เหตุผล ? เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวสวนเศรษฐกิจโลกที่หลายคนมองว่าจะชะลอตัวจนเข้าสู่ภาวะถดถอย
"สิ่งที่เลวร้ายที่สุดยังมาไม่ถึง" IMF ประเมินสัญญาณเศรษฐกิจถดถอยปีหน้า
แบงก์ชาติ ส่งจดหมายตรงถึง รมว.คลัง ชี้แจงเงินเฟ้อสูงกว่าเป้าหมาย
EIC คาดว่า ไทยมีภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชนที่เป็นปัจจัยสนับสนุน ในไตรมาส 4 ถือเป็นช่วงไฮซีซัน คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะมีผลทำให้ในระยะต่อไปเกิดการจ้างงานในภาคบริการและการท่องเที่ยว
แต่ไทยยังมีแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงและอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น
ขณะที่ การส่งออก ไทยขยายตัวแต่เป็นการขยายตัวจากฐานที่ต่ำในปีก่อนหน้า และเริ่มเห็นการหดตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าในเกือบทุกกลุ่มสินค้าหลักและในตลาดสำคัญ ซึ่งการส่งออกจะเป็นตัวหนึ่งที่ได้รับผลจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว เช่นเดียวกับทิศทางการลงทุนและการผลิตที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก
น้ำท่วมทำพื้นที่เกษตรพัง 1.9 ล้านไร่ มูลค่า 1.2 หมื่นล้านบาท
ส่วน สถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในปีนี้ EIC ประเมินว่า ในกรณีผลกระทบจะไม่รุนแรงเท่าในปี 2554 โดยเบื้องต้นคาดว่าพื้นที่เกษตรจะได้รับผลกระทบ 1.9 ล้านไร่ หรือคิดเป็นมูลค่าความเสียหายประมาณ 12,000 ล้านบาท และถ้าขยายวงกว้างมากขึ้น รุนแรงมากขึ้น ก็ต้องไปดูว่า ภาคอุตสาหกรรม ภาคการค้า และการท่องเที่ยวจะได้รับผลกระทบตามมามากน้อยเพียงใด
เงินเฟ้อทั่วไปผ่านจุดสูงสุดแล้ว
จากราคาหมวดพลังงานที่ปรับชะลอลง แต่เงินเฟ้อขยายวงกว้างไปสินค้าหลายประเภทมากขึ้นทำให้เงินเฟ้อพื้นฐานยังทรงตัวสูงกว่ากรอบเป้าหมาย ในระยะต่อไปคาดว่าเงินเฟ้อจะปรับลดลงอย่างช้า ๆ โดยจะเห็นการส่งผ่านต้นทุนจากผู้ผลิตสู่ราคาผู้บริโภคมากขึ้น
ดอกเบี้ยยัง “ขาขึ้น” ปลายปีแตะ 2%
สำหรับอัตราดอกเบี้ยยังขาขึ้น โดย กนง.จะทยอยขึ้นดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไป ชสู่ระดับ 2% ช่วงสิ้นปี 2566 เนื่องจากเงินเฟ้อมีแนวโน้มผ่านจุดสูงสุดแล้ว แม้จะไม่ปรับลดลงเร็วนัก รวมถึงเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง
ปี 2566 ขึ้นดอกเบี้ยอีก 3 ครั้ง
เพื่อให้นโยบายการเงินทยอยกลับสู่ระดับที่เหมาะสมกับการเติบโตของเศรษฐกิจไทยระยะยาว โดย EIC คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะกลับไประดับ Pre-COVID ได้ในช่วงกลางปี 2566 แต่จะอยู่ต่ำกว่าระดับศักยภาพไปอีก 1-2 ปี จากแผลเป็นเศรษฐกิจที่ลึกและมีหนี้สูงขึ้น
ข้อมูล : Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์