นศ.-พนง.เอกชน-รัฐ นิยมรับประทานอาหารนอกบ้านสูงที่สุด
คมนาคม ไฟเขียว "ขึ้นค่าแท็กซี่" เฉพาะกทม.จำนวน 8 หมื่นคัน
คนซื้อบ้านกลุ่มไหน? ได้รับผลกระทบแบงก์ชาติเลิกผ่อนคลาย LTV
ความถี่ในการรับประทานอาหารนอกบ้าน เกือบทุกอาชีพและช่วงรายได้ไปรับประทาน 1-2 ครั้ง/เดือน โดยเฉพาะพนักงานของรัฐ ผู้ประกอบการ อาชีพอิสระ และผู้มีรายได้สูงกว่า 30,000 บาท/เดือน
แต่ เป็นที่น่าสังเกตว่า นักศึกษา พนักงานเอกชน พนักงานของรัฐ และผู้ที่มีรายได้ระหว่าง 20,001-50,000 บาท/เดือน จะนิยมรับประทานอาหารนอกบ้าน (มากกว่า 1-2 ครั้ง/เดือน) ในสัดส่วน ที่สูงกว่ากลุ่มอาชีพและช่วงรายได้อื่น
ขณะที่เกษตรกร ผู้ไม่ได้ทำงาน/บำนาญ และผู้ที่มีรายได้ไม่เกิน 10,000 บาท/เดือน จะไม่นิยมรับประทานอาหารนอกบ้าน
ส่องค่าใช้จ่ายมากสุดรายได้น้อยกว่า 5,000 บาท ซึ่งไม่เกิน 100/คน/มื้อ
ถ้าไปดูค่าใช้จ่ายในการรับประทานอาหารนอกบ้าน เกือบทุกอาชีพและช่วงรายได้มีค่าใช้จ่ายไม่เกิน 300 บาท/คน/มื้อ ยกเว้นเกษตรกร ผู้ไม่ได้ทำงาน/บำนาญ ที่มีสัดส่วนไม่มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าอาชีพอื่น และทั้ง 2 อาชีพส่วนใหญ่ก็ไม่นิยมรับประทานอาหารนอกบ้านเช่นกัน
แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า ผู้ที่มีรายได้ไม่เกิน 5,000 บาท/เดือน มีค่าใช้จ่ายไม่เกิน 100 บาท/คน/มื้อ ในสัดส่วนที่สูงกว่าช่วงรายได้อื่น และผู้ที่มีรายได้มากกว่า 40,000 บาท/เดือน จะมีค่าใช้จ่ายมากกว่า 300 บาท/คน/มื้อ
ร้านทั่วไป-สตรีทฟู้ดยังฮอต
ส่วนใหญ่กลุ่มที่รับประทานอาหารนอกบ้าน นิยมไปร้านอาหารทั่วไปและริมบาทวิถี แต่ร้านระดับหรูมีแนวโน้มลดลงในทุกสาขาอาชีพและช่วงรายได้ เช่นเดียวกับร้านระดับกลางมีแนวโน้มลดลงในเกือบทุกสาขาอาชีพเช่นกัน ยกเว้นพนักงานของรัฐ และลดลงเฉพาะในกลุ่มผู้มีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท/เดือน
จึงเป็นที่น่าสังเกตว่า กลุ่มพนักงานของรัฐ ลดการรับประทานอาหารเฉพาะร้านระดับหรู แต่ยังคงรับประทานอาหารในร้านประเภทอื่นตามเดิม
ขณะที่เกษตรกร ลดการรับประทานอาหารนอกบ้านเกือบทุกประเภทยกเว้นร้านริมบาทวิถี และกลุ่มผู้ไม่ได้ทำงาน/บำนาญ ลดการรับประทานอาหารนอกบ้านในร้านอาหารทุกประเภท
จากเทรนด์ดังกล่าวสะท้อนว่า ผู้มีรายได้น้อยปรับลดและหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารนอกบ้าน แสดงถึงวิถีชีวิตของประชาชนในปัจจุบันที่ใช้จ่ายโดยคำนึงถึงความประหยัดและคุ้มค่ามากขึ้น ขณะที่การออกไปรับประทานอาหารนอกบ้านมีไม่บ่อยนัก โดยนิยมรับประทานอาหารในร้านอาหารทั่วไปและริมบาทวิถี ส่วนร้านระดับหรูและปานกลางมีแนวโน้มลดลง
ที่มา : สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า ผลการสำรวจประชาชนในช่วงเดือนกันยายน 2565 จำนวน 7,188 คน ทุกอำเภอทั่วประเทศ เกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารในบ้าน-นอกบ้าน หลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย