ไขความลับ...สายพันธุ์ "บอนสี" แต่ละชนิดมีชื่อเรียกตามลักษณะของใบ


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ด้วยความที่ "บอนสี" เป็นที่นิยมจึงมีการพัฒนาสายพันธุ์ใหม่ๆ จนทำให้มีมากกว่า 100 ชนิด แต่รู้หรือไม่ว่าแท้จริงแล้วการแบ่งแยกบอนสีสามารถทำได้ง่ายด้วยการดูที่ใบ

อย่างที่เราได้ทำความรู้จัก "บอนสี" กันไปแล้ว คราวนี้เราจะมาทำความรู้จักสายพันธุ์ของเจ้าบอนสีกันบาง อย่างที่ทราบกันดี "บอนสี" เป็นไม่ประดับที่มีสีสันสดใส และมีการพัฒนาสายพันธุ์หลายหลาย มากกว่า 100 ชนิด ซึ่งทั้งหมดจะถูกตั้งชื่อเรียก และจัดเข้าหมวดหมู่ต่างกันไป ตามลักษณะและรูปร่างที่ปรากฎออกมา แต่ประเภทบอนสีหลักๆ นั้นสามารถจำแนกออกตามลักษณะของใบ ได้เป็น 5 ประเภท  คือ 

ทำความรู้จัก “บอนสี” ไม้ประดับที่ได้รับการยกย่องให้เป็น “ราชินีแห่งไม้ใบ”

“คิงออฟคิง” พันธุ์ไม้มงคลประดับพระเมรุมาศ

1. บอนใบไทย (Thai-Native Leaf Caladium) คือบอนสีไทยโบราณที่พบได้มากในประเทศไทย โดยลักษณะของใบจะเป็นรูปหัวใจ ปลายใบแหลม หูใบยาว เว้าลึกเกือบถึงสะดือ ก้านใบกลมออกจากกึ่งกลางใบ มีทั้งปลายใบแหลมและปลายใบมนขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ใบแผ่กว้าง มีขนาดใหญ่ สีสันสวยงาม ใบดกและไม่ทิ้งใบ 

2. บอนใบยาว  (Long- Leaf Caladium) มีลักษณะใบยาวและมีความคล้ายกับต้นบอนสีใบไทย ตรงที่ใบเป็นเป็นรูปทรงหัวใจ แต่จะเรียวยาว มีปลายใบแหลมหูใบยาวฉีกถึงสะดือ ก้านใบกลมออกจากโคนใบหู และสามารถแยกได้อีก 3 ลักษณะย่อยคือ บอนใบยาวธรรมดา บอนใบยาวรูปหอก และบอนใบยาวรูปใบไผ่ 

3. บอนใบกลม (Round-Leaf Caladium)  มีลักษณะของใบที่พัฒนามาจากบอนใบไทย  แต่จะมีความแตกต่าง คือ ใบบอนจะมีคอนข้างกลม  ปลายใบมนหรือมนมีติ่งแหลม ก้านใบนั้นจะอยู่ตรงกึ่งกลางมองแล้วมีความคล้ายกับใบบัว 

4. บอนใบกาบ (Sheath-Leaf Caladium) มีลักษณะของก้านใบที่แผ่บานและแบน คล้ายใบผักกาด โดยมีจุดเด่นคือจะมีรยางค์ที่ยื่นออกมาจากก้านใบเป็นลักษณะใบเล็ก ๆ งเราจะเรียกกันว่า แข้ง ต้นบอนสีชนิดนี้จะหาได้ค่อนข้างยาก 

5. บอนใบไผ่ จะมีลักษณะใบเป็นแถบยาวคล้ายหอกแคบ หรือเป็นเส้น ปลายใบเรียวแหลมคล้ายใบไผ่  หูใบมีความสั้น ความกว้างของใบไม่เกิน 2 นิ้ว 

อย่างที่บอกไป นอกจากจำแนกบอนสีตามลักษณะใบแล้วเรายังสามารจำแนกบอนสี ตามสีสันของบอนที่เราปลูกได้อีกด้วย 

1. บอนไม่กัดสี โดยบอนชนิดนี้จะมีสีของใบเป็นสีเดิม สีคงที่ กล่าวง่ายๆ คือเมื่อต้นมีการผลิใบออกมาอย่างไรเมื่อโรเต็มที่ใบก็ยังคงมีสีนั้น แม้จะมีควาเปลี่ยนแปลงก็เพียงเล็กน้อย แต่สีสันยังคงเดิม คล้ายกับสีของต้นอ่อนแทบทุกประการ 


2. บอนกัดสี จะแตกต่างจากบอนไม่กัดสีตรงที่ ใบจะมีการเปลี่ยนสีสัน โดยตอนที่มันยังเป้นต้นอ่อนจะมีใบเป็นสีเขียว แต่พอโตขึ้นมาสีของใบบอนจะเปลี่ยนไปจากเดิม เป็นสีชมพู หรือสีแดง อีกทั้งอาจมีจุดคล้ายกับการแต่สีลงบนใบ


3. บอนป้าย คือลักษณะสีของต้นบอน ที่มีความสะดุดตา โดยจะมีแถบด่างสีแดงพาดบนใบ ซึ่งลักษณะเช่นนี้จะเริ่มแสดงให้เห็นตั้งแต่ใบแรก หรือใบที่ 2 ทันที


4. บอนด่าง ลักษณะของใบจะมีลักษระสีเขียวอมขาว หรือขาวอมแดง และบางครั้งก็อาจเป็นด่างอมสีเหลืองด้วย โดยความด่างเหล่านี้จะอยู่บนใบของต้นบอนสี
 

สำหรับสายพันธุ์บอนสีแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ด้วยกัน ดังนี้

- สายพันธุ์บอนสีพื้นเมือง 

- สายพันธุ์บอนสีลูกผสมในไทย บอนสีที่เกิดจากการผสมเกสรหรือการผ่าหัวแล้วกลายพันธุ์ 

- สายพันธุ์ต่างประเทศ 
 

ที่มาของข้อมูล 

ที่มาข้อมูล 
- หนังสือบอนสี ของ สมาคมบอนสี แห่งประเทศไทย
my-best.in.th
- natres.psu.ac.th

"ไม้ด่าง" ราคาพุ่ง ล่อใจคนร้ายตระเวนขโมย

ฮือฮา 'เสี่ยเมืองจันท์' ซื้อกล้วยด่าง 10 ล้าน แดงอินโด นางพญาตุ๊กแก เผยความพิเศษ แค่รับมอบฟันกำไร 6...

TOP ไลฟ์สไตล์
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ