ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565 อัตราค่าจ้างขั้นต่ำของแรงงานไทยจะถูกปรับขึ้นในรอบกว่า 2 ปีจากครั้งหลังสุดเมื่อ 1 มกราคม 2563 หากคณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามข้อเสนอของมติคณะกรรมการค่าจ้าง ที่พิจารณาให้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายวันปรับขึ้นมาที่ 328-354 บาท หรือเฉลี่ยทั้งประเทศ (77 จังหวัด) อยู่ที่ 337 บาท คิดเป็นการเพิ่มขึ้น 5% จากอัตราเดิม
แรงงานเฮ! ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ “ภูเก็ต-ชลบุรี-ระยอง” ครองแชมป์ 354 บาท/วัน บังคับใช้ 1 ต.ค.นี้
ครบ จบใน "แอปฯเดียว" รวมเช็กสิทธิประกันสังคมทุกสิทธิ ผ่าน SSO CONNECT
ซึ่งผลบังคับใช้ช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี ทำให้ค่าจ้างขั้นต่ำเฉลี่ยทั้งประเทศจะอยู่ที่ 325 บาท/วัน (9 เดือนแรก อยู่ที่ 321 บาท) เพิ่มขึ้นราว 1.3% จากในปี 2564
ขณะที่ ในปี 2566 ค่าจ้างขั้นต่ำเฉลี่ยทั้งประเทศจะเพิ่มขึ้นเป็น 337 บาท/วันเต็มปี หรือเพิ่มขึ้น 3.7% จากปี 2565 ในกรณีที่ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงอีกระหว่างทาง
การเพิ่มขึ้นในแต่ละจังหวัดในอัตราที่ไม่เท่ากัน ทำให้ภาคอุตสาหกรรมที่มีแหล่งที่ตั้งของกิจการต่างกัน จะได้รับผลกระทบที่แตกต่างกัน เบื้องต้นกิจการที่ตั้งอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล จะได้รับผลกระทบด้านต้นทุนแรงงานที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่มากกว่าหากเทียบกับพื้นที่อื่น ขณะเดียวกันต้นทุนและความยืดหยุ่นในการปรับตัวที่ต่างกัน ทำให้ภาคอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบไม่เท่ากัน
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า อัตรากำไรจากการดำเนินงานหรือ Operating Profit Margin (OPM) ของภาคอุตสาหกรรมเฉลี่ยโดยรวมอาจถูกกระทบราว 4.6% จากสัดส่วนต้นทุนแรงงานที่อยู่ที่ราว 10.2% ของต้นทุนรวม การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำจะมีผลทำให้ต้นทุนรวมเพิ่มขึ้นราว 0.5% ภายใต้สมมติฐานที่กำหนดให้ปัจจัยอื่นคงที่ และธุรกิจต้องปรับขึ้นค่าจ้างให้กับแรงงานในอัตราเดียวกันนี้ แม้บางส่วนอาจจะไม่ได้จ้างแรงงานโดยอิงกับค่าจ้างขั้นต่ำก็ตาม
อุตสาหกรรมโรงแรม ร้านอาหาร เผชิญความท้าทายสูง
เนื่องจากจังหวะเวลาของการพลิกกลับมาทำกำไรอาจถูกเลื่อนออกไปจากเดิมจากประเด็นด้านต้นทุนที่สูงขึ้น โดยในความเป็นจริง ผู้ประกอบการต้องเผชิญกับต้นทุนที่ปรับขึ้นหลายด้าน แต่อาจสามารถขยับราคาสินค้าขึ้นได้จำกัด
ภาคอุตสาหกรรมได้เผชิญแรงกดดันด้านต้นทุนมาก่อนหน้านี้และยังมีแนวโน้มที่ต้นทุนจะยังคงอยู่ในระดับสูง ทั้งวัตถุดิบและพลังงาน และถัดจากนี้อาจยังมีต้นทุนทางการเงิน ท่ามกลางสถานการณ์ฝั่งรายได้ที่ในภาพรวมแม้จะเริ่มทยอยฟื้นตัวดีขึ้นตามลำดับ แต่ก็ยังมีความเปราะบางและเป็นแนวโน้มการฟื้นตัวที่ยังไม่แข็งแรง นั่นหมายความว่า การรักษาความสามารถในการทำกำไรจะยังคงเป็นโจทย์ท้าทายเฉพาะหน้าสำหรับภาคอุตสาหกรรมต่อไป