"กรี๊ดบำบัด" ประโยชน์ทางสุขภาพจิตจาก "หนังสยองขวัญ"


โดย PPTV Online

เผยแพร่




"หนังสยองขวัญ” นอกจากจะให้ความบันเทิงแล้ว ยังช่วยคลายเครียด และความวิตกังวลได้อีกด้วย

พล็อตหนังแนวสัตว์ประหลาดไล่ล่า, แนวฆาตกรโรคจิต, มนุษย์ต่างดาว, ซอมบี้ และสิ่งเร้นลับเหนือธรรมชาติ ดูจะเป็นสื่อเพื่อความบันเทิงมากกว่า ซึ่งตรงข้ามกับภาพของการบำบัดความเครียดโดยสิ้นเชิง
ซึ่งความตั้งใจของหนังแนวนี้ ก็คือ การพยายามจะทำให้เรากลัว ตื่นเต้น ตกใจแบบสุดขีด แต่อีกมุมหนึ่ง “หนังสยองขวัญ" ก็ไม่ได้สร้างความกลัวเสียทีเดียว หากแต่เป็นการปลดปล่อย ซึ่งผู้กำกับ Wes Craven จากหนังเรื่อง Scream เคยให้สัมภาษณ์ไว้ในสารคดีเรื่อง “Fear in the Dark” ดูจะไม่ใช่เรื่องเกินจินตนาการ

Suspiria หนังสุดโหด สำหรับ "ดาโกต้า จอห์นสัน"

เพราะเมื่อเรากำลังเผชิญกับสถานการณ์ดังกล่าว ร่างกายของเราจะสั่นเทิ้ม หลั่งอะดรีนาลีน
ออกมาซึ่งกลับกลายเป็นสิ่งที่ดีต่อเรา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ Andrew Scahill มหาวิทยาลัย Colorado Denver ผู้แต่งหนังสือ “The Revolting Child in Horror Cinema” พูดถึงเรื่องนี้ไว้อย่างน่าสนใจว่า “ปล่อยให้ตัวคุณเองได้ถูกกระตุ้น ในสถานที่ปลอดภัย จะช่วยในกระบวนการการบำบัดได้” 

ปรับตัวรับมือได้ดีขึ้นด้วย “เสียงกรี๊ด”
ลองนึกถึงสิ่งที่หนังสยองขวัญนำเสนอให้แก่ผู้ชมที่นอกเหนือจากความบันเทิง ในแง่ของการส่งมอบประสบการณ์จำลองในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความตาย
ร่างกายจะพยายามสื่อสารกับเราถึงอันตรายที่กำลังจะเกิดขึ้น ขณะที่เรารับรู้ได้ว่าเรากำลังนั่งเก้าอี้อันแสนสบายในโรงหนังกับกระบวนการบำบัดในรูปแบบนี้

นอกจากนี้หนังสยองขวัญยังช่วยเราเรียนรู้กับการรับมือ “ความเครียดในชีวิตจริง” ของเราได้เพราะในระหว่างที่เรากำลังดูหนังอยู่นั้น เราจะเริ่มรู้สึกถึงความวิตกกังวล ผ่านการกระตุ้นของหนัง ซึ่งความวิตกกังวลนี้จะไม่เหมือนกับความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพ
ในทางกลับกัน ความวิตกกังวลจากหนังจะช่วยให้เราได้เรียนรู้ถึงการจัดการสภาวะเหล่านี้ได้ และสามารถนำไปใช้จริงได้ในสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นกับเราผ่านชีวิตประจำวัน


หนังสยองขวัญช่วยให้เรากล้าเผชิญหน้ากับความกลัว
เมื่อเรื่องราวของหนังสยองขวัญดำเนินมาถึงช่วงท้าย ตัวเอกที่ถูกตามล่า มักจะหาวิธีการในการจัดการกับวายร้ายได้ในที่สุด ลักษณะพล็อตหนังแบบนี้จะช่วยเป็นแรงบันดาลใจให้เรากล้าที่จะเผชิญกับความกลัว ซึ่งมีหลายครั้ง ที่เราจำเป็นต้องตัดสินใจในเรื่องยาก ๆ หรือเผชิญความท้าทาย ที่ทำให้เรากลัวถึงผลลัพธ์ที่อาจจะตามมา

รู้สึกกลัวในสถานที่ “ปลอดภัย” ช่วยบรรเทาความรู้สึกได้ดี
จากรายงานข่าวของ Business Insider พูดถึงในช่วงเดือนพฤษาคม 2020 ที่เป็นช่วง
เกิดการระบาดสูงสุดของโควิด-19 ยอดขายหนังดิจิทัลประเภท “สยองขวัญ” มียอดขายพุ่งสูงถึง 194%เมื่อเทียบกับช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา 
Kurt Oaklee ผู้ก่อตั้ง Oaklee Psychotherapy ได้พูดถึงเหตุการณ์นี้ว่า “มันไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะเกิดเรื่องแบบนี้ขึ้น ในช่วงเวลาที่เครียดคนมักจะมองหาหนังสยองขวัญดู”

เช็กสัญญาณเตือน จากเด็กว่าเข้าข่ายถูกทารุณกรรม และถูกทอดทิ้งหรือไม่

อเล็ก บอลด์วิน ทำปืนลั่นระหว่างถ่ายหนัง ทีมงานตาย 1 ผู้กำกับบาดเจ็บสาหัส

อย่างไรก็ดีการบำบัดด้วยหนังสยองขวัญอาจจะไม่เหมาะสำหรับทุกคน หากเป็นคนที่มีอาการวิตกกังวลง่ายควรหลีกเลี่ยงวิธีนี้ เพราะจะส่งผลเสียมากกว่า

และถ้าเราเริ่มสังเกตว่าตนเองอาจจะมีความเครียด หรือความวิตกกังวลที่มากกว่าปกติ ควรพบนักบำบัด หรือจิตแพทย์เพื่อรักษาต่อไป
 

TOP ไลฟ์สไตล์
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ