นักเศรษฐศาสตร์ แนะรัฐบาลใหม่บริหารรายได้ให้ดี เร่งแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน ปฏิรูปการศึกษา


โดย PPTV Online

เผยแพร่




กูรูเศรษฐศาสตร์ แนะรัฐบาลใหม่บริหารรายได้ให้ดี เร่งแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน ปฏิรูปการศึกษา ส่งเสริมการลงทุนด้วยเทคโนโลยี พร้อมหนุนทลายทุนผูกขาด - เก็บ VATเพิ่ม แต่ต้องระวังกระทบการลงทุน

มูลนิธิคึกฤทธิ์ 80 ในพระราชูปถัมภ์  จัดอภิปรายปัญหาเศรษฐกิจที่รอรัฐบาลใหม่ โดยมีนักเศรษฐศาสตร์  ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี  อดีต รมว.พลังงาน ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ  ที่ปรึกษากลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร และ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ประธานมูลนิธิคึกฤทธิ์ 80ฯ  มาร่วมกันวิเคราะห์และให้ความเห็นต่อนโยบายที่รัฐบาลควรรีบดำเนินการอย่างเร่งด่วน   

โดย ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี ระบุว่า การขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาล ต้องเจอกับปัญหาในหลายด้าน ทั้งปัญหา อัตราเงินเฟ้อ ดอกเบี้ยนโยบาย ค่าเงิน   ภาวะการมีงานทำ ค่าจ้าง

เทน ฮาก เปรยอยากให้ แมคไกวร์ อยู่กับแมนยู แต่นักเตะต้องตัดสินใจเช่นกัน  

พบ “วาฬเบลูกา” ที่ต้องสงสัยว่าอาจเป็น “สายลับรัสเซีย”  

 

ซึ่งเป็นประเด็นที่มีผลต่อประชาชน    ซึ่งการแก้ปัญหาจะขึ้นอยู่กับสถานะการเงินการคลังของรัฐบาล ที่มีหนี้สาธารณะชนเพดาน แม้ฐานะการเงินของประเทศดีมาก  รายได้ของภาคเอกชนดี  แต่ ฐานะการคลังกลับมีปัญหา    


ดร.ณรงค์ชัย  ระบุว่า รัฐบาลควรหาวิธรีทำให้เงินหมุนเวียนมากขึ้น  อำนวยความสะดวกด้านการลงทุนให้เอกชนโดยใช้ระบบไอที ส่งเสริมการส่งออกทุกวิถีทาง บริหารการลงทุนภาครัฐให้เสร็จและใช้งานได้เร็วขี้น  ขณะที่ปัจจัยภายนอกประเทศก็ยังสำคัญ ทั้งปัญหาโลกร้อน    ปัญหาความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาตร์ และควรให้ความสำคัญกับประเทศที่กำลังมาแรง  เช่น จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง   พร้อมกับแสดงความเป็นห่วงเสถียรภาพทางการเงินเล็กน้อย  แต่เห็นด้วยกับนโยบายจัดทำงบประมาณแบบฐานศูนย์  ที่จะทำให้การใช้จ่ายงบประมาณมีประสิทธิภาพขึ้น   

ขณะที่ ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ ที่ปรึกษากลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร  มองว่า มองภาพรวมหลังเลือกตั้ง ที่ชี้ให้เห็นว่า คนไทยมองเศรษฐกิจช่วงที่ผ่านมาขยายตัวไม่ค่อยดีนัก  เกิดกระแสรวยกระจุก จนกระจาย เป็นกระแสทำให้พรรคก้าวไกลชนะการเลือกตั้ง

ขณะที่นโยบายที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนด้านเศรษฐกิจ  2 ข้อ สำคัญ  ได้แก่ การทลายระบบทุนผูกขาด และรัฐสวัสดิการ  เมื่อดูในนโยบายแล้วเป็นการเก็บภาษีคนรวยไปให้คนจน  เพื่อลดความเหลื่มล้ำ  หากมองภาพจากมุมมองนักเศรษฐศาสตร์ แหล่งรายได้อาจต้องใช้การเก็บภาษีมากขึ้น  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเก็บภาษีคนรวย ทั้งภาษีความมั่งคั่ง  ซึ่งมองว่า หากต้องการฟื้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง การเก็บภาษีจากกำไร ภาษีในบริษัทใหญในตลาดหลักทรัพย์ และภาษีจากการซื้อขายหุ้น อาจกระทบการลงทุน ซึ่งต้องมองภายเหล่านี้ด้วย

ส่วนหารายได้เพิ่มขึ้น  เห็นด้วยกับการปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม อีก 1% จะมีรายได้เฉลี่ยปีละ 80,000 ล้านบาท  ซึ่งจะกระทบกับการลงทุนน้อยกว่า การเก็บภาษีกลุ่มทุนโดยตรง ณะที่ความท้าทายที่ไทยต้องเจอ คือปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ซึ่ง ในปี 2050  แรงงานจะหายไป 11 ล้านคนหรือ 1 ใน 3 ของรายงานปัจจุบัน จึงควรรวมเร่งปฏิรูปการศึกษา  อัพสกีล และรีสกีล ให้คนมีทักษะ รวมทั้งต้องลดความเหลื่อมล้ำด้านธุรกิจ และต้องสร้างโอกาสให้คนรุ่นใหม่ ส่งเสริม SMEs ให้เป็น ธุรกิจระดับยูนิคอน เพื่อไม่ให้เป็น SMEs อยู่ตลอดไป

ด้าน ม.ร.ว.ปรีดิยาธร ระบุว่า ที่ผ่านมา เศรษฐกิจในประเทศเริ่มเปิด การท่องเที่ยวเริ่มฟื้นตัว แต่เศรษฐกิจโลกยังมีความผันผวน ทั้งเรื่องพลังงาน ความขัดแย้งภูมิรัฐศาสตร์  ซึ่งมีผลต่อประเทศไทยอย่างเลี่ยงไม่ได้  ซึ่งต้องให้ความสำคัญ ขณะที่นโยบายของรัฐบาลใหม่ ส่วนตัวเห็นด้วยกับนโยบายทลายทุนผูกขาด แต่อาจกระทบต่อตลาดหลักทรัพย์ แต่ต้องดูว่ากระทบส่วนไหนของตลาด นโยบายนี้ไม่ได้ทำให้ตลาดตก เป็นนโยบายที่น่าเชียร์ เพราะการผูดขาดเริ่มกลายเป็นนิสัย

เอเชียนกมส์2022-B เอเชียนกมส์2022-B
TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ