หนี้ครัวเรือนไทยไตรมาสสอง 14.76 ล้านล้านบาทโต 3.5%


โดย PPTV Online

เผยแพร่




หนี้ครัวเรือนไทยไตรมาส 2 สูง 14.76 ล้านล้านบาท ยังขยายตัว 3.5% แต่ต่ำกว่าก่อนเกิดโควิด-19 เพิ่มช้าสุดในรอบ 18 ปี

หนี้ครัวเรือน ยังเป็นเรื่องที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด แม้ว่าจะขยายตัวต่ำกว่าค่าเฉลี่ยก่อนเกิดวิกฤติโควิดและเพิ่มช้าสุดในรอบ 18 ปี โดยสัดส่วนหนี้ครัวเรือนไทยต่อ GDP ลดลงต่อเนื่องมาอยู่ที่ 88.2% แต่ในไตรมาส 2 ปีนี้ ยังขยายตัว 3.5% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า อยู่ที่  14.76 ล้านล้านบาท 

เงินเฟ้อพุ่งไม่หยุด คาด เฟด ขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.75% ปีหน้าเตรียมรับมือ ศก.ถดถอย

ต.ค. 65 ต่างชาติช้อปหุ้นไทย 8.6 พันล้านบาท ดันเงินทุนไหลเข้าตลาดฯ

ซึ่งเป็นผลมาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังผ่อนคลายนโยบายควบคุมโรคและเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ รวมถึงผลด้านราคาที่ปรับสูงขึ้นมากในปีนี้

คนไทยหนี้ยังสูง ยอดบัตรเครดิตพุ่ง หนี้เสียแตะ 4 แสนล้านบาท

นอกจากนั้น การขยายตัวของสินเชื่อครัวเรือนในระบบธนาคารพาณิชย์ในไตรมาส 2 พบว่า ชะลอลงเกือบทุกหมวด โดยเฉพาะสินเชื่อที่อยู่อาศัย สำหรับสินเชื่อส่วนบุคคลแม้จะชะลอลงบ้าง แต่ถือว่ายังขยายตัวสูง ส่วนหนึ่งสะท้อนแนวโน้มการกู้ยืมเพื่อใช้จ่ายทดแทนการขาดสภาพคล่องและในภาวะรายได้ฟื้นตัวไม่ทันรายจ่าย ขณะที่สินเชื่อบัตรเครดิตขยายตัวเร่งขึ้นจากการใช้จ่ายที่ฟื้นตัว

รายได้ฟื้นช้ากว่ารายจ่าย จะเป็นปัจจัยกดดันปัญหาหนี้ครัวเรือนไทยในระยะถัดไป

ช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ค่าครองชีพคนไทยสูงขึ้นต่อเนื่องสวนทางกับรายได้ที่ส่วนใหญ่ยังไม่เพิ่มขึ้น เกือบ 2 ใน 3 ยังมีรายได้ไม่เท่ากับก่อนเกิดโควิด-19 ซึ่งกลุ่มรายได้น้อยฟื้นช้ากว่ารายได้สูง ในช่วง 6 เดือนข้างหน้าผู้บริโภค 43.8% คาดว่ารายได้จะโตไม่ทันรายจ่าย

ส่งผลให้ต้องเผชิญปัญหา 3 ด้าน ได้แก่

  • ปัญหารายได้ไม่พอรายจ่าย
  • ปัญหาเงินออมลดลง
  • ปัญหาการชำระหนี้

ทำให้ครัวเรือนเหล่านี้มีสภาพคล่องรองรับค่อนข้างน้อย และมีความเสี่ยงที่จะก่อหนี้เพิ่มขึ้นในอนาคต

EIC ไทยพาณิชย์ ประเมินว่า สัดส่วนหนี้ครัวเรือนไทยต่อ GDP จะปรับลดลงต่อเนื่องอยู่ที่ 86-87% ณ สิ้นปี 2022 ผลจากแนวโน้มเงินเฟ้อสูงเป็นหลัก สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ที่มีแนวโน้มลดลง จะไม่สะท้อนปัญหายอดคงค้างหนี้ครัวเรือนในภาพรวมที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในระยะข้างหน้าได้ ท่ามกลางภาวะรายได้โตช้ากว่ารายจ่ายของครัวเรือนบางกลุ่มและวัฎจักรดอกเบี้ยขาขึ้น

 

 

 

มาตรการแก้ไขหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืนยังเป็นเรื่องท้าทาย

หนี้ครัวเรือนเป็นปัญหาหยั่งรากลึกในเศรษฐกิจไทยยาวนาน นับเป็นความท้าทายสำหรับภาครัฐที่จะแก้ไขปัญหานี้ให้ได้อย่างยั่งยืนและสามารถลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ได้สำเร็จในระยะข้างหน้า ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้งภาครัฐ สถาบันการเงิน รวมถึงครัวเรือน มุ่งจัดการปัญหาหนี้ครัวเรือนทั้งระบบตั้งแต่ก่อนเป็นหนี้จนถึงการชำระหนี้ค้าง

โดยยึดหลัก “ลดก่อ (หนี้) ชะลอรายจ่าย สร้างรายได้ยั่งยืน” เริ่มตั้งแต่นโยบายปัจจุบันที่ภาครัฐสนับสนุนมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ให้สอดคล้องกับกระแสรายได้ในอนาคตของลูกหนี้ นโยบายระยะปานกลางมุ่งส่งเสริมวินัยการเงินและสร้างความรู้ทางการเงิน เพื่อลดการก่อหนี้เกินตัวในอนาคต ลดการพึ่งพาหนี้นอกระบบ และเพิ่มโอกาสเข้าถึงหนี้ในระบบ รวมถึงนโยบายระยะยาวส่งเสริมทักษะและโอกาสในการแข่งขันของแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด เพื่อเพิ่มรายได้ให้เพียงพอค่าใช้จ่ายและภาระหนี้ที่สูงขึ้น

 

ที่มา : การสำรวจความคิดเห็นผู้บริโภคของ EIC (EIC Consumer survey) ผ่านช่องทางออนไลน์ SurveyMonkey ระหว่างวันที่ 8 ถึง 22 กรกฎาคม 2022 มีผู้ตอบแบบสอบถามครบถ้วนทั้งสิ้น 2,676 คน

 

คอนเทนต์แนะนำ
การตรวจสุขภาพเชิงป้องกัน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของทุกคน
"แซนดี้" คว้าแชมป์เรซแรก ศึกไทยแลนด์ ซูเปอร์ซีรีส์ สนามที่ 3 บุรีรัมย์
"เคน" รอคุยสัญญาใหม่หลังฟุตบอลโลก
“อดีตทหารหญิงรับใช้” เข้าพบ DSI ให้ข้อมูลเพิ่มปมค้ามนุษย์

TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ