ครัวเรือนกังวลรายได้ลดแม้เศรษฐกิจฟื้น เริ่มลดรายจ่ายฟุ่มเฟือย


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ดัชนีภาวะเศรษฐกิจครัวเรือนในเดือนม.ค.ปรับตัวดีขึ้น จากการฟื้นตัวเศรษฐกิจไทย แต่ครัวเรือนกังวลค่าครองชีพสูง เริ่มลดรายจ่ายไม่จำเป็น

ในเดือนม.ค. 66 ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือน (KR-ECI) ในปัจจุบันและ 3 เดือนข้างหน้าปรับตัวดีขึ้นอยู่ที่ 35.1 และ 37.8 จาก ที่ 34.7 และ 37.1 ในเดือนธ.ค. 65 เนื่องจากครัวเรือนมีมุมมองที่ดีขึ้นเกี่ยวกับรายได้และการจ้างงาน สอดคล้องกับทิศทางการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจไทย โดยมีภาคการท่องเที่ยวเป็นปัจจัยหนุนสำคัญ

แต่ครัวเรือนไทยมีความกังวลเกี่ยวกับรายได้และการจ้างงานลดลง ขณะที่ครัวเรือนไทยบางส่วนลดการใช้จ่ายลงเพื่อรับมือกับค่าครองชีพที่อยู่ในระดับสูง

เศรษฐกิจไทยปลายปีฟื้นจากท่องเที่ยว คาดยาวถึงต้นปี จับตาเศรษฐกิจโลกชะลอ

ดัชนีเชื่อมั่นธุรกิจ ม.ค. ปรับตัวดีขึ้น ได้แรงหนุนกลุ่มยานยนต์-เหล็ก

เงินเฟ้อ ธ.ค. สูงขึ้น 5.89% ค่าไฟ ก๊าซหุงต้ม น้ำมัน อาหารสด ยังกดดัน ทั้งปี เพิ่มขึ้น 6.08%

 

 

 

ท่ามกลางสถานการณ์ที่ค่าครองชีพยังอยู่ในระดับสูง ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้มีการสอบถามครัวเรือนเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรับมือต่อสถานการณ์ดังกล่าว พบว่า ครัวเรือนร้อยละ 37.7 ระบุว่า มีการงดการใช้จ่ายสินค้าฟุ่มเฟือยหรือสินค้าไม่จำเป็นลง และ ร้อยละ 20.5 ลดการใช้พลังงานลง เช่น ไฟฟ้า นอกจากนี้ ครัวเรือนยังมีการรับมือในรูปแบบอื่น ๆ เช่น การชะลอการก่อหนี้เพิ่มขึ้น การหารายได้เพิ่มเติม/ทำงานมากขึ้น 

ในระยะข้างหน้า ภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่มีปัจจัยหนุนสำคัญอย่างภาคการท่องเที่ยว ซึ่งจะก่อให้เกิดการจ้างงานและรายได้ในประเทศ นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยหนุนจากมาตรการกระตุ้นของภาครัฐอย่างโครงการเราเที่ยวด้วยกันระยะที่ 5 อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของดัชนี KR-ECI ยังมีความเปราะบางท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวซึ่งอาจกระทบเศรษฐกิจไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการส่งออก ประกอบกับค่าครองชีพที่ยังอยู่ในระดับสูง และขีดจำกัดของการอุดหนุนค่าครองชีพของภาครัฐ 

ในเดือนม.ค.66 ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนในปัจจุบันและดัชนี 3 เดือนข้างหน้าปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยที่ 35.1 และ 37.8 จากเดือนธ.ค. 65 ที่ 34.7 และ 37.1 ตามลำดับโดยครัวเรือนมีมุมมองที่ดีขึ้นสอดคล้องกับเศรษฐกิจไทยที่ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญจากภาคการท่องเที่ยวโดยเฉพาะแนวโน้มการกลับมาของจำนวนนักท่องเที่ยวจีนหลังการประกาศเปิดประเทศที่เร็วกว่าคาดตั้งแต่วันที่ 8 ม.ค. 66 โดยในเดือนม.ค. 66 มีจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทยราว 2.08 ล้านคน ถือเป็นเดือนที่สองติดต่อกันที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติทะลุ 2 ล้านคน

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ว่าทั้งปี 2566 จะมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาราว 25.5 ล้านคน โดยคิดเป็นนักท่องเที่ยวจีนจำนวน 4.65 ล้านคน นอกจากนี้ ภาครัฐได้มีการออกโครงการเราเที่ยวด้วยกัน ระยะที่ 5 โดยมีระยะเวลาในการดำเนินโครงการตั้งแต่เดือนก.พ.-ก.ย.66 เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวไทยฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง ซึ่งเป็นการสนับสนุนต่อเนื่องไปยังภาคการจ้างงานและการบริโภคภายในประเทศให้ปรับตัวดีขึ้น โดยจำนวนผู้ว่างงานของไทยในไตรมาส 4/2565 ลดลงเหลือ 4.62 แสนคน หรือลดลง 30% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า และอัตราว่างงานทรงตัวจากไตรมาสก่อนหน้าที่ 1.2% ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับมุมมองของครัวเรือนหลังจากจีนมีการยกเลิกมาตรการควบคุมโควิดและเปิดประเทศเร็วขึ้น ซึ่งคาดว่าจะมีผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวจีนเดินทางมาท่องเที่ยวไทยมากขึ้น โดยครัวเรือน 44.6% มองว่าการกลับมาของนักท่องเที่ยวจีนจะเป็นผลดีต่อการจ้างงานไทย และในจำนวนนี้ส่วนใหญ่มีมุมมองว่าจะเป็นการสนับสนุนให้การจ้างงานในประเทศปรับตัวดีขึ้น (64.0%) รองลงมามีมุมมองว่าจะสามารถเพิ่มชั่วโมงการทำงาน (21.8%) และค่าจ้างที่ได้ (14.1%)

อย่างไรก็ตาม แม้ราคาน้ำมันจะเริ่มปรับลดลง โดยภาครัฐได้ประกาศปรับลดราคาน้ำมันดีเซลลง 50 สตางค์ต่อลิตรเป็น 34.50 บาทต่อลิตร ถือเป็นการปรับลดครั้งแรกในรอบ 7 เดือน ซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันที่ 15 ก.พ. 66 เป็นต้นไป สะท้อนผ่านอัตราเงินเฟ้อไทยเดือนม.ค. 66 เพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลงที่ 5.02%YoY ตามราคาพลังงานและอาหารสดที่ปรับลดลง อย่างไรก็ตาม ด้วยข้อจำกัดภาระหนี้ของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงภาครัฐจึงยังไม่อาจปรับลดราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลลงไปสู่ระดับก่อนหน้าที่อยู่ระดับต่ำกว่า 30 บาทต่อลิตรได้ ประกอบกับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ยังมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นซึ่งยังคงกดดันการจับจ่ายใช้สอยอย่างต่อเนื่อง ครัวเรือนจึงยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายและราคาสินค้า โดยค่าไฟฟ้าสำหรับที่อยู่อาศัยถูกตรึงไว้ที่ 4.72 บาทต่อหน่วยในงวดเดือนม.ค.-เม.ย.66 แต่ภาครัฐได้มีการส่งสัญญาณปรับขึ้นค่าไฟฟ้าในระยะข้างหน้า (งวดเดือนพ.ค.-ส.ค.66) โดยคาดว่าจะมีความชัดเจนมากขึ้นในเดือนมี.ค.66 นอกจากนี้ ราคาก๊าซหุงต้มจะปรับขึ้นเป็น 423 บาทต่อถัง 15 กิโลกรัม ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค.66 หลังถูกตรึงอยู่ที่ระดับ 408 บาทต่อถัง 15 กิโลกรัม มานาน 6 เดือนติดต่อกัน 

นอกจากนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้มีการสอบถามครัวเรือนเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรับมือของครัวเรือนในปี 2566 ท่ามกลางสถานการณ์ที่ค่าครองชีพ  เงินเฟ้อ ค่าไฟฟ้าที่อยู่ในระดับสูง และทิศทางดอกเบี้ยเงินกู้ขาขึ้น โดยครัวเรือนส่วนใหญ่ลดการจับจ่ายใช้สอยลง โดย 37.7% ระบุว่า งดการใช้จ่ายสินค้าฟุ่มเฟือยหรือสินค้าไม่จำเป็นลง และ 20.5% ลดการใช้พลังงาน เช่น ไฟฟ้า ขณะที่ 17.4% ชะลอการก่อหนี้เพิ่มขึ้นเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ ครัวเรือนยังมีการรับมือต่อสถานการณ์ดังกล่าวด้วยรูปแบบอื่น ๆ ได้แก่ หารายได้เพิ่มเติม/ทำงานมากขึ้น (16.5%) นำเงินออมออกมาใช้จ่ายเพิ่มขึ้น (4.2%) และมีการออมเงินมากขึ้น (3.6%) สะท้อนให้เห็นว่าการฟื้นตัวของการบริโภคของครัวเรือนยังมีแนวโน้มได้รับแรงกดดันจากค่าครองชีพที่อยู่ในระดับสูง

สำหรับปี 2566 ภาวะการครองชีพของครัวเรือนไทยมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่มีภาคการท่องเที่ยวเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญโดยเฉพาะปัจจัยหนุนจากการเปิดประเทศของจีนที่เร็วกว่าคาด อีกทั้ง การอนุญาติให้ชาวจีนสามารถเดินทางท่องเที่ยวไปยัง 20 ประเทศรวมถึงไทยในลักษณะเป็นกรุ๊ปทัวร์ได้ตั้งแต่วันที่ 6 ก.พ.66 ซึ่งจะเป็นแรงหนุนต่อเนื่องไปยังภาคการจ้างงานของไทย

ดัชนี KR-ECI อาจฟื้นตัวได้อย่างเปราะบางท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเข้ามากดดัน โดยเฉพาะการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการส่งออก ประกอบกับค่าครองชีพไทยที่ยังอยู่ในระดับสูง สถานะหนี้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงก็ยังเป็นปัจจัยจำกัดการอุดหนุนค่าครองชีพจากภาครัฐ และค่าไฟฟ้าสำหรับผู้ประกอบการที่ปรับขึ้น จึงยังคงต้องติดตามการส่งผ่านราคาจากผู้ผลิตมายังผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง อีกทั้ง ต้นทุนทางการเงินของครัวเรือนผ่านอัตราดอกเบี้ยเงินกู้โดยเฉพาะในรายย่อยก็เพิ่มขึ้นตามทิศทางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท. โดยปี 2566 คาดปรับขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 1.75-2.00% 

สรุปดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทย (KR-ECI) ปัจจุบัน (ม.ค.66) และดัชนี 3 เดือนข้างหน้าปรับดีขึ้นที่ 35.1 และ 37.8 จากเดือนธ.ค. 65 ที่ 34.7 และ 37.1 ตามลำดับโดยครัวเรือนมีความกังวลลดลงเกี่ยวกับรายได้และการจ้างงานในอนาคต เนื่องจากได้รับแรงหนุนจากมุมมองการการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี การฟื้นตัวของดัชนียังเผชิญกับหลายปัจจัยเสี่ยง โดยเฉพาะการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และค่าครองชีพที่ยังอยู่ในระดับสูง

คอนเทนต์แนะนำ
รวม 10 ของขวัญ "วันวาเลนไทน์ 2566" ให้แล้วการันตีความอบอุ่นใจ
104 แคปชัน วาเลนไทน์ 2566 ประโยคเด็ดบอกสถานะ โสด มีคู่ อกหัก
14 กุมภาพันธ์ เปิดประวัติ "วันวาเลนไทน์" จากความรักที่ไม่สมหวัง
รวมมุกจีบ วาเลนไทน์ 2566 มุกตลก มุกเสี่ยว เต๊าะทุกวันอยากเป็นเพื่อนแกมั้ง!
เปิดความหมาย "ดอกกุหลาบ" และ 40 ความหมายดอกไม้รับ "วันวาเลนไทน์ 2566"

เลือกตั้ง2566_Bottom เลือกตั้ง2566_Bottom

เรื่องที่คุณอาจพลาด
วิดีโอยอดนิยม

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์


TOP เศรษฐกิจ

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ