ส่องเศรษฐกิจ 4 ภาค เหนือจรดใต้ทยอย "ฟื้นตัว"


โดย PPTV Online

เผยแพร่




เมื่อโรคระบาด (โควิด-19) แผ่วบางลงในระดับที่รัฐบาลเริ่มผ่อนคลายมาตรการต่างๆ มากขึ้นจนเปิดประเทศ และเริ่มใส่คันเร่งภาคการท่องเที่ยว ทำให้กำลังเป็นแรงผลักดันไปถึงเศรษฐกิจในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศทยอยกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง

ตัวชี้วัดที่เห็นว่าเศรษฐกิจในแต่ละภาคของประเทศเริ่มทยอยฟื้นตัว คือ ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทยแสดงให้เห็นว่าเมื่อเทียบระหว่างเดือน ส.ค. กับ ก.ย. 2565 เศรษฐกิจภูมิภาคโดยรวม ทยอยฟื้นตัวต่อเนื่อง มาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายภาครัฐส่งผลดีต่อการใช้จ่ายและการจ้างงาน ขณะที่การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและการจัดกิจกรรมในพื้นที่ โดยเฉพาะในภาคใต้และภาคเหนือ ส่งผลให้ความต้องการแรงงานในธุรกิจที่เกี่ยวข้องเพิ่มขึ้น สนับสนุนกำลังซื้อภายในพื้นที่ 

เปิด 3 เหตุผล เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวต่อ หนุนเงินทุนไหลเข้า สวนยุโรปถดถอย

"สงคราม เงินเฟ้อ ทำให้ย้ำแย่ลง" 750 ล้านคนทั่วโลก เผชิญขาดสารอาหาร

ข้อมูลจาก : ธนาคารแห่งประเทศไทย

เมื่อดูตามรายภาค เริ่มที่ "ภาคเหนือ" ในช่วงฤดูหนาวแบบนี้โซนเหนือคือ จุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะภายในประเทศ ทำให้ภาคเหนือมีทิศทางที่ดีขึ้น การเดินทางทั้งทางบกและอากาศใกล้เคียงกับเดือนก่อน  การท่องเที่ยวมีแรงหนุนจากการจัดกิจกรรมภายใน พื้นที่ เช่น การจัดงานแข่งกีฬาฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ใน จ.เชียงใหม่ และเมื่อเริ่มเข้าสู่ช่วง high season ยอดจองห้องพักล่วงหน้าที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลไปถึงความต้องการแรงงาน เพิ่มขึ้น สะท้อนจากตำแหน่งงานเปิดรับใหม่ และความเชื่อมั่นการจ้างงานที่สูงขึ้นในภาคบริการ ร้านอาหารและโรงแรม ตามกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว และการจัดงานอีเวนท์ภายในพื้นที่ที่ทยอยกลับมา ขณะที่การใช้จ่าย เพิ่มขึ้น ตามการท่องเที่ยว กิจกรรมเศรษฐกิจที่ทยอยฟื้นตัว และมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐ  

"ภาคอีสาน" ช่วงหยุดยาวหมดลงแรงกระตุ้นมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวทยอยสิ้นสุดลง สะท้อนจากการเดินทางทางอากาศที่ชะลอลงบ้าง แต่ภาพรวมการท่องเที่ยวโดยรวมยังอยู่ในเกณฑ์ดี อานิสงส์จาก การจัดประชุมสัมมนาและการเดินทางมาร่วมกิจกรรมการ แข่งขันรถจักรยานยนต์รายการโมโต จีพี ใน จ.บุรีรัมย์ ช่วงปลายเดือน ความต้องการแรงงานเพิ่มขึ้น ตามภาคการผลิตเพื่อการส่งออกเป็นสำคัญทั้ง ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะกลุ่มยานยนต์ แรงงานเริ่มกลับมาทำงานหลักแหล่งเดิม หลังช่วงโควิด-19 แรงงานคืนถิ่นจำนวนมาก รวมถึงการรับแรงงานใหม่ทดแทนแรงงานเดิม

ขณะที่ การใช้จ่าย ทรงตัว ตามความเชื่อมั่น แม้จะมีมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐ แต่ค่าครองชีพยังสูง รวมถึงเกษตรกรบางส่วนต้องสำรองเงินเพื่อเตรียมเพาะปลูก 

"ภาคใต้"  จุดหมายปลายทางระดับโลกรวมอยู่ในภาคนี้ ทะเลภาคใต้สวยจนนักท่องเที่ยวต่างชาติต้องเดินทางมาสมัผัสสักครั้ง ยิ่งกำลังเข้าสู่ช่วง highseason แบบนี้ นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาต่อเนื่อง และกลุ้มประชุมสัมมนาในพื้นที่เพิ่มมากขึ้น แม้ว่ากลุ่มนักท่องเที่ยวไทยจะแผ่วลงบ้าง สะท้อนจากการเดินทางทาง
อากาศที่ชะลอลง แต่คาดว่าช่วง highseason จะยิ่งขยายตัวจากอัตราการจองห้องพักล่วงหน้าที่เพิ่มสูงขึ้น

ขณะที่ความต้องการแรงงานเิ่มขึ้นตามกิจกรรมการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัว ดันภาคธุรกิจบริการท่องเที่ยว ธุรกิจขนส่งทำให้ต้องการแรงงานเพิ่มขึ้น 

 

 
 
 

 

นอกจากนี้ ในภาคการเกษตรปีนี้ไทยไม่ค่อยเผชิญกับภัยแล้ง เพราะปริมาณน้ำฝนมากกว่าปกติ จากอิทธิพลของพายุ “โนรู” ในช่วงปลายเดือนที่พาดผ่านภาคอีสานตอนกลางของประเทศ ส่งผลทำให้เกิดน้ำท่วมในบางพื้นที่โดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มแม่น้ำชีและมูล กระทบต่อผลผลิตเกษตรโดยเฉพาะข้าวในภาคอีสานใต้ที่อยู่ในช่วงกำลังออกรวง แต่ผลกระทบยังอยู่ในวงจำกัด 

ส่งผลต่อ "ราคาสินค้าเกษตรสำคัญ" ซึ่งโดยรวมทรงตัว ทั้งข้าวเปลือกเจ้า ตามอุปสงค์ต่างประเทศ และอุปทานโลกที่ลดลงจากการจำกัดการส่งออกของอินเดีย  มันสำปะหลัง ตามความต้องการไปทำอาหารสัตว์และพลังงานในตลาดโลกที่มากขึ้น ขณะที่กุ้งขาว ตามปริมาณที่ลดลงจากสภาพอากาศแปรปรวน 

ราคาสินค้าที่ยังมีทิศทางลดลง ได้แก่   ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และลำไย ตามผลผลิตที่ออกสู่ตลาดเพิ่มมากขึ้น ปาล์มน้ำมัน จากผลผลิตในตลาดโลกที่มากขึ้น ยางพารา ตามเศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้า
ที่ชะลอลง

TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ