ไขข้อสงสัย "จำนวนคนไทยจนเพิ่มขึ้น" จริงหรือ?


โดย PPTV Online

เผยแพร่




สภาพัฒน์ชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับรายงานของธนาคารโลก ถึงความยากจน ความแตกต่างกันของความยากจนระหว่างพื้นที่ และความเหลื่อมล้ำของรายได้ในประเทศไทย

นายดนุชา  พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เปิดเผยว่า ตามรายงานของธนาคารโลก “Thailand Rural Income Diagnostic: Challenges and Opportunities for Rural Farmers” ระบุถึงความยากจน ความแตกต่างกันของความยากจนระหว่างพื้นที่ และสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำของรายได้ในประเทศไทยนั้น

ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ "แทบไม่ขยับ" ตลาดรอตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐ

อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง "ต่างด้าวครองที่ดินได้"

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ขอชี้แจงถึงข้อเท็จจริงตามประเด็นต่าง ๆ ที่รายงานฉบับนี้ได้รายงานไว้ โดยสรุปดังนี้

ความยากจนและผลกระทบโควิด-19

ในปี 2563 เศรษฐกิจไทยหดตัวถึง 6.2% ส่งผลทำให้มีผู้ว่างงานจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น  6.5 แสนคน หรือเพิ่มขึ้น  74.4%  (อัตราการว่างงานเพิ่มสูงขึ้นจาก 1% เป็น 1.69%) ส่งผลทำให้สัดส่วนของคนจนเพิ่มขึ้นจาก  6.26% ในปี 2562 4.3 ล้านคน เป็น 4.7 ล้านคน หรือ 6.83%  ในปี 2563 ในปี 2564

แต่สถานการณ์ความยากจนปรับตัวดีขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว โดยสัดส่วนคนจนลดลงมาอยู่ที่  6.32%  เหลือ  4.4 ล้านคน เท่านั้น 

นอกจากนั้นแล้ว ยังพบว่า ผู้ที่กลับภูมิลำเนาส่วนใหญ่มักไปประกอบอาชีพเกี่ยวกับการเกษตร โดยภาคเกษตรดูดซับประชากรที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 มากที่สุด

แต่ในช่วงปี 2563 ภาคเกษตรได้รับอานิสงค์จากราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น ดูจากข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรในปี 2563 พบว่า ภาพรวมการผลิตสินค้าเกษตรของเกษตรกรลดลงจากในช่วงต้นของการระบาดของโควิด-19 ที่มีการจำกัดการเดินทางระหว่างพื้นที่

อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาดังกล่าวราคาสินค้าเกษตรปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉลี่ยในปี 2563 ราคาขยายตัวสูงขึ้น 6.05% และส่งผลให้ ในปี 2563 เกษตรกรมีรายได้ดีขึ้นสะท้อนจากดัชนีรายได้ของเกษตรกรเพิ่มขึ้น  2.27% 

 

ต่อมามาดูที่รายได้ต่อหัวระหว่างปี 2562 และ 2564 พบว่า คนที่อาศัยนอกเขตเทศบาลเป็นกลุ่มที่มีรายได้ เพิ่มขึ้น มากกว่าคนที่อาศัยในเขตเทศบาล

ในปี 2562 รายได้เฉลี่ยของคนที่อาศัยนอกเขตเทศบาลอยู่ที่ 7,588 บาท ต่อคนต่อเดือน และเพิ่มขึ้นเป็น 8,130 บาทต่อคนต่อเดือนในปี 2564 หรือคิดเป็นการเพิ่มขึ้น  7.14%

ขณะที่คนที่อาศัยในเขตเมืองมีรายได้อยู่ที่ 11,712 บาทต่อคนต่อเดือนในปี 2562 และเพิ่มเป็น 12,018 บาทต่อคนต่อเดือนในปี 2564 หรือเพิ่มขึ้น 2.61% เท่านั้น

ภาคใต้มีปัญหาความยากจนสูงสุด

และเมื่อพิจารณาเป็นรายภูมิภาค พบว่า ภาคใต้เป็นภูมิภาคที่มีปัญหาความยากจนสูงที่สุด โดยมีสัดส่วนคนจน 11.6% (จำนวนคนจน 1.1 ล้านคน) รองลงมาเป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคกลาง และกรุงเทพมหานคร โดยมีสัดส่วนคนจน  11.5%, 6.84%, 3.24% และ 0.49% ตามลำดับ 

ในส่วนของความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ พิจารณาจากค่าสัมประสิทธิความไม่เสมอภาคจินี มีแนวโน้มลดลง

อย่างไรก็ตามจากผลกระทบของโควิด-19 ทำให้ในปี 2564 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 0.429 ในปี 2562 เป็น 0.430 หากพิจารณาเปรียบเทียบในกลุ่มภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก จากข้อมูลที่ปรากฏในฐานข้อมูลของธนาคารโลก พบว่า ไทยมีความเหลื่อมล้ำด้านรายได้สูงเป็นอันดับ 4 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก

สำหรับรายงานของ ธนาคารโลก ระบุว่า รายงานการวิเคราะห์รายได้ในชนบท – โอกาสและความท้าทายของเกษตรกร (Rural Income Diagnostic-Challenges and Opportunities for Rural Farmers) ในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา อัตราความยากจนเริ่มลดลงจาก 58% ในปี 2533 เป็น 6.8% ในปี 2563 (วัดจาก upper-middle income poverty line ที่ 5.50 ดอลลาร์ต่อวัน) โดยได้รับแรงหนุนจากอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงและการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง อย่างไรก็ตาม 79% ของคนยากจนยังคงอยู่ในพื้นที่ชนบทและส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม

และวิกฤติโควิด-19 ในปี 2563 อัตราความยากจนในพื้นที่ชนบทสูงกว่าในเขตเมืองมากกว่า 3% และจำนวนคนจนในชนบทมีจำนวนมากกว่าคนจนในเมืองเกือบ 2.3 ล้านคน การกระจายความยากจนยังมีความแตกต่างในแต่ละภูมิภาค โดยอัตราความยากจนในภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงเหนือสูงเป็นสองเท่าของอัตราความยากจนเฉลี่ยของประเทศ

 

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์


TOP เศรษฐกิจ

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ