปีกว่า ก็สามารถฟื้นตัวกลับมาได้ถึง 95.48% ในทางกลับกันช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง ภาพรวมเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวจากวิกฤตแล้ว แต่ยังคงมีบางภาคส่วนที่ยังไม่ฟื้นตัวกลับมาจนปัจจุบัน
ภาคการส่งออก
เงินบาทอ่อนค่า เศรษฐกิจโลกที่โตขึ้นเอื้อต่อการขยายตัวของการส่งออก ขยายตัวอย่างต่อเนื่องมาจนถึงช่วงก่อนเกิดวิกฤตโควิด-19 ที่คิดเป็นประมาณ 356.71% ของการส่งออกในช่วงก่อนเกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง หรือประมาณ 10 ล้านล้านบาท
แต่วิกฤตโควิด-19 จะแตกต่างออกไป ภาคการส่งออกสินค้าฟื้นตัวกลับมาแล้ว แต่ส่วนของการหดตัวของภาคการส่งออกบริการยังคงต้องใช้เวลาในการฟื้นตัวนานกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการส่งออกสินค้า
เนื่องจากสาเหตุของการหดตัว คือ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส ประกอบกับมาตรการล็อกดาวน์ที่ควบคุมไม่ให้มีการเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ ซึ่งในปัจจุบันได้ผ่อนคลายมาตรการลงแล้วในหลายประเทศ การฟื้นตัวของการส่งออกบริการก็เริ่มกลับมา แต่ก็ยังคงห่างไกลกับมูลค่าช่วงก่อนเกิดวิกฤต โควิด-19 อยู่มาก
นอกจากนี้ สำหรับการฟื้นตัวของการบริโภคของภาคเอกชน และการนำเข้าสินค้าและบริการ จากวิกฤตต้มยำกุ้ง ใช้เวลาอีกประมาณ 2-3 ปี กว่าที่มูลค่าจะกลับไปเทียบเท่าก่อนเกิดวิกฤตดังกล่าว ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับการฟื้นตัวจากวิกฤตโควิด-19 ที่การบริโภคของภาคเอกชน และการนำเข้าสินค้าและบริการมีการฟื้นตัวเร็วกว่าภาคอื่น ๆ
เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวจากการระบาดของโควิด-19 แล้วหรือยัง
ภายหลังการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจไทยเริ่มขยายตัวได้ดีขึ้น เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว แต่รอยบาดแผลจากวิกฤตยังคงอยู่
- อัตราการว่างงานยังไม่กลับไปเท่าช่วงก่อนโควิด-19
- รายได้เฉลี่ยของประชากรยังไม่ได้เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ทั้งจากค่าครองชีพที่สูงขึ้นและเงินเฟ้อจากการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน เมื่อมาเจอกับภาวะสงครามในยูเครน ยิ่งส่งผลให้ความไม่สมดุลกันระหว่างภาคอุปสงค์และอุปทานในตลาดเพิ่มสูงขึ้น
- การส่งออกบริการ และการลงทุนภาคเอกชนของเศรษฐกิจไทย ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในแต่ละภาคส่วนจึงแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
- ภาคการส่งออกบริการ (Service Exports) มีอัตราการหดตัวสูงที่สุดเมื่อเทียบกับทุกภาคส่วน กระทบโดยตรงที่สุด และยังคงไม่ฟื้นตัวกลับมา
หากไม่มีวิกฤต COVID-19 เกิดขึ้น แนวโน้มประเทศไทยจะเป็นอย่างไร
วิกฤตในครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นถึงความเปราะบางของเศรษฐกิจไทย ที่เมื่อภาคการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากวิกฤต เศรษฐกิจก็เกิดปัญหาอย่างหนัก อีกทั้ง ความไม่พร้อมทางการเงินทั้งของภาคธุรกิจและครัวเรือนของไทยที่มีอยู่แต่เดิมและเพิ่มขึ้นอีกเมื่อเกิดวิกฤต ซึ่งจะยิ่งเป็นอุปสรรคในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ อีกบทเรียนสำคัญที่ไทยยังคงต้องพัฒนา คือ ความได้เปรียบของการมีเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ดี เพราะจะเป็นเครื่องมือที่สามารถช่วยบรรเทาและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น รวมถึงการช่วยให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนต่อไปได้ภายใต้วิกฤต
อย่างไรก็ตาม คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะสามารถฟื้นตัวเทียบเท่าช่วงก่อนเกิดวิกฤต (ไตรมาส 4 ปี 2019) ได้ ในไตรมาส 3 ปี 2023 คือ มีมูลค่าทางเศรษฐกิจอยู่ที่ 16.9 ล้านล้านบาท ซึ่งตัวเลขยังคงห่างกับมูลค่าทางเศรษฐกิจในกรณีที่ไม่มีวิกฤตเกิดขึ้นพอสมควร
ข้อมูลจาก : EIC | Economic Intelligence Center ธนาคารไทยพาณิชย์