ทันทีที่กระทรวงพาณิชย์ ประกาศตัวเลขการส่งออกเดือน ต.ค.2565 ออกมาหดตัวครั้งแรกในรอบ 20 เดือน และรุนแรงสุดในรอบ 2 ปี มูลค่าการส่งออกสินค้าของไทยในเดือนตุลาคมอยู่ที่ 21,772.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัว -4.4% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และชะลอตัวลงมากจากเดือนก่อนที่ยังขยายตัวได้ 7.8%
ส่งออก ต.ค. 65 หดตัว 4.4% พิษเงินเฟ้อสูงทำคู่ค้าชะลอ
จับเทรนด์ธุรกิจรุ่งและมาแรง ปี 2566 รู้ก่อน รวยก่อน
โดย EIC ธนาคารไทยพาณิชย์ มองว่า การส่งออกสินค้าไทยมีแนวโน้มชะลอตัวลงต่อเนื่องตามทิศทางเศรษฐกิจโลก และคาดขยายตัวได้เพียง 1.2% ในปี 2023
โดยแนวโน้มการส่งออกสินค้าของไทยในระยะถัดไปดูไม่ค่อยสดใสนัก เนื่องจากเศรษฐกิจโลกมีทิศทางชะลอลงมาก จึงประเมินว่า เศรษฐกิจบางประเทศหลักมีแนวโน้มเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย โดยสหภาพยุโรปและสหราชอาณาจักรจะเข้าสู่ภาวะถดถอยตั้งแต่ปลายปีนี้ ตามด้วยเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอยในช่วงครึ่งหลังของปี 2023
ซึ่ง การส่งออกไปยังตลาดหลักหดตัวรุนแรงเกือบทุกตลาดหลัก ยกเว้น CLMV
- ตลาดจีน เจอนโยบาย Zero COVID หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 อยู่ที่ -8.5%
- ตลาดสหรัฐฯ -0.9% ยุโรป (EU28) หดตัว -7.9% สอดคล้องกับสัญญาณเศรษฐกิจโลกที่จะชะลอตัวลงมากและความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศหลักทั้งสองที่เพิ่มขึ้น
- ตลาด CLMV ยังขยายตัวดีต่อเนื่อง 10.6% นอกจากนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า การส่งออกไปสวิตเซอร์แลนด์ขยายตัวมากในเดือนนี้ 103.5% ซึ่งสาเหตุหลักมาจากการส่งออกทองคำที่ขยายตัวถึง 159.8%
ขณะที่ สินค้าส่งออกหลักหดตัวทุกกลุ่ม ยกเว้นรถยนต์และส่วนประกอบ โดย
- สินค้าเกษตรหดตัว -4.3%
- สินค้าอุตสาหกรรมเกษตรหดตัว -2.3%
- สินค้าอุตสาหกรรมหดตัว -3.5%
- สินค้าแร่และเชื้อเพลิงหดตัว -23.9%
- การส่งออกทองคำยังไม่ขึ้นรูปขยายตัวมากถึง 56.9% ซึ่งจัดว่าเป็นสินค้าสนับสนุนการส่งออกที่สำคัญสุดในเดือนนี้
ส่วนดุลการค้าขาดดุลต่อเนื่อง มูลค่าการนำเข้าของไทยในเดือนตุลาคมอยู่ที่ 22,368,8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวครั้งแรกในรอบ 21 เดือนที่ -2.3% จากเดือนก่อนที่ขยายตัวสูง 15.6%
โดยสรุปแล้ว คือ หากไทยยังฝากความหวังเศรษฐกิจไทยไว้ที่ "ส่งออก" อาจไม่ใช่คำตอบนัก เพราะต้องเผชิญกับ เศรษฐกิจโลกที่เริ่มทำพิษ ตั้งแต่เดือน ต.ค. ซึ่งหดตัวแรงสุดในรอบ 2 ปี ทำให้ภาพส่งออกไทยปีหน้าดูไม่ค่อยสดใสนัก