อย่ามองข้ามลูกเดือยไทย สารอาหารเพียบ ลดไขมันในเลือดได้


โดย BDMS Wellness Clinic

เผยแพร่




ลูกเดือย ธัญพืชที่พบมากในประเทศไทยและแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นที่นิยมในกลุ่มคนรักสุขภาพ

เพราะแม้ว่าลูกเดือยจะถูกจัดเป็นธัญพืชประเภทแป้งเช่นเดียวกับข้าว แต่มีสารอาหารแร่ธาตุที่มีประโยชน์ และที่สำคัญลูกเดือยยังมีใยอาหารประเภท Fluctooligosacharides (FOS) ในปริมาณที่สูงกว่าข้าวแป้งชนิดอื่น โดย 100 กรัม จะมี FOS สูงถึง 25 กรัม  ซึ่งทำหน้าที่เป็นพรีไบโอติกส์ (Prebiotics) ที่มีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ชนิดดีในลำไส้ เสริมสร้างให้ลำไส้แข็งแรง  

กินถูกหลัก ห่างไกล "มะเร็ง"

แนะ "สมุนไพร - ธัญพืช" ช่วยลดความอ่อนล้าหลังฉีดวัคซีนโควิด

 

 

มีหลายการศึกษาพบว่า FOS ในลูกเดือยนั้นมีประโยชน์ต่อสุขภาพในหลายๆด้าน อาทิ ลดไขมันในเลือด, ลดระดับน้ำตาลในเลือด, ต้านอนุมูลอิสระ (Anti-oxidant) และลดการอักเสบร่างกาย (Anti-inflammatory) 

  • ลดไขมันในเลือด

มีการศึกษาพบว่าการรับประทานลูกเดือยสามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดได้ ยกตัวอย่างการศึกษาในกลุ่มผู้ที่มีระดับไขมันในเลือดสูง พบว่าลูกเดือยช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ไขมันเลว (LDL) และไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride)ได้  ซึ่งเป็นผลจากการที่ร่างกายได้รับใยอาหาร (FOS) ที่เพิ่มมากขึ้น โดยใยอาหารจะลดการดูดซึมคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในลำไส้ เพิ่มการทำงานของ LDL receptor อีกทั้งใยอาหารยังจับกับน้ำดีในลำไส้และขับถ่ายออกไป ทำให้ร่างกายต้องเร่งนำคอเลสเตอรอลในเลือดมาสร้างเป็นน้ำดีมากขึ้นนั้นเอง

  • ลดน้ำตาลในเลือด  

พรีไบโอติกส์ที่อยู่ในลูกเดือยมีคุณสมบัติช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือด โดยเฉพาะเมื่อทานลูกเดือยคู่กับอาหารที่มีโพรไบโอติกส์ (Probiotics) เช่น  กิมจิ มิโสะ นัตโต๊ะ   เป็นต้น จะช่วยเสริมประสิทธิภาพในการลดน้ำตาลได้ดียิ่งขึ้น และยังมีส่วนช่วยให้น้ำหนักตัวลดลงได้ดีกว่าการทานอาหารที่มีโพรไบโอติกส์เพียงอย่างเดียวอีกด้วย 

  • ต้านอนุมูลอิสระ (Anti-oxidant) และลดการอักเสบ (Anti-inflammatory)

ลูกเดือยมีสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidants) เช่น สารประกอบฟีโนลิกและฟลาโวนอยด์ (flavonoid) ที่ช่วยยับยั้งการหลั่งสารก่อการอักเสบอย่าง TNF-α และ IL-6   นอกจากนี้สารสกัดจากลูกเดือยยังช่วยกดความไวต่อสารกระตุ้นการแพ้ (IgE) และปรับสมดุลระหว่างทีเฮลเปอร์เซลล์ (T helper cell) ส่งผลให้อาการแพ้ลดลง  จึงประโยชน์ในการรักษาโรคหรืออาการที่เกิดจากการแพ้ได้อีกด้วย 

จากคุณสมบัติในการช่วยลดไขมันและน้ำตาลในเลือด และการต้านอนุมูลอิสระ ลูกเดือยจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจของคนยุคปัจจุบันที่ต้องการดูแลสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้ที่มีพฤติกรรมความเสี่ยง เช่น  ความเครียดสะสม  นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ  มีน้ำตาลหรือไขมันในเลือดสูง มีภาวะโภชนาการเกินหรืออ้วน   โดยสามารถนำลูกเดือยไปหุงผสมกับข้าวรับประทานคู่กับอาหาร ผสมในจานสลัดหรือแหล่งอาหารที่มีโพรไบโอติกส์  ลูกเดือยอบแห้ง หรือดื่มเป็นเครื่องดื่ม  เช่น  น้ำเต้าหู้ลูกเดือย น้ำนมลูกเดือย เป็นต้น

ผักผลไม้ประเภทไหนที่กินแล้วช่วยต้าน “โรคมะเร็ง”

TOP สุขภาพ
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ