"น้ำท่วม" กระทบรายจ่ายครัวเรือนเพิ่มขึ้น 1,000-5,000 บาท


โดย PPTV Online

เผยแพร่




น้ำท่วมส่งผลครัวเรือนเริ่มกลับมามีความวิตกกังวลเกี่ยวกับรายได้ การจ้างงานเพิ่มขึ้น และมีค่าใช้จ่ายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นราว 1,000- 5,001 บาทขึ้นไป

เดือนก.ย.65 ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือน (KR-ECI) ปัจจุบัน และ 3 เดือนข้างหน้าทรงตัวอยู่ที่ 33.9 และ 35.2 โดยสถานการณ์ราคาพลังงานที่เริ่มทรงตัวส่งผลให้ครัวเรือนมีมุมมองที่ดีขึ้นต่อระดับราคาสินค้าในหลายหมวด ยกเว้นอาหารและเครื่องดื่มที่ครัวเรือนกลับมามีความกังวลเพิ่มมากขึ้น

ด่วน! กทม. เตือนปชช.นอกคันกั้นน้ำริมเจ้าพระยา ยกของขึ้นที่สูง

กรุงศรี "ช่วยลูกค้ารายย่อย" กระทบน้ำท่วม พักเงินต้น สูงสุดนาน 6 เดือน

แต่ .... สถานการณ์ฝนตกหนักจนเกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่และสร้างความเสียหายแก่พื้นที่เกษตรต่าง ๆ กลับทำให้ครัวเรือนมีความกังวลมากขึ้น

 

ซึ่งเป็นความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์รายได้และการจ้างงาน รวมถึงค่าใช้จ่ายที่จะเพิ่มขึ้น หลังได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม

โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้สำรวจเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้น ส่วนใหญ่ เดินทางไป-กลับทำงานลำบากมากขึ้น (54.1%)   อีก 38.5% ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าว 17.5% เผชิญความเสียหายในส่วนของที่อยู่อาศัย 16.1% ผลผลิตทางการเกษตรได้รับความเสียหาย

ซึ่งค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากผลกระทบของสถานการณ์น้ำท่วมพบว่าครัวเรือนที่มีค่าใช้จ่ายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นน้อยกว่า 1,000 บาทอยู่ที่ 34.3% ขณะที่มีค่าใช้จ่ายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นมากกว่า 5,001 บาทขึ้นไป มีสัดส่วนอยู่ที่ 19.2%

ทำให้คาดว่าค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นจากผลกระทบเฉพาะหน้าของสถานการณ์น้ำท่วมต่อภาคครัวเรือนเบื้องต้นอยู่ที่ 2.3 พันล้านบาท (ไม่รวมภาคอุตสาหกรรม) ซึ่งเป็นการคำนวณจากข้อมูลที่สำรวจในช่วงปลายเดือนก.ย.65 ยังไม่ได้รวมผลกระทบที่จะเกิดเพิ่มขึ้นจากสถานการณ์ฝนที่ยังตกหนักในช่วงเดือน ต.ค.65

 
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันสถานการณ์น้ำท่วมหนักยังเกิดขึ้นต่อเนื่องในหลายพื้นที่ ดังนั้นผลกระทบและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นปัจจุบัน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น กว่าที่ได้สำรวจในช่วงปลายเดือน ก.ย.65 และในระยะข้างหน้าการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพครัวเรือนมีความท้าทายเพิ่มขึ้นจากสถานการณ์น้ำท่วม ทั้งรายได้เกษตรกร พื้นที่ทำกิน การขายสินค้า ฯลฯ 

ในช่วงที่เหลือของปี 2565 ภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนยังเผชิญหลายปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ ทั้งระดับราคาสินค้าที่ยังจะเห็นการส่งผ่านต้นทุนจากผู้ผลิตมาสู่บริโภค ระดับราคาพลังงานที่ยังเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะค่าไฟฟ้าที่ยังมีแนวโน้มปรับขึ้นในลักษณะขั้นบันได บ่งชี้ว่ากำลังซื้อของภาคครัวเรือนยังมีแนวโน้มเปราะบาง การใช้จ่ายของครัวเรือนยังจะไม่สามารถฟื้นตัวได้เต็มที่

 

 

คอนเทนต์แนะนำ
อ่วมหนัก! น้ำทะลักท่วมโรงพัก จ.อ่างทอง กรมชลฯ เตือนริมฝั่งแม่น้ำน้อยเฝ้าระวังสูงสุด
ครม.ไฟเขียว เวนคืนที่ดินเขตบางแค-หนองแขม ขยายถนนเชื่อมทวีวัฒนา กับ บางบอน
ประวัติ “เด่น ดอกประดู่” อดีตดาวตลกรุ่นใหญ่ เจ้าของฉายา "ตลกพูดเพราะ"

 

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์


TOP เศรษฐกิจ

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ