คลายข้อสงสัย กินน้ำมันปลาอย่างไร ห่างไกลป่วยติดเชื้อง่าย


โดย PPTV Online

เผยแพร่




.

น้ำมันปลาหรือฟิชออย (Fish oil)  ตัวช่วยเพื่อเสริมให้ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรงอยู่เสมอ โดยเฉพาะคนที่ต้องการดูแลสุขภาพหรือคนที่มีโรคประจำตัวและยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบันที่การมีสุขภาพแข็งแรงเป็นเรื่องที่จำเป็น เมื่อมีอาการเจ็บไข้ได้ป่วยถึงแม้จะมีอาการเล็กๆ น้อยๆ แต่อาการอาจจะรุนแรงขึ้นกว่าทุกครั้ง และความเสี่ยงจะสูงขึ้นเมื่ออาการป่วยนั้นนำไปสู่การติดเชื้อเข้าสู่อวัยวะสำคัญในร่างกาย อาทิเช่น  ภาวะปอดอักเสบติดเชื้อรุนแรง ซึ่งนำไปสู่คำถามที่ว่า เรากินน้ำมันปลาอย่างไร ที่จะลดความเสี่ยงเจ็บป่วยด้วยอาการที่รุนแรงขึ้นจากการอักเสบติดเชื้อเช่นเดิม?

อาหารลดไขมันพอกตับ ยิ่งทานยิ่งดีต่อสุขภาพ

เรากินน้ำมันปลาไปเพื่ออะไร?
เรากินน้ำมันปลาเพื่อให้ร่างกายได้รับกรดไขมันโอเมก้า-3 ซึ่งเป็นกรดไขมันจำเป็นต่อร่างกายที่ต้องได้รับเป็นประจำ ในน้ำมันปลาจะเต็มไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า-3 ซึ่งกรดไขมันที่พบมากที่สุด คือ  กรดไขมัน DHA (DOCOSAHEXAENOIC  ACID) และกรดไขมัน EPA  (EICOSAPENTAENOIC ACID) ซึ่งกรดไขมันกลุ่มนี้เองที่มีคุณสมบัติช่วยต้านการอักเสบภายในร่างกายที่เกิดจากการติดเชื้อ จึงช่วยลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากภาวะอวัยวะทำงานล้มเหลวจากการติดเชื้อรุนแรง
 

จากงานวิจัยที่เผยแพร่ในวารสาร Cancer and Metastasis Reviews ( ที่มา https://bit.ly/2GHYcLx ) ระบุว่า กรดไขมัน  EPA และ DHA ที่พบในกรดไขมันกลุ่มโอเมก้า-3 เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะถูกเปลี่ยนเป็น สาร Resolvins  ซึ่งเป็นสารที่ทำหน้าที่ต้านการอักเสบในร่างกายนั่นเอง ดังนั้น น้ำมันปลาที่มีกรดไขมันโอเมก้า-3 จึงเชื่อกันว่ามีส่วนช่วยลดการอักเสบ เช่น ปอดอักเสบติดเชื้อ ลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะการหายใจล้มเหลว ซึ่งเท่ากับเป็นการลดความเสี่ยงเสียชีวิตจากการติดเชื้อรุนแรงได้ อ่านแล้วก็น่าจะเรียกว่าเป็นข่าวดีอยู่ไม่น้อย ที่กรดไขมันโอเมก้า-3 น่าจะช่วยลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อรุนแรงลงได้ 

แต่ความจริงอีกด้านคือ คนที่กินน้ำมันปลาแล้วยังพบว่าตัวเองป่วยจากการติดเชื้อง่าย มักได้รับกรดไขมันโอเมก้า-3 จากน้ำมันปลาในปริมาณที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการในแต่ละวัน และขาดความต่อเนื่องสม่ำเสมอ จริงอยู่ที่หลายคนตื่นตัวกับการดูแลสุขภาพในช่วงที่ผ่านมา แต่เมื่อเวลาผ่านไปก็มักจะละเลย ขาดการดูแล จนกว่าจะมีเหตุให้ต้องกังวลอีกถึงจะกลับมาดูแลสุขภาพตัวเองอีกครั้ง นี่อาจเป็นสาเหตุที่ว่าทำไมกินน้ำมันปลาแล้วก็ยังป่วยติดเชื้อง่ายได้อีก

 
น้ำมันปลา กินแค่ไหนถึงจะเพียงพอ? 
ถึงจะยังไม่มีการยืนยันหรือชี้ชัดว่าร่างกายมนุษย์ควรได้รับกรดไขมันโอเมก้า-3 ออกมาชัดเจน แต่จากการศึกษาวิจัยจากหลายสถาบันหรือหน่วยงานต่างๆ ต่างมุ่งไปในทางเดียวกันคือ ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ในการนำประสิทธิภาพของกรดไขมันโอเมก้า-3 ไปใช้สำหรับการบำรุงสุขภาพทั่วไป ปริมาณกรดไขมันโอเมก้า-3 ที่แนะนำ 500 มก./วัน  ในขณะที่คนที่มีโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจและสมอง ปริมาณกรดไขมันที่แนะนำ 1,000-2,000 มก./วัน   ส่วนคนที่มีปัญหาไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์สูง ปริมาณที่แนะนำ 2,000 – 4,000 มก./วัน (ที่มา https://bit.ly/3ltWps9 )
 

สม่ำเสมอได้...สุขภาพดี
ความสม่ำเสมอคือคีย์สำคัญที่ร่างกายจะได้รับประโยชน์จากกรดไขมันโอเมก้า-3 ในน้ำมันปลาได้เต็มประสิทธิภาพ ผลวิจัยหลายชิ้นแนะนำว่า ประสิทธิภาพของน้ำมันปลาจะไม่เห็นผลทันที แต่ต้องอาศัยระยะเวลาถึงจะเริ่มเห็นผลลัพธ์ (ที่มา https://bit.ly/2SA4Kho ) นี่จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมกินน้ำมันปลาแล้ว ควรกินอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

กินพร้อมอาหาร ประสิทธิภาพลดลงหรือไม่
จากการศึกษาวิจัยไม่ได้ระบุชัดถึงช่วงเวลาที่กินน้ำมันปลา จะมีผลต่อประสิทธิภาพของกรดไขมันโอเมก้า-3 มีเพียงข้อสังเกตที่ว่า การกินน้ำมันปลาพร้อมอาหารหรือหลังมื้ออาหาร ร่างกายจะดูดซึมได้ดีกว่าและลดอาการข้างเคียงอื่นๆ ได้ด้วย เช่น ท้องเสีย เรอมีกลิ่นคาว หรือคลื่นไส้

แหล่งกรดไขมันโอเมก้า3- ชั้นดีอยู่ที่ไหน?
แหล่งกรดไขมันโอเมก้า-3 ที่มีคุณภาพสูง มักจะอยู่ในกลุ่มของปลาทะเลน้ำลึก เช่น ปลาแองโชวี่ ปลาแซลมอน ถ้าเราไม่ได้กินปลาทะเลน้ำลึกเป็นประจำอยู่แล้ว เป็นเรื่องยากมากที่ร่างกายจะได้รับกรดไขมันโอเมก้า-3 เพียงพอ แต่ก็ยังมีอาหารอื่นๆ ที่ให้กรดไขมันโอเมก้า-3  ได้เหมือนกัน เช่น พืชต่างๆ หรือปลาน้ำจืด แต่ถ้าเทียบกันแล้วปลาทะเลน้ำลึกให้กรดไขมันโอเมก้า-3 สูงกว่าพืชหรือปลาน้ำจืด 

นั่นเท่ากับว่าหากจำเป็นต้องเลือกกินอาหารที่เป็นแหล่งกรดไขมันโอเมก้า-3 แทนปลาทะเลน้ำลึก อาจต้องกินในปริมาณที่มากขึ้นเพื่อให้ได้กรดไขมันโอเมก้า-3 เทียบเท่าปลาทะเลน้ำลึก  นี่จึงทำให้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทน้ำมันปลากลายเป็นทางเลือกสำหรับคนที่ต้องการดูแลสุขภาพในระยะยาว รวมไปถึงผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆ ที่จำเป็นต้องรักษาสุขภาพให้แข็งแรงไว้เสมอ เพื่อลดความเสี่ยงที่อาการของโรคจะรุนแรงขึ้นจากภาวะการอักเสบจนพัฒนาไปสู่การติดเชื้อรุนแรง
 

น้ำมันปลาให้กรดไขมันโอเมก้า-3 คุณภาพสูงดูจากอะไร? 
อันดับแรก คือ ดูปริมาณของกรดไขมัน EPA และ DHA  กรดไขมันทั้งสองตัวรวมกันแล้วมีปริมาณเท่าไหร่ อย่าเชื่อเพียงแค่ดูว่า น้ำมันปลา 1,000 มก. เท่านั้น แต่ควรอ่านฉลากให้เป็น ดูให้ลึกถึงปริมาณ EPA และ  DHA  ที่ระบุไว้ข้างฉลากได้ด้วย ซึ่งในท้องตลาดปัจจุบัน น้ำมันปลา 1,000 มก. จะให้ EPA และ  DHA  รวมกันแล้วอยู่ที่ประมาณ 300 มก. ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้

เรื่องของแหล่งที่มาของวัตถุดิบเองก็มีผลกับคุณภาพและความปลอดภัยจากสารปนเปื้อนเช่นกัน น้ำมันปลาที่ให้กรดไขมันโอเมก้า-3 คุณภาพดี ควรเป็นน้ำมันปลาที่ได้จากปลาทะเลน้ำลึกมาจากถิ่นอาศัยจากแหล่งน้ำธรรมชาติที่สะอาด เช่น จากแหล่งน้ำลึกแถบมหาสมุทรแปซิฟิกหรือขั้วโลกเหนือ รวมไปถึงกระบวนการผลิตที่ควรได้มาตรฐานรับรองในระดับโลก เพื่อให้ได้น้ำมันปลาที่มีคุณภาพสูงสุด ปลอดภัยและมีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น น้ำมันปลา เมก้า วี แคร์ ฟิชออย (MEGA WE CARE FISH OIL)  ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารน้ำมันปลามีปริมาณกรดไขมันโอเมก้า-3 สูง คัดสรรปลาแองโชวี่จากแหล่งน้ำธรรมชาติในประเทศไอซ์แลนด์ ปลอดภัยจากสารตกค้างสะสม ผ่านกระบวนการผลิตคุณภาพเทียบเท่าการผลิตยา ได้รับการรับรองมาตรฐาน GMP ระดับสากล จากประเทศเยอรมนีและประเทศออสเตรเลีย บรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่ช่วยปกป้องและรักษาคุณภาพน้ำมันปลาจนถึงมือผู้บริโภค จนได้รับการรับรองมาตรฐานจากประเทศเยอรมัน ซึ่งเป็นมาตรฐานรับรองระดับโลก 
 


ไม่ว่าคุณจะกินน้ำมันปลาบ่อยแค่ไหนก็ตามก็ต้องทำใจไว้ว่า หากขาดความสม่ำเสมอ หรือได้รับในปริมาณที่ไม่เพียงพอ รวมไปถึงการได้รับน้ำมันปลาที่ไม่ได้คุณภาพ ก็เสี่ยงที่ร่างกายจะเกิดการอักเสบจากการติดเชื้ออยู่ดี ในทางตรงกันข้ามการกินน้ำมันปลาที่มีคุณภาพสูงอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่องและในปริมาณที่เพียงพอ เมื่อคุณป่วย ร่างกายจะฟื้นตัวได้เร็วกว่าคนที่ไม่ได้กินน้ำมันปลาหรือขาดความสม่ำเสมอ รวมไปถึงลดความเสี่ยงโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจและสมอง ช่วยควบคุมระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ ซึ่งเป็นโรคเรื้อรังที่เป็นแล้วหายยากหรือต้องทำใจอยู่กับโรคไปตลอดชีวิต

“ไขมันทรานส์” คืออะไร ถึงคร่าคนได้ทั้งโลก 5 แสนคนต่อปี

Vitamin express คลิก 
สนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับน้ำมันปลา 
Facebook: www.facebook.com/MEGAWecare 
Website: www.megawecare.co.th

TOP ไลฟ์สไตล์
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ