เช็กการเติบโต เศรษฐกิจภาคเกษตรไตรมาส 2 พืชโต-ปศุสัตว์ประมง หดตัว


โดย PPTV Online

เผยแพร่




สินค้าเกษตร สาขาพืชยังขยายตัว ยกเว้นข้าวนาปี ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ผลผลิตลด ส่วน ปศุสัต ประมง ยังคงหดตัว

ผลการวิเคราะห์ ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรในไตรมาส 2 ของปี 2565 (เดือนเมษายน – มิถุนายน) เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 พบว่า ขยายตัว  5.7%  เติบโตได้ดีต่อเนื่องจากไตรมาสแรกที่ขยายตัว  4.1% 

“บรรยง พงษ์พานิช” ประเมินเศรษฐกิจไทย ไม่ลงเอยแบบศรีลังกา

สงคราม จีนล็อกดาวน์ ขึ้นดอกเบี้ย เอดีบี หั่นเศรษฐกิจเอเชียโตเหลือ 4.6%

นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ระบุ  สภาพอากาศเอื้ออำนวยมากขึ้น ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำและแหล่งน้ำธรรมชาติมีเพียงพอ  ราคาสินค้าเกษตรหลายชนิดอยู่ในเกณฑ์ดี ทำให้เกษตรกรขยายการเพาะปลูกมากขึ้น  ทั้งข้าวนาปรัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อ้อยโรงงาน ลำไย ทุเรียน มังคุด และเงาะ เพิ่มขึ้น

ข้าวนาปรัง และผลไม้ภาคตะวันออก ซึ่งเป็นผลผลิตหลักในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นอย่างมาก

สินค้าพืชที่มีผลผลิตลดลง

ข้าวนาปี เนื่องจากราคาข้าวเปลือกในฤดูเพาะปลูกที่ผ่านมาไม่จูงใจ ต้นทุนเพิ่มขึ้นขาดแคลนแรงงาน ทำให้เกาตรกรบางส่วนเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนดีกว่า เช่น อ้อยโรงงาน และมันสำปะหลัง มันสำปะหลัง 

ยางพารา เนื่องจากในพื้นที่ภาคใต้ มีฝนตกอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายน 2565 ทำให้จำนวนวันกรีดยางลดลง

ปาล์มน้ำมัน เนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออำนวย ผลผลิตปาล์มน้ำมันออกสู่ตลาดเร็วขึ้นมีจำนวนมากในไตรมาสที่ผ่านมา ส่งผลให้ผลผลิตปาล์มน้ำมันที่เคยออกสู่ตลาดสูงสุดในช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคมมีปริมาณลดลง 

 

ปศุสัตว์-ประมงยังหดตัว 

ปศุสัตว์ หดตัว 2.2%

เกษตรกรยังมีความกังวลเรื่องโรคอหิวาต์แอฟริกันในสุกร (African Swine Fever: ASF) ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น  เกษตรกรลดปริมาณการเลี้ยงสุกรลง แม้ว่าความต้องการการบริโภคจะมีอบ่างต่อเนื่อง ส่วนไก่เนื้อ และ ไข่ไก่ขยายการผลิตเพื่อรองรับความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง น้ำนมดิบ  แม่โคมีอัตราการให้น้ำนมเพิ่มขึ้น ใช้เทคโนโลยีช่วยในการจัดการฟาร์มและควบคุมโรคระบาด

สาขาประมง หดตัว  2.7%  มรสุมเข้าต่อเนื่อง ชาวประมงจึงจับสัตว์น้ำได้ลดลง  รวมถึงราคาน้ำมันแพงขึ้น  กุ้งทะเลเพาะเลี้ยง มีปริมาณผลผลิตลดลง จากโรคขี้ขาว ไวรัสตัวแดงดวงขาว หัวเหลืองในกุ้งขาวแวนนาไม  ทำให้ได้กุ้งที่มีขนาดเล็กลง แต่ ปลานิล และ ปลาดุก ผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีปริมาณน้ำเพียงพอ 

อย่างไรก็ตาม แนวโน้มเศรษฐกิจการเกษตรในปี 2565 คาดว่าจะขยายตัวอยู่ในช่วง  2.4% – 3.4% เมื่อเทียบกับปี 2564  ทุกสาขาการผลิต มีแนวโน้มขยายตัว ฝนตกต่อเนื่อง น้ำเพียงพอ เกษตรกรใช้เทคโนโลยีในการผลิตและใช้ปัจจัยการผลิตอย่างเหมาะสมเพื่อลดต้นทุน

แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่นอกจาก สภาพอากาศแปรปรวนแล้ว สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ยังคงยืดเยื้อ ทำให้หลายประเทศประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ และอาจส่งผลให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัว

TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ