เปิดตลาด “ค่าเงิน” รับ กระต่ายทอง "บาทแข็งขึ้นจากปีก่อนหน้า"


โดย PPTV Online

เผยแพร่




เปิดตลาดรับ กระต่ายทอง(Golden Rabbit) “ค่าเงินบาทแข็งขึ้น" จากปีก่อนหน้า 34.50 บาท/ดอลลาร์ จับตาตัวแรงงานสหรัฐฯ -โควิด-19 จีน

ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาด 34.50 บาท/ดอลลาร์  แข็งค่าจากราคาปิดตลาดเมื่อวันทำการสุดท้ายของปี 2565 ที่ระดับ 34.60 บาท/ดอลลาร์ 

เศรษฐกิจ ปี 2566 จะเป็นปีที่ยากลำบาก เมื่อมหาอำนาจล้วนอ่อนแอ

ครม.นัดแรกของปีกระต่าย แผนเฉพาะกิจแก้ปัญหา PM 2.5 ปี 66

โดยแนวโน้มค่าเงินบาท มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นในวันทำการแรกของปีกระต่ายทอง (Golden Rabbit)  ตามแรงเข้าซื้อระยะสั้นในทองคำซึ่งกลับขึ้นไปยืนเหนือบริเวณ 1,830 เหรียญเช้านี้

นอกจากนี้ เงินบาทยังได้ปัจจัยบวกจากการไหลเข้าของเงินทุนจากต่างชาติ โดยเมื่อวันทำการสุดท้ายปี 2565 นักลงทุนต่างชาติยังคงซื้อพันธบัตรและหุ้นไทยสุทธิอีกกว่า 13,000 ล้านบาท และ 4,000 ล้านบาทตามลำดับ

ส่วนในสัปดาห์นี้ ไฮไลท์สำคัญที่ต้องติดตาม คือ รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญสหรัฐฯ อาทิ ข้อมูลตลาดแรงงาน และ สถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ในจีน

ด้าน นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย ประเมินว่า แนวโน้มของค่าเงินบาทอาจแกว่งตัว Sideways แต่เงินบาทอาจเผชิญแรงกดดันฝั่งอ่อนค่าได้โดยเฉพาะในจังหวะที่ตลาดปิดรับความเสี่ยงและเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น

อย่างไรก็ดี เงินบาทจะไม่อ่อนค่าไปมาก เนื่องจากผู้ส่งออกบางส่วนต่างก็รอทยอยขายเงินดอลลาร์ ส่วนผู้เล่นต่างชาติก็รอจังหวะเพิ่มสถานะ Short USDTHB ตามความคาดหวังการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ผ่านภาคการท่องเที่ยว ซึ่งคาดว่ามุมมองดังกล่าวก็อาจสะท้อนผ่านฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติที่อาจเดินหน้าซื้อสุทธิหุ้นไทยในธีมเปิดเมืองได้บ้าง ทั้งนี้ในเชิงเทคนิคัล เงินบาทอาจแข็งค่าขึ้นใกล้โซนแนวรับ 34.25-34.30 บาทต่อดอลลาร์ได้เร็ว หากแข็งค่าหลุดระดับ 34.50 บาทต่อดอลลาร์

คอนเทนต์แนะนำ
ดูไบ ยกเลิกเก็บภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เชื่อจะช่วยดึงดูดนทท.และชาวต่างชาติ
จับตา "อียู" เตรียมถกคุมนักท่องเที่ยวจีน ด้านมาเลเซียเตรียมยกระดับขั้นสุด

โดยตลาดไทย มีผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกอาจทำให้ภาคการผลิตอุตสาหกรรมชะลอตัวลงมากขึ้น โดยดัชนี PMI ภาคการผลิตอุตสาหกรรมในเดือนธันวาคมอาจลดลงสู่ระดับ 50 จุด

ความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือนธันวาคมมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องสู่ระดับ 49 จุด ท่ามกลางความหวังการฟื้นตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจ หลังนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทยมากขึ้นต่อเนื่อง

ขณะที่การบริโภคในประเทศที่ฟื้นตัวดีขึ้นสอดคล้องกับการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยวและความเชื่อมั่นผู้บริโภคจะส่งผลให้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (CPI) ในเดือนธันวาคม เร่งขึ้นสู่ระดับ 5.9% (ส่วนหนึ่งมาจากผลของฐานราคาที่ต่ำในปี 2021) แต่อัตราเงินเฟ้อจะไม่ปรับตัวขึ้นไปมาก เนื่องจากราคาสินค้าพลังงานได้ปรับตัวลดลงในช่วงเดือนธันวาคม

ในส่วนเงินดอลลาร์นั้น ระวัง ตลาดการเงินอาจปิดรับความเสี่ยงได้ หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าคาด (Good News is Bad News for the market) ส่งผลให้ผู้เล่นในตลาดกังวลแนวโน้มการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยของเฟดและหนุนให้เงินดอลลาร์ รวมถึงบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ปรับตัวขึ้น นอกจากนี้ สถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ในจีนที่ยังน่ากังวล ก็อาจกดดันสกุลเงินหยวน (CNY) และสกุลเงินเอเชียได้เช่นกัน

ด้าน ฝ่ายธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) มองแนวโน้มค่าเงินบาทวันนี้ มีแนวรับ/แนวต้านระยะสั้นที่  34.40/34.70 บาทต่อดอลลาร์ 

แต่หาก Fund flow ยังคงไหลเข้าต่อเนื่องก็อาจหนุนให้เกิดการเปิดสถานะ Short เงินดอลลาร์ และเงินบาทหลุดระดับ 34.40 บาท/ดอลลาร์ ลงมาได้อย่างรวดเร็วและจะผันผวนในกรอบที่กว้างขึ้นและมีโอกาสทดสอบระดับ 34.00 บาท/ดอลลาร์ในสัปดาห์นี้

โดยแนะนำผู้ส่งออกควรขายเงินตราต่างประเทศเพื่อปิดความเสี่ยงที่ระดับ 34.70 บาท/ดอลลาร์

ส่วน กรุงไทย มองกรอบค่าเงินบาทสัปดาห์นี้ ที่ระดับ 34.25-34.75 บาท/ดอลลาร์ ส่วนกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 34.40-34.55 บาท/ดอลลาร์

คอนเทนต์แนะนำ
IMF เตือน 1 ใน 3 ของเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอยปีนี้
UNIQ คว้าโครงการ 33 ล.ปรับปรุงป้าย"สถานีกลางบางซื่อ"เป็น"สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์"

TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ