จับตาวิกฤตหนี้เอเชียใต้ อาจซ้ำรอย "ต้มยำกุ้งไทย ปี 40"


โดย PPTV Online

เผยแพร่




วิกฤตหนี้ในภูมิภาคเอเชียใต้ ตอนนี้กำลังถูกจับตามองว่าอาจซ้ำรอยใกล้เคียงกับวิกฤตยำกุ้งของไทย โดยมีปัจจัยจากปัญหาขาดแคลนพลังงานจากสถานการณ์สู้รบระหว่างยูเครน-รัสเซีย และเงินในประเทศที่อ่อนค่าหนักสุดในประวัติศาสตร์ ที่ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อเศรษฐกิจประเทศ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ เฟด ทำให้ค่าเงินดอลลาร์ปรับตัวสูงขึ้นมาก กระทบต่อประเทศที่เศรษฐกิจยังฟื้นตัวไม่ได้เต็มที่ ท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อสูง

สำรวจคนใช้น้ำมัน 6 เดือนแรก 152.14 ล้านลิตร/วัน "เพิ่มขึ้นจากปีก่อน"

เปิด 5 ทำเลทองในกรุง ราคาที่ดินพุ่งสูงสุด แนวรถไฟฟ้าแรงไม่หยุด

ปากีสถาน เจอวิกฤตขาดแคลนพลังงาน จนเกิดเหตุไฟฟ้าดับในประเทศนานกว่า 12 ชั่วโมงต่อวัน และค่าเงินรูปี ร่วงลงต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์ หนี้สาธารณะอยู่ในสถานการณ์ย่ำแย่ โดยรัฐบาลได้ร้องขอความช่วยเหลือจากองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ ไอเอ็มเอฟ (IMF) พร้อมกับปรับการบริหารใหม่ ด้วยการขึ้นราคาพลังงาน อย่าง น้ำมันดีเซล ราคาเพิ่มขึ้น 100% และไฟฟ้า ราคาเพิ่มขึ้นเกือบ 50%  รวมถึงเก็บภาษีผู้ค้าปลีก เพื่อนำมาเป็นรายได้ให้กับประเทศ

 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ของปากีสถาน ยอมรับว่า ปากีสถาน กำลังฝ่าฟันวิกฤตต่าง ๆ  ด้วยการตัดงบประมาณการใช้จ่ายของประเทศ  และลดการนำเข้าสินค้าให้ต่ำลง

บังกลาเทศ ประเทศที่มีอันดับความน่าเชื่อถือคงที่ และถูกจับตามองของเหล่านักเศรษฐศาสตร์ เนื่องจากเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา และมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่รวดเร็วในอันดับต้น ๆ ของโลก ล่าสุดกลับเผชิญปัญหาการขาดแคลนเชื้อเพลิงอย่างหนัก และการนำเข้าสินค้าที่สูงกว่าส่งออก เนื่องจากอุตสาหกรรมเสื้อผ้า ที่คิดเป็นสัดส่วนกว่า 80% ของสินค้าส่งออก เจอปัญหาด้านพลังงาน และออเดอร์สั่งซื้อจากต่างประเทศที่ชะลอตัวลง จนทำให้ล่าสุดรัฐบาลบังกลาเทศ ต้องร้องขอเงินช่วยเหลือจากไอเอ็มเอฟ 

“บรรยง พงษ์พานิช” ประเมินเศรษฐกิจไทย ไม่ลงเอยแบบศรีลังกา

ศรีลังกา เศรษฐกิจของประเทศเข้าขั้นล่มสลาย หลังประชาชนลุกฮือประท้วงรัฐบาล จากปัญหาขาดแคลนพลังงาน ราคาสินค้าแพงขึ้นหลายเท่าตัว และการบริหารที่ผิดพลาดรัฐบาล จนนำไปสู่การประกาศลาออกของประธาธิบดี และจัดการเลือกตั้งใหม่ในสภา ซึ่งรัฐบาลใหม่ของศรีลังกา ได้พยายามแก้ไขวิกฤตประเทศ ด้วยการร้องขอเงินช่วยเหลือจาก ไอเอ็มเอฟ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากยังไม่เข้าเงื่อนไข เช่น เจรจากับเจ้าหนี้ เพื่อปรับลดหนี้ที่มีอยู่

ทำให้ศรีลังกา ต้องไปเจรากับจีน เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ที่กู้มาราว 1,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งครบกำหนดชำระในปีนี้ รวมถึงขอเงินช่วยเหลือเพิ่มอีก 4 พันล้านดอลลาร์

อย่างไรก็ตามยังมี อินเดีย เป็นอีกประเทศที่ให้ความช่วยเหลือศรีลังกาได้  ที่ผ่านมา อินเดีย มีทุนสำรองเงินตราต่างประเทศเพิ่มขึ้น 20 เท่าหลังจากวิกฤตครั้งล่าสุด แต่ผลกระทบจากเฟดขึ้นดอกเบี้ยรุนแรง ส่งให้เงินรูปีอ่อนค่าลงอย่างมากเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ ทำให้เงินทุนไหลออกจากตลาดหุ้นอินเดียจำนวนมาก ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของอินเดียลดต่ำสุดในรอบปีราว 6 แสนล้านดอลลาร์ จนธนาคารกลางอินเดีย ต้องเข้าแทรกแซงด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อชะลอเงินเฟ้อ และการไหลออกของเงินทุน

 

โดยวิกฤตของเอเชียใต้ครั้งนี้ อาจซ้ำรอยใกล้เคียงกับ วิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 ของไทย ที่รัฐบาล “ลอยตัวค่าเงินบาท” ทำให้เงินบาทอ่อนค่ารุนแรง แตะระดับ 56.1 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ กระทบธุรกิจขนาดใหญ่หลายแห่งล้มละลาย ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้มหาศาล จน ไอเอมเอฟ ต้องให้เงินทุนช่วยเหลือ เพื่อพยุงเศรษฐกิจของประเทศ อย่างไรก็ตามวิกฤตครั้งนี้ ได้ส่งผลถึงประเทศอื่นที่มีขนาดเศรษฐกิจใกล้เคียงไทย ลุกลามทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เหมือนกับโดมิโน จนกลายเป็นวิกฤตการณ์การเงินในเอเชียในที่สุด

 

วิกฤตราคาพลังงาน "ดันรายได้บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่พุ่ง"

ชิปส่อขาดแคลน จีนแบนขายทรายให้ไต้หวัน กระทบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ไทย

TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ