ชายสุขเพิ่ม หญิงสุขลด ท่ามกลางค่าครองชีพและปัจจัยชีวิตที่เพิ่มขึ้น


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ในผลสำรวจคาดการณ์พฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคในประเทศไทย ได้พูดถึงคนไทย ทั้งพฤติกรรมรายจ่าย และอารมณ์ความรู้สึกในภาวะที่ค่าครองชีพยังสูง เจอภาวะเงินเฟ้อกดดัน

บ้านเมืองยังคงคึกคัก นักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แต่ปัญหาค่าครองชีพพุ่งสูงส่งผลให้ความต้อง การใช้จ่ายและความสุขของคนไทยในรอบเดือนนี้ยังทรงตัว โดยเฉพาะคนกรุงเทพฯ ที่ได้รับผลกระทบมากกว่าภาคอื่นๆ

น้ำมันโลกพุ่งแรง 5 วันติด รับ ‘โอเปก’ ช็อกตลาด ลดกำลังการผลิตครั้งใหญ่

ผลสำรวจ “ของแพง” กับ “คนจน” ทำให้เงินไม่พอใช้

อย่างไรก็ตาม คนไทยมีแนวโน้มปรับตัวพร้อมสู้สถานการณ์ โดยเริ่มจากสิ่งที่สามารถทำได้ไม่ว่าจะเป็น "การกักตุนอาหารก่อนราคาขึ้น ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นศึกษาหาความ รู้เพิ่มเพื่อสร้างโอกาสในการทำงาน รวมถึงวางแผนท่องเที่ยวใช้จ่ายรับวันหยุดยาว และช่วงปิดเทอมของลูกๆ

คนไทยพร้อม!เก็บกระเป๋าเที่ยว อย่างน้อย 1 ครั้ง แม้รายได้ลดลง

ชายสุขเพิ่ม หญิงสุขลด

จากแบบสอบถามว่า ปัจจุบันคุณมีความสุขกับชีวิตมากน้อยแค่ไหนเมื่อเปรียบเทียบกับเดือน ส.ค. 2565 พบว่า คะแนนรวมให้ 65 คะแนน ลดลง 1 คะแนน ขณะเดียวกันพบว่า ชายให้ 67 คะแนน เพิ่มขึ้น 2 คะแนน ส่วนหญิง 64 คะแนน ลดลง 3 คะแนน

ความสุขของผู้ชายเพิ่มขึ้นตามกระแสสังคม แต่ผู้หญิงสุขน้อยลงอาจเพราะภาระหน้าที่ในการดูแลครอบครัว โดยเฉพาะช่วงปิดเทอมที่ต้องจัดสรรเวลาในการดูแลลูกมากขึ้นพร้อมๆ กับทำงานนอกบ้านไปด้วย

 

และเมื่อถามว่า สิ่งที่ให้ความสำคัญที่สุดในชีวิตช่วงนี้ พบว่า ความมั่งคั่งเป็นอันดับ 3 แต่มีแนวโน้มมากขึ้นถึง 5% ขณะที่ครอบครัว และการงานลดลง

อันดับ 1 ครอบครัว (30%) แต่แนวโน้มลดลง 2%

อันดับ 2 สุขภาพ (25%)  เพิ่มขึ้น 1%

อันดับ 3 ความมั่งคั่ง (17%)  เพิ่มขึ้นมากที่สุด 5%

อันดับ 4 การงาน (11%) ลดลง 1%

อันดับ 5 ความรู้ (4%)  เป็นสิ่งที่เพิ่มมาใหม่ใน Top 5 ครั้งแรกในรอบปี และแนวโน้มเพิ่มขึ้น 1% 

สะท้อนความเชื่อ “ความรู้คือจุดเริ่มต้นของความก้าวหน้า” คนไทยมุ่งมั่นพัฒนาตนเอง เพิ่มศักยภาพและโอกาสในระยะยาว หวังเพิ่มรายได้ ต่อสู้กับเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน และเพื่อการจับจ่ายที่ “ดีต่อใจ” ฮีลตัวเองจากปัญหารอบตัวที่ควบคุมไม่ได้

มาดูที่ แนวโน้มความต้องการในการใช้จ่าย จะพบว่า พฤติกรรมตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นมากขึ้น และเพิ่มการจ่ายปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตมากขึ้น 

คือ อาหาร ของใช้จำเป็นในชีวิตประจำวัน เพิ่มขึ้น ขณะที่สมาร์ตโฟน โทรศัพท์มือถือ เสื้อผ้า ผลิตภัณฑ์เสริมความงาม แทบเล็ต คอมพิวเตอร์ น้ำมันรถ ลดลง

โดยภาพรวมแล้ว ไม่ว่ากำลังเผชิญกับสถานการณ์ไหน เงินจะเฟ้อ หรือของจะแพง แต่คนไทยก็สู้กลับ มุ่งเพิ่มความรู้ สร้างโอกาส ปรับการใช้จ่ายรับมือสถานการณ์ให้ผ่านไปได้

ที่มา :Hakuhodo Institute of Life and Living ASEAN  (THAILAND)

TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ