รู้จักนกแก้วโม่ง นกหายากที่คนพื้นที่ควรช่วยกันอนุรักษ์


โดย PPTV Online

เผยแพร่




“นกแก้วโม่ง” นกหายากที่ใกล้สูญพันธุ์ คนพื้นที่ยิ่งควรต้องช่วยกันอนุรักษ์ให้คงอยู่

หลายคนคงได้เห็นภาพฝูง “นกแก้วโม่ง” ฝูงหนึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่วัดสวนใหญ่ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี ซึ่งเจ้านกเหล่านี้ถือเป็นประจำถิ่นของประเทศไทย ที่เริ่มหายากและใกล้สูญพันธุ์จากธรรมชาติเต็มที่ แม้เจ้านกเหล่านี้จะเป็นสัตว์ป่าคุมครองตาม พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าปี 2562 ผู้ใดจับ ทำร้าย ล่าหรือครอบครอง ซื้อขาย มีโทษตามกฏหมายทั้งจำและปรับ (เมื่อวันที่ 14 ก.ค. 2564) แต่มันก็เป็นที่หมายมองของเหล่านักลักลอบจับนกเช่นกัน  ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างมากที่เราต้องช่วยกันดูแลอนุรักษ์นกเหล่านี้ 

ข่าวดี! นกเป็ดหงส์ ขยายพันธุ์เพิ่ม 50 ตัว วอนชาวบ้านอย่าจับไปขาย

โลกออนไลน์แห่แชร์ภาพนกแก้วคาคาโป (คลิป)

แต่ก่อนที่เราจะไปช่วยกันดูแลอนุรักษ์นก เราลองมาทำความรู้จัก  “นกแก้วโม่ง” กันดีกว่ามันมีอุปนิสัยอย่างไร และชอบอยู่ในพื้นที่บริเวณไหน 

ทีมข่าวพีพีทีวีออนไลน์ ได้มีโอกาสพูดคุยกับ คุณชาลี วาระดี นักดูนกที่ชื่นชอบและติดตามดูพฤติกรรมนกในธรรมชาติมานานกว่า  20 ปี โดยคุณชาลี เล่าว่า “นกแก้วโม่ง”  ถือเป็นนกประจำถิ่นของบ้านเรา มักพบมากในพื้นที่ภาคกลาง ภาคตะวันตก และภาคเหนือ  

ซึ่งสมัยก่อนนกเล่านี้จะอาศัยอยู่ในพื้นที่ป่า แต่เมื่อป่าเริ่มหายไป “นกแก้วโม่ง” ก็อพยพเข้าไปอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยโดยจุดดังกล่าวจะต้องมีลักษณะใกล้แม่น้ำ ใกล้สวนผลไม้ และมีต้นไม้ที่มีโพรงให้ได้อยู่อาศัย ดังนั้นจุดที่เข้า Concept ก็ไม่พ้นเขตพื้นที่อภัยทานอย่างวัดที่เราเห็น 

นกแก้วโม่ง” เป็นนกที่ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง โดยฝูงหนึ่งจะมีตั้งแต่ 5 -6 ตัว หรือบางฝูงก็จะมีเป็น 10 ตัว กินเมล็ดพืช หรือผลไม้ เป็นอาหาร ส่วนลักษณะนิสัยไม่ดุร้าย แต่เวลาบินอาจส่งเสียงดังบ้าง และต้องยอมรับว่า อีกปัญหาที่พบได้บ่อยสำหรับ “นกแก้วโม่ง” คือถูกนกเอี้ยง หรือกระรอกแย่งโพรงรัง จึงทำให้เราได้เห็นภาพการแย่งชิงดังเช่นภาพ “นกแก้วโม่ง” ปะทะ “กระรอกน้อย” ที่ทีมช่างภาพของ พีพีทีวี ได้ถ่ายมา 

คุณชาลี ยอมรับว่า  “นกแก้วโม่ง” เป็นนกที่จัดอยู่ในกลุ่มสุ่มเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์ง่าย เนื่องมาจากพื้นที่อาศัยหดแคบลงมาก และอาหารก็แปรผันไปตามจุดที่อยู่ อีกทั้งนกเหล่านี้ ยังเป็นที่หมายปองของนักจับนกด้วย ดังนั้นจึงอยากขอร้องให้คนในชุมชนที่มี “นกแก้วโม่ง” อาศัยอยู่ช่วยกันสอดส่องดูแลนกด้วยการสำรวจประชากรนกว่ามีจำนวนเท่าไหร่ และใน 3-6 เดือนให้หลังลองกลับไปสำรวจดูประชากรนกอีกครั้งว่าเพิ่มขึ้นหรือลดน้อย  หรือทำรังไม้ให้นกแก้วโม่ง ได้อยู่อาศัย ซึ่งเป็นหนึ่งวิธีในการช่วยแก้ปัญหาเรื่องรังนก และเพิ่มประชากรนกได้ 

             "ถ้าบริเวณไหนมีนกเหล่านี้อยู่ ถือเป็นพื้นที่พิเศษ เพราะมันหาดูไม่ง่าย มันหาดูยาก มันเหมือนเป็นUnseen หรือ OTOP ประจำท้องถิ่น หรือประจำชุมชนเลยนะ มันนกเป็นหายาก เราควรจะไม่ไปทำร้ายมัน หรือไม่ต้องไปยุ่งกับมัน ให้มันอยู่ และเนี่ยเรามีนกเป็นที่เชิดหน้าชูตาของบ้านเรา มีนกแก้วหากินในธรรมชาตินะ ปกติเราจะเห็นนกแก้วในกรง แต่นี่มันเป็นนกแก้วในธรรมชาติ เป็นนกหายาก มาอยู่ในจุดชุมชนรอบที่อาศัยของเรา มันดีมาก หาโลเคชั่นแบบนี้ไม่ง่าย"

ขณะเดียวกัน คุณชาลียังฝากชาวบ้านในพื้นที่ ว่าไม่จำเป็นต้องให้อาหารนกแก้วเหล่านี้ เพราะถ้าให้อาหารมันสัญชาติญาณของนกมันจะหายไป และถ้าวันหนึ่งมันไม่ได้อาหารจากคน นกจะลำบาก

นอกจากนี้ ยังฝากถึงภาครัฐที่มีส่วนรับผิดชอบเกี่ยวกับ "นกแก้วโม่ง" และนกพันธุ์อื่นๆ ให้ เข้มงวดในการตรวจสอบร้านขายนก ถึงที่มาของนกที่นำมาขายว่า เป็นนกที่ลักลอบนำมาสวมตั๋วนกหรือไม่ หรือเป็นนกที่เพาะเลี้ยงอย่างถูกต้อง และมีใบอนุญาตให้การครอบครองนกหรือไม่ ซึ่งระบบที่มีอยู่ก็ดีอยู่แล้วแต่อยากให้ทำเข้มข้นขึ้น 
 

คอนเทนต์แนะนำ
เตือนจับ "ปลานกแก้ว" หวั่นส่งผลกระทบต่อท้องทะเล
คปภ. สั่งห้าม "สินมั่นคงยกเลิกประกันโควิด"

 

TOP ไลฟ์สไตล์
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ