สื่อสารออนไลน์ผ่าน "ข้อความ" ต้องระวังป้องกันการเข้าใจผิด


โดย PPTV Online

เผยแพร่




การสื่อสารผ่านข้อความ ไม่มีโทนเสียง แต่มีความหมายมากกว่าที่คิด ก่อนจะกดส่ง ต้องตรองให้มากป้องกันการเข้าใจผิดกับเพื่อน และที่ทำงาน

ในยุคที่ผู้คนสื่อสารกันได้รวดเร็ว ทำให้บางครั้ง อาจขาดความยั้งคิดมากเกินไป โดยเฉพาะการสื่อสารผ่านข้อความ ในช่องทางออนไลน์ หากไม่คิดให้ถี่ถ้วนก่อนส่ง ข้อความต่าง ๆ เหล่านั้น อาจกระทบกับความสัมพันธ์ของเรากับคู่สนทนา เพราะว่าข้อความมีเพียงตัวอักษร ไม่มีโทนเสียง แต่ต้องสื่ออารมณ์ ฉะนั้น คำบางคำ ความหมายเดียวกัน แต่ใช้ผิดบริบท ก็อาจจะทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้

ดีซี คอนซัลแทนส์ เผยกลยุทธ์การสื่อสารในภาวะวิกฤต นำร่องเปิดคอร์สเทรนนิ่งออนไลน์กรมสรรพากร ฝ่าวิกฤตโค...

ไม่สิ้น "ยิ้มสยาม" อิโมจิ "ยิ้มเห็นฟัน" คนไทยนิยมใช้

“นักวิชาการ” แนะรัฐสื่อสารแบบ One Team One Voice ลดความสับสนในวิกฤตโควิด-19

 

ข้อดีของการสื่อสารด้วยข้อความตัวอักษร
     -ข้อความส่งถึงผู้รับแน่นอน แม้ว่าขณะนั้นผู้รับจะไม่ว่างก็ตาม
     -สามารถตอบได้ตลอดเวลา
     -ไม่ต้องเสียเวลาพูดเรื่องอื่นที่ไม่จำเป็น

10 เคล็ดลับการส่งข้อความแชตลดความเข้าใจผิด
1.สื่ออารมณ์และความหมายให้ดี

     ใช้คำที่เป็นกลาง หลีกเลี่ยงถ้อยคำเหน็บแนม เสียดสี หรือเพิ่มอีโมจิน่ารักๆ สร้างความหมายเชิงบวก และต้องเช็คคำถูกคำผิดก่อนกดส่ง
2.กระชับได้ แต่อย่าสั้นไป
     ความสั้น-ยาว ของข้อความมีผลต่ออารมณ์ผู้อ่าน ยาวไปไม่อยากอ่าน สั้นไปอาจสื่อว่าไม่ใส่ใจ
3.อย่าส่งหลายข้อความติดกัน สร้างความรำคาญ ทำให้เสียสมาธิ
4.คิดก่อนแชร์ต่อ

     ขออนุญาตเจ้าตัวเสมอหากจะแชร์เอกสาร รูปภาพ หรืออื่น ๆ ไปให้ผู้อื่น
5.ต้องรู้ว่ากำลังแชตอยู่กับใคร
     เลือกใช้ภาษา และเรื่องราวให้สอดคล้องกับคนที่อยู่ในแชต
6.อย่าปล่อยให้คนส่งรอเก้อ
7.ตอบกลับให้ไว
8.หากต้องหยุความสัมพันธ์ ต้องเปิดเผย และนุ่มนวล อย่าเท
9.ลาให้ถูกธรรมเนียม

     หากจะออกจากกลุ่มแชต ต้องวางแผนให้ดี ควรอธิบายเหตุผลสั้น ๆ แล้วค่อยออกจากกลุ่ม
10.ทิ้งท้ายคำลา
     ควรทิ้งท้ายให้อีกฝ่ายทราบ ก่อนไปทำอย่างอื่น เพราะการหายไปเฉย ๆ อีกฝ่ายอาจจะสับสนได้

 

TOP ไลฟ์สไตล์
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ