1.กำหนดจุดหมายปลายทาง
ตั้งคำถามกับตัวเอง ถามเพื่อนร่วมทริป อยากไปที่ไหน ไปเมื่อไหร่ กี่วัน เมื่อสรุปจุดหมายปลายทางได้แล้ว และเหมาะสมกับงบประมาณที่แต่ละคนไหว พอที่จะเก็บจากเงินค่าขนมได้แบบไม่เดือดร้อน เกินตัว ก็เริ่มต้นวางแผนกันเลย
คนไทยพร้อม!เก็บกระเป๋าเที่ยว อย่างน้อย 1 ครั้ง แม้รายได้ลดลง
7 วิธี หยุดยาววางแผนเที่ยว ทั้งสนุก คุมงบอยู่ แถมเหลือเก็บ
2.คำนวณค่าใช้จ่ายในทริป
อันนี้ถ้าไปกับเดอะแก๊ง รวมตัวคุยกันเลยตั้งแต่เริ่มเดินทางจะยิ่งสมัยนี้มีรีวิว มีเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน เพจต่างๆ ให้เปรียบเทียบเพียบ ทั้งเรื่องราคาและคุณภาพ บางแห่งมีตัวอย่างแผนท่องเที่ยวบอกค่าใช้จ่ายอย่างละเอียดยิบ
ถ้านำมาปรับใช้กับแผนเที่ยวของเราก็จะง่ายขึ้นในการคำนวณค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ค่าเดินทาง (ค่าตั๋วเครื่องบิน ค่าตั๋วรถโดยสารสาธารณะ) ค่าที่พัก ค่าอาหารในแต่ละวัน ค่าใช้จ่ายจิปาถะต่าง ๆ (ค่า Internet Sim Card ค่าตั๋วเข้าชมสถานที่สำคัญ ค่าของที่ระลึก ฯลฯ) ค่าประกันภัยการเดินทาง ค่าช้อปปิง (มีหรือไม่มีก็ได้) และเงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน
3.วางแผนเก็บเงิน
หากใครที่มีเงินออมมาบ้างแล้ว ก็เอามาหักลบกับงบค่าทริปที่ตั้งไว้ แล้วคำนวณว่า เวลาที่มีอยู่ก่อนถึงวันไปเที่ยว เราจะต้องออมเงินเพิ่มอีกเดือนละเท่าไร หากคำนวณแล้วสามารถออมเงินเพิ่มได้ตามนั้น ก็ลงมือออมตามแผนได้เลย
แต่ถ้าจำนวนเงินมากเกินไปจนไม่น่าจะออมได้แน่ ๆ ก็มีทางเลือกในการแก้ไขปัญหาดังนี้
วิธีแรกที่ทำได้ทันที คือ ลดค่าใช้จ่าย เริ่มจากลดค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันที่ไม่จำเป็น เพื่อให้มีเงินออมเพิ่มได้ และดูว่าในทริปมีอะไรที่ปรับลดได้บ้าง เช่น ที่พักราคาสูงเกินไป เงินใช้จิปาถะมากเกินไป เป็นต้น
ขยายเวลาเงินออมให้นานขึ้น เพื่อให้จำนวนเงินออมต่อเดือนลดน้อยลงโดยลองดูว่าจะทันกับช่วงที่จะไปเที่ยวหรือไม่ เช่น ตั้งใจไปเล่นสกี ตะลุยหิมะ ช่วงฤดูหนาว
หารายได้เสริม เช่น ขายของออนไลน์ เสื้อผ้า ของใช้มือสอง หรือทำงาน Part -Time งานฟรีแลนซ์ในสายงานที่เราเรียนมา บางทีอาจต่อยอดสู่อาชีพในอนาคตได้ด้วย
และเพื่อไม่ให้การเงินของเราถูกกิเลสอื่นๆ มายั่วยวนให้ผิดแผน การออมเงินในบัญชีออมทรัพย์ที่ฝากจะถอนเมื่อไหร่ก็ได้ หรือ กองทุนรวม
- การออมในบัญชีเงินฝากประจำ ควรเลือกระยะเวลาให้สอดคล้องกับแผนการออมของเรา เช่น หากเราจะไปเที่ยวในอีก 10 เดือนข้างหน้า ก็ควรเลือกเป็นบัญชีเงินฝากประจำ 6 เดือนหรือต่ำกว่านั้น เพื่อให้เหลือระยะเวลาที่จะต้องนำเงินออกมาจ่ายค่าตั๋วเครื่องบินและที่พัก
- ลงทุนผ่านกองทุนรวม ควรศึกษานโยบายลงทุนและเงื่อนไขของกองทุนรวมประเภทต่าง ๆ จากหนังสือชี้ชวน ก่อนตัดสินใจเลือกซื้อตามความเสี่ยงที่เราสามารถรับได้ เพื่อสร้างโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนมากกว่าเงินฝาก
ในกรณี หากเราวางแผนท่องเที่ยวไว้ในช่วงระยะเวลาอีกไม่นาน ก็ไม่ควรเลือกซื้อกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงมากนัก เพราะเราต้องการออมเงินและรักษาเงินต้นไว้มากกว่าการคาดหวังว่าจะได้รับผลตอบแทนที่สูง ดังนั้น จึงควรเลือกกองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น กองทุนรวมพันธบัตรรัฐบาล หรือกองทุนรวมตลาดเงิน เป็นต้น
เมื่อเราลงทุนในกองทุนรวมได้ครบตามกำหนดที่เราวางแผนไว้ ก็ค่อยขายกองทุนนำเงินออกมาใช้ในทริปที่ตั้งใจไว้ ดีไม่ดีก็จะได้เงินกำไรเพิ่มจากการลงทุนมาเป็น Pocket Money ให้ไปเที่ยวอย่างสบายใจไร้กังวลขึ้นอีกด้วย
เมื่อถึงวันที่เราพร้อม หรือ ก๊วนเพื่อนพร้อม ก็เตรียมเก็บกระเป๋าแบกเป้ ท่องโลกกันเลย
ที่มา : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย