ปัจจัยภาวะความตึงเครียดสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ส่อเค้ายืดเยื้อ ราคาวัตถุดิบการผลิตอาหารปรับสูงขึ้น ได้แก่ ปุ๋ยเคมี และอาหารสัตว์ ไปจนถึงค่าการขนส่งสินค้าของโลกราคาสูงขึ้นจากความต้องการของผู้บริโภคทั่วโลก ภายหลังการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 คลี่คลายลง
วิกฤต Food Protectionism ผลกระทบจากสงครามลามทั่วโลก
"วิกฤตอาหารโลก" อาหารแพง คนอดยาก
ในขณะที่ธุรกิจเดินเรือสินค้า มีตู้คอนเทนเนอร์ไม่เพียงพอ ท่าเรือยังไม่พร้อมให้บริการ รวมกับปัญหาที่เกิดขึ้นมานานและกำลังจะกลายเป็นระยะยาวคือการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศทำให้ผลผลิตอาหารไม่พอเพียง
ส่งผลต่อความกังวลของโลกเกี่ยวกับความไม่พอเพียงของอาหาร ผลักดันให้ราคาอาหารปรับตัวสูงขึ้น นับเป็นความท้าทายหนึ่งของไทย
“ปริมาณการผลิตยังไม่น่าห่วง...แต่เสี่ยงราคาสูง”
เมื่อไปดู 5 อาหารหลักของไทย คือ หมู น้ำมันปาล์ม ไก่ ข้าว น้ำตาล ในประเด็นที่เพียงพอต่อตลาดในประเทศหรือไม่ โดยใช้เกณฑ์วัดจากเปอร์เซ็นต์สัดส่วนการบริโภคในประเทศต่อปริมาณการผลิตในประเทศ พบว่า
- หมู ปริมาณการบริโภค 92% ต่อการผลิตรวม 1.38 ล้านตัน
- น้ำมันปาล์ม ปริมาณการบริโภค 73% ต่อการผลิตรวม 3.26 ล้านตัน
- ไก่ ปริมาณการบริโภค 68% ต่อการผลิตรวม 2.93 ล้านตัน
- ข้าว ปริมาณการบริโภค 65% ต่อการผลิตรวม 20.1 ล้านตันข้าวสาร
- น้ำตาล ปริมาณการบริโภค 24% ต่อการผลิตรวม 10.5 ล้านตัน
ปัจจัยที่น่ากังวล คือ ราคาอาหารโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
โดยอ้างอิงจากข้อมูลดัชนีราคาอาหารของโลกจากองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) พบว่า ในช่วงระยะเวลา 22 ปีที่ผ่านมา (นับตั้งแต่ปี 2000-2022) ราคาอาหารของโลกปรับเพิ่มขึ้นสะสมกว่า 127% (เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 5.8% ต่อปี) โดยหมวดอาหารที่ราคาเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบ 22 ปี คือ
- น้ำมันพืชปรับเพิ่มขึ้นสะสม 225% (เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 10.2%ต่อปี)
- ผลิตภัณฑ์นมปรับเพิ่มสะสม 151% (เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 6.9% ต่อปี)
- ธัญพืชปรับเพิ่มขึ้นสะสม 148% (เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 6.7% ต่อปี)
- น้ำตาลปรับเพิ่มขึ้นสะสม 141% (เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 6.4% ต่อปี)
- เนื้อสัตว์ปรับเพิ่มขึ้นสะสม 77% (เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 3.5% ต่อปี)
ประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 51 ของโลกจากทั้งหมด 113 ประเทศ
โดยจากข้อมูลของ The Economist Intelligence Unit พบว่า ดัชนีความมั่นคงทางด้านอาหาร (Global Food Security Index: GFSI) ในปี 2021 ประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 51 ของโลกจากทั้งหมด 113 ประเทศ โดยประชาชนสามารถในการหาซื้ออาหารได้ง่าย (Affordability) และทรัพยากรธรรมชาติในการผลิตอาหารค่อนข้างมีความยืดหยุ่น (Natural Resources and Resilience) เมื่อพบกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศอย่างฉับพลัน
แต่ยังมี "จุดอ่อน"
คือจุดอ่อนด้านความพร้อมและความพอเพียงด้านอาหาร (Availability)และคุณภาพและความปลอดภัย (Quality and Safety)
- ความพร้อมและความพอเพียงด้านอาหารของไทยยังขาดการสนับสนุนการขยายการเพาะปลูก พืชและเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นแหล่งอาหารในระยะยาว ซึ่งหากไม่สนับสนุนอย่างต่อเนื่องอาจทำให้อุปทานอาหารเกิดการชะงักได้ในอนาคต
- คุณภาพและความปลอดภัยด้านอาหาร สิ่งที่ต้องปรับปรุงคือ อาหารไทยต้องความหลากหลายทางโภชนาการมากขึ้น รวมถึงต้องเพิ่มมาตรฐานความปลอดภัยในระดับสากล
ข้อมูล ttb analytics