นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ BOI เปิดเผยในการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทยไปสู่ "เศรษฐกิจใหม่" 3 ด้าน ได้แก่ Innovation นวัตกรรม Competitive การแข่งขัน และ Inclusive ความยั่งยืน เช่น การส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า ประเทศไทยถือเป็นประเทศแรกที่มีมาตรการส่งเสริมแบบครบวงจร ให้ทั้งผู้ผลิต ให้ทั้งผู้ซื้อ กระตุ้นให้เกิดการลงทุนจริง
กองทัพรัสเซียสังหารนักดนตรี หลังปฏิเสธไม่เล่นคอนเสิร์ตในเคอร์ซอน
ไฟแนนซ์ หวั่นลูกค้าชะลอซื้อรถ หลังมีประกาศอัตราดอกเบี้ยเช่าซื้อรถฉบับใหม่
และในเร็วๆ นี้จะมีมาตรการสนับสนุนที่ชาร์จยานยนต์ไฟฟ้า กับอุตสาหกรรมแบตเตอร์รี่เพิ่มเติมด้วย รวมถึงได้หารือกับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ชิปเซ็ตต่างๆ ทั้ง TSMC จากไต้หวัน จีน อเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลี BOI ได้เข้าไปคุยกับรายใหญ่ทุกเจ้า และมีโอกาสเข้ามาในประเทศไทยได้เช่นกัน
ขณะที่เป้าหมายการส่งเสริมการลงทุนปีนี้ จะใกล้เคียงกับปีก่อนราว 600,000 ล้านบาท และปีหน้าตั้งเป้าว่าจะต้องไม่ต่ำกว่า 600,000 ล้านบาท พร้อมให้ความเชื่อมั่นว่าเมื่อมีการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทย จะส่งผลให้ขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศปรับเพิ่มขึ้นได้ตามไปด้วย
เลขาธิการ BOI ย้ำว่า ปัจจัยที่ต่างชาติจะเลือกแหล่งการลงทุน ไม่ได้เหมือนในอดีตแล้ว ทุกวันนี้ต้องดูปัจจัยอย่างสงครามการค้า ความขัดแย้งระหว่างประเทศ ความยืดหยุ่นซัพพลายเชน ซึ่งประเทศไทยมีความพร้อมทั้งโครงสร้างพื้นฐาน ความสามารถจัดหาพลังงานสะอาด มีความยืดหยุ่น เหมือนกับช่วงโควิดที่ยังสามารถผลิตสินค้าได้ต่อเนื่อง และมีความสัมพันธ์ที่ดีกับต่างประเทศ โอกาสของประเทศไทยจึงเปิดกว้างในการดึงดูดการลงทุน
ส่วนปัจจัยการเมือง นักลงทุนต่างชาติไม่ได้คำนึงถึงปัจจัยทางการเมืองมากนัก หากปัจจัยทางธุรกิจเอื้อกับการลงทุนของเขา ทั้ง ซัพพลายเชน สิทธิประโยชน์ ซึ่งนักลงทุนที่อยู่ในไทยมานานๆ เข้าใจดีอยู่แล้วว่าในประเทศไทยเองไม่ว่าการเมืองจะเปลี่ยนไปแค่ไหน ก็ไม่กระทบต่อการดำเนินธุรกิจอยู่แล้ว
สำหรับสถิติคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนในช่วง 9 เดือน ตั้งแต่มกราคม ถึงกันยายน 2565 มีการขอรับการส่งเสริมการลงทุน 1,247 โครงการ มูลค่ารวม 439,090 ล้านบาท ลดลง 14% จากปีก่อน ส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมยานยนต์-ชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมเกษตร อาหาร ปิโตรเคมี-เคมีภัณฑ์ ด้านการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศหรือ FDI อยู่ที่ 270,000 ล้านบาท เป็นการลงทุนจากจีนมากที่สุด 45,000 ล้านบาท รองลงมาเป็นไต้หวัน 39,000 ล้านบาท และญี่ปุ่น 37,000 ล้านบาท