กฟผ.กัดฟันแบกหนี้ 1.35 แสนล้านบาทลดค่าไฟ แต่กังวลเครดิตเรตติ้งลด


โดย PPTV Online

เผยแพร่




กฟผ. ชี้แจงแบกหนี้ลดค่าไฟ "แสนล้าน" ยอมรับกังวลมากที่สุดว่าเครดิตเรตติ้งจะลดลงหรือไม่

หลังข่าวดี ค่าไฟฟ้างวดเดือน กันยายน – ธันวาคม 2566 ลดลงเหลือ 3.99 บาทต่อหน่วย ตามมติของคณะรัฐมนตรี ทางคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ กกพ. ได้หารือ กับทางบริษัท ปตท. จัด (มหาชน) สั่งการ ปตท. ปรับลดค่าก๊าซที่เรียกเก็บจากกิจการผลิตไฟฟ้าเหลือไม่เกิน 304.79 บาทต่อล้านบีทียู

กกพ. ประชุม ปตท. - กฟผ. เร่งลดค่าไฟ 3.99 บาท/หน่วย

รับสมัครทำงานมาเก๊า เงินเดือนสูงสุดร่วม 8 หมื่นบาท

และให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ยืดหนี้ ที่คงค้างกว่า 135,000 ล้านบาทออกไปก่อน ทาง กฟผ.จะว่าอย่างไรบ้าง จะยืดหนี้ได้นานแค่ไหน

นายประเสริฐศักดิ์ เชิงชวโน รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์ กฟผ. เปิดเผยถึงนโยบายรัฐบาลในการดูแลค่าไฟฟ้าของประชาชนงวดสุดท้ายของปีนี้ให้อยู่ที่ 3.99 บาทต่อหน่วยว่า ขอประเมินแนวทางการบริหารหนี้ที่ยังคงค้างอยู่ 135,000 ล้านบาท ว่าจะสามารถยืดหนี้ได้อีกกี่งวด เนื่องจากนโยบายรัฐบาลน่าจะดูแลค่าไฟฟ้าไปถึงปี 2567 ซึ่งในงวดแรกที่จะต้องชำระคืนหนี้ กฟผ.ยังสามารถรับภาระได้อยู่

แต่ในระยะต่อไปต้องประเมินอีกครั้ง จากที่จะต้องคืนหนี้ กฟผ.งวดสุดท้ายคือเดือนเมษายน 2568 อาจเป็นไปได้ที่จะขยายไปถึงสิ้นปี 2568 โดยตามติ ครม.ได้ให้บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ช่วยรับภาระต้นทุนราคาก๊าซธรรมชาติโดยปรับลดค่าก๊าซธรรมชาติที่เรียกเก็บจากกิจการผลิตไฟฟ้าซึ่งแต่เดิมกำหนดไว้ 323.37 บาทต่อล้านบีทียู เป็นไม่เกิน 304.79 บาท ต่อล้านบีทียู

แต่หากราคาก๊าซฯ เกินกว่านั้น ปตท.จะต้องรับภาระส่วนนี้้ ยอมรับว่าผลจากการยืดหนี้ค่าไฟเรื่องที่กังวลมากที่สุดว่าเครดิตเรตติ้งจะลดลงหรือไม่

อย่างไรก็ตาม รองผู้ว่า กฟผ. ย้ำว่า ถ้าผู้ใช้ไฟฟ้าจ่ายเงินไปแล้ว ตามใบแจ้งหนี้ที่ยังไม่ได้ลดราคา ขอให้ผู้ใช้ไฟฟ้าไม่ต้องกังวล จะไปคืนให้โดยนำไปลดกับบิลค่าไฟเดือนถัดไป

เอกชนขานรับลดค่าไฟ แม้บรรเทาผลกระทบระยะสั้น

ขณะที่ความเห็นจากภาคเอกชน นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และนายกสมาคมการค้าอาหารอนาคตไทย ระบุว่า มาตรการลดราคาค่าไฟฟ้าเหลือ 3.99 บาทต่อหน่วย ถือเป็นผลดีที่ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลงช่วยลดภาระให้กับผู้ประกอบการ แต่คาดว่าเป็นเพียงการบรรเทาผลกระทบในระยะสั้นเท่านั้น

เพราะแม้ค่าไฟฟ้าจะลดลง แต่ที่ผ่านมาผู้ประกอบทนแบกรับต้นทุนค่าไฟฟ้าแพงมานาน ไม่สามารถขยับราคาสินค้าขึ้นได้ เป็นผลกระทบที่ลากยาวมาต่อเนื่อง โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายย่อย ที่ล้มจากโควิด-19 มาก่อนหน้านี้ เมื่อเจอปัญหาต้นทุนพลังงานที่สูงขึ้น ก็ยิ่งซ้ำเติมทำให้การลงทุนใหม่เป็นไปได้ยาก กว่าจะฟื้นก็อาจต้องใช้เวลา

นายวิศิษฐ์ ระบุด้วยว่า นอกจากการลดค่าไฟฟ้า ผู้ประกอบการ อยากให้รัฐบาลมองถึงปัญหาปัจจัยการผลิตด้านอื่นๆด้วย เช่น ปัญหาต้นทุนทางการเงิน ทั้งการเข้าถึงแหล่งทุน และภาระจากดอกเบี้ยขาขึ้น ซึ่งเป็นปัญหาที่ภาคธุรกิจและภาคเอกชนไม่สามารถแก้เองได้ ต้องอาศัยกลไกนโยบายจากภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือ ถึงจะทำให้ผู้ประกอบการไปต่อได้

เปิดโปรแกรมวอลเลย์บอลชายไทย ทำศึกเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 19 พีพีทีวี ยิงสด

โปรแกรมการแข่งขันกีฬา เอเชียนเกมส์ 2022 ประจำวันพฤหัสบดีที่ 21 ก.ย. 66

“เอเชียนเกมส์ 2022” ไขข้อสงสัยทำไมแข่งปี 2023 แต่ใช้ชื่อปีเดิม

TOP เศรษฐกิจ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ