ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “OK ไหม กับ นายกฯ สรุปเอง เงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท”
'เศรษฐา' ย้ำ 3 แนวทางในเวที APEC 2023 ยั่งยืน-เปิดกว้าง-เชื่อมโยง
'รัดเกล้า' ชี้ผู้เลี้ยงโคมีโอกาสจับเงินล้าน! ต้นทุนต่ำเพราะมีเพียงหญ้า
เมื่อถามประชาชนถึงคุณสมบัติการได้รับเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท พบว่า
- ร้อยละ 79.85 ระบุว่า มีคุณสมบัติครบตามเกณฑ์
- ร้อยละ 11.68 ระบุว่า ไม่แน่ใจว่าตนเองมีคุณสมบัติครบตามเกณฑ์หรือไม่
- ร้อยละ 8.47 ระบุว่า ไม่มีคุณสมบัติครบตามเกณฑ์
โดยกลุ่มที่ไม่แน่ใจว่าตนเองมีคุณสมบัติครบตามเกณฑ์หรือไม่ และไม่มีคุณสมบัติครบตามเกณฑ์ ส่วนใหญ่ไม่ได้รู้สึกโกรธเลย
ขณะที่หลักเกณฑ์ว่าผู้มีสิทธิได้รับเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ต้องเป็นคนไทยไทยที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไปมีรายได้ไม่ถึง 7 หมื่นบาทต่อเดือน และ/หรือมีเงินฝากทุกบัญชีรวมกันต่ำกว่า 5 แสนบาท พบว่า
- ร้อยละ 40.53 ระบุว่า เห็นด้วยมาก
- ร้อยละ 25.80 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย
- ร้อยละ 20.31 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย
- ร้อยละ 12.67 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย
- ร้อยละ 0.69 ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
แต่เมื่อถามว่า เงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท โดยสามารถใช้ซื้ออาหาร เครื่องดื่ม สินค้าอุปโภคบริโภคได้เท่านั้น พบว่า ร้อยละ 34.66 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย
ส่วนความคิดเห็นของประชาชนต่อแหล่งที่มาของงบประมาณในการจัดทำนโยบายเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ที่รัฐบาลจะออกพระราชบัญญัติ กู้เงิน 500,000 ล้านบาท และงบประมาณประจำปีอีก 100,000 ล้านบาท พบว่า
- ตัวอย่าง ร้อยละ 50.69 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย
- รองลงมา ร้อยละ 18.70 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย
- ร้อยละ 14.89 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย
- ร้อยละ 13.35 ระบุว่า เห็นด้วยมาก
- ร้อยละ 2.37ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
อย่างไรก็ตาม ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 13-16 พฤศจิกายน 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับบทสรุปของนโยบายเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ภายหลังการแถลงของนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน