ย่างเข้าสู่ ก.ย. หลายท่านเข้าสู่วัยเกษียณ เป็นอีกช่วงหนึ่งของชีวิตที่มีความท้าทาย สิ่งหนึ่งที่สำคัญคือการ เตรียมการก่อนวันเกษียณ ด้วยการบริหารจัดการเงินไว้ใช้จ่ายหลังเกษียณ ส่วนใหญ่วัยเกษียณไม่ได้มีรายได้ประจำ แต่ยังคงมีรายจ่ายประจำที่จำเป็น เช่น ค่าอาหาร ค่าสาธารณูปโภค ค่ารักษาพยาบาลที่ไม่อาจคาดการณ์ได้ ฯลฯ
เจาะสิทธิ "ช้อปดีมีคืน" ซื้ออะไรบ้าง? ได้ลดหย่อนภาษีเงินได้ปี 65
อย่าลืม "สิทธิช้อปดีมีคืน " เตรียม "วางแผน" ลดหย่อนภาษีปี 65
เฉพาะค่าใช้จ่ายประจำวันเหล่านี้ข้อมูลจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) ประมาณการว่า เงินออมขั้นต่ำที่ควรมี ณ วันเกษียณอายุ 60 ปี และใช้ไปจนถึงอายุ 90 ปี คือ 3.1 ล้านบาท
ซึ่ง 3.1 ล้านบาท เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่าย 8,600 บาท/เดือน แต่คงน้อยคนนักที่จะมีค่าใช้จ่ายเพียงที่กล่าวมาข้างต้น ดังนั้น ก็ยิ่งจำเป็นที่จะต้องเก็บออมเงินเพิ่มมากขึ้น ซึ่งหากคำนวณจาก สถิติปี 2565 พบว่า คนไทยมีอายุยืนยาวขึ้น โดยเพศชายมีอายุเฉลี่ย 74.39 ปี ขณะที่เพศหญิงมีอายุเฉลี่ยถึง 80.6 ปี
ขณะเดียวกัน กรณีเจ็บป่วยติดเตียง จากข้อมูลปี 2562 พบว่า ค่าใช้จ่ายของครัวเรือนในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงและติดบ้านมีจำนวนถึงปีละ 2.3 แสนบาท และ 1.2 แสนบาท
ยิ่งทำให้เห็นว่า การเตรียมความพร้อมก่อนเกษียณอายุ ยิ่งมีความจำเป็นมากทั้งความมั่นคงทางการเงินและร่างกาย
มาดู "เงินก้อนพื้นฐานวัยเกษียณ" มีอะไรบ้าง
1.เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ จะได้รับเงินจากรัฐบาลเดือนละ 600 – 1,000 บาท ตั้งแต่อายุ 60 ปีจนกระทั่งเสียชีวิต
2.เงินบำเหน็จจากนายจ้าง กรณีเพื่อนสมาชิกทำงานกับบริษัทเอกชนหรือหน่วยงานที่อยู่ภายใต้กฎหมายแรงงาน ซึ่งจำนวนเงินที่ได้รับขึ้นอยู่กับระยะเวลาการทำงานและเงินเดือน
3.เงินบำเหน็จบำนาญชราภาพ จากกองทุนประกันสังคม ซึ่งปัจจุบันการจะได้รับเงินเป็นก้อน (เงินบำเหน็จ) หรือทยอยรับเงินเป็นรายเดือน ตลอดชีวิต (เงินบำนาญ) ขึ้นอยู่กับระยะเวลา
นอกจากนั้น ยังมีแหล่งเงินออมเพื่อการเกษียณอีกก้อน คือ
4.เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (provident fund หรือ PVD) เป็นเงินสะสมของตนเองและเงินสมทบที่นายจ้างนำส่งเข้ากองทุนพร้อมดอกผลจากการลงทุนในช่วงที่เป็นสมาชิกกองทุน และเกษียณอายุตามเงื่อนไขภาษีที่กรมสรรพากรกำหนด คือ ตอนอายุครบ 55 ปีขึ้นไป และเป็นสมาชิกกองทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีต่อเนื่องกัน จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินกองทุนทั้ง 4 ส่วน (เงินสะสม ผลประโยชน์ของเงินสะสม เงินสมทบ และผลประโยชน์ของเงินสมทบ)