น้ำมันโลกพุ่งกว่า 1% ขานรับจีนเปิดประเทศ คาดเดินทางทะลุ 2 พันล้านคน
ตลาดหุ้นเอเชียพุ่ง อานิสงส์จีนเปิดประเทศ-คลายกังวลดอกเบี้ย
สถานการณ์น้ำมันโลกเช้าวันนี้ (10 ม.ค. 2566) ราคาเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย หลังตลอดช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับลดลงราว 8% โดยตลาดยังคงเฝ้ารอทิศทางปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลาง เพื่อคาดการณ์ผลกระทบทางเศรษฐกิจ และปริมาณความต้องการใช้พลังงานในระยะข้างหน้า
ขณะที่คืนนี้ นายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ เฟด (Fed) จะกล่าวสุนทรพจน์ในการประชุมธนาครกลางในกรุงสตอร์กโฮม ซึ่งอาจมีการส่งสัญญาณเกี่ยวกับเรื่องนโยบายการเงิน
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบทั่วโลกวันนี้
• สัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ปรับลง 0.22 ดอลลาร์ หรือ -0.28% ล่าสุดอยู่ในระดับ 79.58 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
• สัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบเวสต์เท็สซัส (WTI) ปรับลง 0.04 ดอลลาร์ หรือ -0.05 % ล่าสุดอยู่ในระดับ 74.59 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ด้านทีมวิเคราะห์ตลาดต่างประเทศ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ระบุว่า ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยรายสัปดาห์ลดลง เนื่องจากนักลงทุนกังวลเศรษฐกิจโลกอาจถดถอย จากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลาง ทั้งนี้แต่ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากจีนกลับมาเปิดพรมแดนเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี และคาดว่าจีนมีแนวโน้มนำเข้าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น ซึ่ง Bloomberg รายงานจีนซื้อน้ำมันดิบ CPC จากคาซัคสถานเพิ่มขึ้น 5 ล้านบาร์เรล ส่งมอบในเดือน ก.พ. 66 ส่งผลให้จีนนำเข้าน้ำมันดิบ CPC จากคาซัคสถาน รวมในเดือน ก.พ. 66 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 122,000 บาร์เรลต่อวัน อยู่ที่ 191,000 บาร์เรลต่อวัน
โดยอุปสงค์น้ำมันเพิ่มขึ้นจากการเดินทางเริ่มคึกคักจากชาวฮ่องกงและชาวจีนหลั่งไหลข้ามฝั่งจำนวนมาก กระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น ซึ่งผลสำรวจนักวิเคราะห์โดย Bloomberg ปรับคาดการณ์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ของฮ่องกงในปีนี้ อยู่ที่ +3.3% จากปีก่อน (เพิ่มจากประมาณการณ์ครั้งก่อนที่ +2.7% จากปีก่อน) ซึ่งจะทำให้ GDP ฮ่องกง ขยายตัวมากกว่าสิงคโปร์เป็นครั้งแรกในรอบทศวรรษ
นอกจากนี้จับตาปริมาณการผลิตน้ำมันดิบในเวเนซุเอลาที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น หลังรัฐบาลสหรัฐฯ อนุญาตบริษัท Chevron Corp. ลงทุน และผลิตน้ำมันดิบในเวเนซุเอลาตั้งแต่เดือน ธ.ค. 65 ซึ่ง Kpler รายงานปริมาณการผลิตน้ำมันดิบในเวเนซุเอลาปัจจุบันอยู่ที่ 630,000 บาร์เรลต่อวัน และคาดการณ์จะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 730,000 บาร์เรลต่อวัน ในเดือน มิ.ย. 66 และ 820,000 บาร์เรลต่อวัน ในเดือน ม.ค. 67 ทั้งนี้ รัฐบาลสหรัฐฯ ให้ผ่อนผันมาตรการการส่งออกน้ำมันดิบสู่สหรัฐฯ เนื่องจากอุปทานในตลาดโลกที่ตึงตัว
ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ
- ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund: IMF) นาง Kristalina Georgieva ระบุว่าเศรษฐกิจโลกในปี 2566 มีแนวโน้มเผชิญกับสถานการณ์ที่ยากลำบากมากขึ้นจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจของยุโรป จีนและสหรัฐฯ อาจชะลอตัว ขณะที่สงครามในยูเครนมีแนวโน้มยืดเยื้อ และธนาคารกลางทั่วโลกเพิ่มอัตราดอกเบี้ยขึ้นเพื่อต่อสู้ภาวะเงินเฟ้อ ส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ
- EIA รายงานปริมาณการผลิตน้ำมันดิบในสหรัฐฯ ในเดือน ต.ค. 65 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 0.6% อยู่ที่ 12.38 ล้านบาร์เรลต่อวัน สูงสุดตั้งแต่เดือน มี.ค. 63 ขณะที่อุปสงค์น้ำมันและน้ำมันสำเร็จรูปในสหรัฐฯ ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 55,000 บาร์เรลต่อวัน อยู่ที่ 20.42 ล้านบาร์เรลต่อวัน ต่ำสุดตั้งแต่เดือน ก.ค. 65
- EIA รายงานปริมาณสำรองน้ำมันดิบเชิงพาณิชย์ที่สหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 30 ธ.ค. 65 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 1.6 ล้านบาร์เรล อยู่ที่ 420.6 ล้านบาร์เรล สูงสุดในรอบ 3 สัปดาห์
- National Centre for Statistics and Information (NCSI) ของโอมานรายงานปริมาณการผลิตน้ำมันดิบและคอนเดนเสทในเดือน ม.ค.- พ.ย. 65 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 10% อยู่ที่ 355 ล้านบาร์เรล (1.06 ล้านบาร์เรลต่อวัน) สูงสุดเป็นประวัติการณ์ ทั้งนี้ โอมานผลิตคอนเดนเสทประมาณ 215,000 บาร์เรลต่อวัน
ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงบวก