ราคาน้ำมัน "ทรงตัว" หลังกลุ่มโอเปกพยายามดันราคา ขณะปัจจัยลบท่วม


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ราคาน้ำมันในตลาดเอเชียเช้านี้ทรงตัว หลังร่วงหนักจากความวิตกเศรษฐกิจถดถอย ฉุดความต้องการใช้น้ำมันทั่วโลก ขณะที่ปัจจัยลบท่วม กดดันราคาขยับลง

ราคาน้ำมันในตลาดเอเชียแทบไม่ขยับ เป็นสัญญาณว่ากลุ่มโอเปกพลัส กำลังหาวิธีพยุงราคาน้ำมัน โดยไม่ต้องการให้ราคาน้ำมันพุ่งทะยานขึ้น หรือ ร่วงลงอย่างหนัก แต่เป็นระดับราคาที่สร้างความสมดุลระหว่างการผลิตและความต้องการบริโภคน้ำมัน

ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ในเช้านี้ ขยับขึ้น 26 เซ็นต์ หรือ 0.3% เคลื่อนไหวที่ 84.32 ดอลลาร์/บาร์เรล ขณะที่น้ำมันดิบเวสท์เท็กซัส(WTI) เพิ่มขึ้น 19 เซ็นต์ เคลื่อนไหวที่ 76.90 ดอลลาร์/บาร์เรล

เศรษฐกิจไทยไตรมาส 4 เตรียมรับ PERFECT STORM เจอ 6 ปัจจัยเสี่ยง

ไม่ต้องรีบเติม! พรุ่งนี้ เบนซิน ปรับลด 60 สต./ลิตร ลงตามตลาดโลกผวา ศก.ถดถอย

 

 

ราคาน้ำมันย้อนหลัง 15 วัน

หน่วยธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)  รายงานว่าในสัปดาห์ล่าสุด ราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบอ้างอิงทุกชนิด ลดลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า กว่า 1-3 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โดยในปลายสัปดาห์ปิดตลาดลดลง 5-6% สู่ระดับต่ำสุดในรอบ 8 เดือน หลังธนาคารกลางทั่วโลกเร่งปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อควบคุมเงินเฟ้อ อาทิ สหรัฐฯ อังกฤษ สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ และนอร์เวย์ ทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าที่สุดในรอบ 2 ทศวรรษ โดยล่าสุดดัชนีดอลลาร์ (Dollar Index) เพิ่มขึ้น 1.67% ปิดตลาดที่ 113.02 จุด สร้างความวิตกว่าอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นอาจทำให้เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอย และส่งผลให้อุปสงค์น้ำมันชะลอตัว

CME Group รายงานแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ จากมุมมองของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (Federal Open Market Committee: FOMC) 19 ราย คาดว่าอัตราดอกเบี้ย ในช่วงปลายปี 2565 จะเพิ่มสู่ระดับ 4.25-4.50% บ่งชี้การขึ้นดอกเบี้ยอีก 2 ครั้ง รวมกัน 1.25% ในการประชุมวันที่ 1-2 พ.ย. และ 13-14 ธ.ค. 65

อย่างไรก็ตามอุปทานน้ำมันโลกมีแนวโน้มตึงตัว โดย CEO ของ Abu Dhabi National Oil Co. (ADNOC) ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ระบุว่ากำลังการผลิตน้ำมันสำรอง (Spare Capacity) ในตลาดโลกอยู่ในระดับต่ำ หากเกิด Supply Disruption อาจทำให้ราคาน้ำมันปรับเพิ่มอย่างรวดเร็ว มีเพียงซาอุดีอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ที่สามารถเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้การลดการลงทุนในธุรกิจปิโตรเลียมอาจสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจ

ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ

  • 21 ก.ย. 65 ที่ประชุม FOMC ของสหรัฐฯ มีมติปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้น 0.75% อยู่ที่ระดับ 3.0-3.25% สูงสุดตั้งแต่ปี 2551
  • 22 ก.ย. 65 ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของอังกฤษ (Monetary Policy Committee: MPC) มีมติปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้น 0.50% อยู่ที่ 2.25% ซึ่งต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ว่าจะเพิ่ม 0.75% อยู่ที่ 2.5% แต่ธนาคารแห่งประเทศอังกฤษ (Bank of England: BoE) แถลงยืนยันว่า MPC จะตอบสนอง (ต่ออัตราเงินเฟ้อ) อย่างเต็มกำลัง ตามความจำเป็น แม้อาจจะทำให้เศรษฐกิจเข้าสู่สภาวะถดถอย
  • Petroleum Planning and Analysis Cell (PPAC) ของอินเดียรายงานปริมาณนำเข้าน้ำมันดิบ ในเดือน ส.ค. 65 ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 2.79 ล้านตัน อยู่ที่ 17.55 ล้านตัน (4.15 ล้านบาร์เรลต่อวัน) ต่ำสุดในรอบ 10 เดือน เนื่องจากฤดูมรสุมกดดันความต้องการใช้น้ำมันในภาคอุตสาหกรรม การเดินทาง และการชลประทาน
  • กระทรวงพลังงานสหรัฐฯ มีแผนระบายน้ำมันจากคลังสำรองทางยุทธศาสตร์ (Strategic Petroleum Reserve: SPR) ปริมาณ 10 ล้านบาร์เรล ในเดือน พ.ย. 65 ซึ่งเป็นการขยายเวลาจากแผนเดิมที่จะระบายน้ำมันจาก SPR ปริมาณ 180 ล้านบาร์เรล ในช่วงเดือน เม.ย.- ต.ค. 65 ทั้งนี้ สหรัฐฯ ระบายน้ำมันจาก SPR แล้ว 155 ล้านบาร์เรล

ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงบวก

  • สงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครนเพิ่มความตึงเครียด หลังประธานาธิบดีรัสเซีย นาย Vladimir Putin ประกาศเคลื่อนพล โดยเรียกทหารกองหนุนรัสเซียจำนวน 300,000 นาย ไปยังยูเครน พร้อมระบุจะผนวกดินแดนที่ยึดครองได้จากยูเครนมาเป็นของรัสเซียทั้งหมด และจะใช้ “ทุกวิถีทาง” เพื่อปกป้องรัสเซียจากชาติตะวันตก ถือเป็นการยกระดับการทำสงครามครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่รัสเซียเริ่มบุกยูเครน เมื่อ 24 ก.พ. 65

 

คอนเทนต์แนะนำ
"จิสด้า" เผยภาพเคลื่อนตัวพายุโนรู เตือน อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ลุ่มน้ำชี-มูล น่าเป็นห่วง
เงินบาทสัปดาห์นี้ซื้อขายในกรอบ 37.50-38.00 แนวโน้มอ่อนค่าต่อเนื่อง

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์


TOP เศรษฐกิจ

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ