"ให้อภัยตัวเอง" ให้เป็น เพื่อชีวิตที่มีความสุข พร้อมแนะวิธีที่ปฏิบัติ


โดย PPTV Online

เผยแพร่




คนที่ไม่ทำอะไรเลยคือคนที่ไม่มีวันทำผิด แต่ถ้าเราต้องทำอะไรสักอย่างแล้วผิดพลาดความรู้สึกคือสิ่งที่ตามมา เราจึงต้องให้อภัยตัวให้เป็นเพื่อให้มีความสุข

ทำไมเราถึงรู้สึกแย่เวลาที่เราทำอะไรผิดพลาดเสมอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็ก เรื่องใหญ่กับตัวเองหรือคนอื่นทำให้เราเกิดความรู้สึกด้านลบกับตัวเองอย่างความรู้สึกผิด หรืออับอาย

นักวิจัยเชื่อว่าเป็นกระบวนการวิวัฒนาการในด้านอารมณ์ของมนุษย์จากบรรพบุรุษของเรา ที่ในสมัยก่อนความผิดพลาดเพียงเล็กน้อยอาจะส่งผลกระทบยิ่งใหญ่อย่างการล่าที่ไม่สำเร็จอาจถึงขั้นอดอาหาร 

ซึ่งความรู้สึกผิด หรืออับอายเป็นการตอบสนองที่เกิดขึ้นเพื่อช่วยให้เราได้เรียนรู้จากความผิดพลาด
เหล่านั้นเพื่ออยู่รอด
กรมสุขภาพจิตเผยคนไทยมีความสุขเพิ่มขึ้น
กรมการแพทย์ แนะวิธีเพื่อเป็นผู้สูงอายุอย่างมีความสุข

ความรู้สึกผิด และอับอายไม่ช่วยอะไร
มีงานวิจัยที่ถูกตีพิมพ์ใน “Proceedings of the National Academy of Sciences” แนะนำว่า “ความรู้สึกผิด และอับอาย”​ ไม่ช่วยให้เราเรียนรู้จากความผิดพลาได้ดีขึ้นเลย และความรู้สึกเหล่านี้ยัง
หล่อหลอมความรู้สึกต่อคุณค่าของเรา

มีผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ว่าบรรพบุรุษของมนุษย์รู้สึกพึ่งพิงผู้อื่นเพื่ออยู่รอดอย่างไร และถ้าเกิดความผิดพลาดทำให้สมาชิกในชุมชนผิดหวัง อาจถูกมองว่าเป็นความผิดไม่สมควรได้รับความช่วยเหลือ, สนับสนุน และได้รับทรัพยากรอีกต่อไป 

อะไรคือ “การให้อภัยตัวเอง”
ด็อกเตอร์ Daryl Van Tongeren และยังเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์แห่ง Hope College ผู้ร่วมเขียนงานวิจัยอีกชิ้นนึงที่พูดถึงการรับมือกับความรู้สึกผิดและอับอายหลังจากทำเรื่องที่ผิดพลาด
กล่าวว่า “ยังคงมีความน่าฉงนเกี่ยวกับการให้อภัยตัวเอง ซึ่งดูขัดแย้งกันในทางหนึ่งที่ผู้คนมองว่า ถ้าหากเราให้อภัยตัวเองเมื่อทำผิดพลาด มันเหมือนว่าเราจะได้รับอนุญาตให้ทำผิดซ้ำได้อีก”

ในขณะที่คนอีกกลุ่มหนึ่งมอง “การให้อภัยตัวเอง” เป็นเรื่องสำคัญต่อสุขภาพจิตของเรา เพราะถ้าคุณไม่ให้อภัยตัวเอง จะทำให้เราติดอยู่กับความรู้สึกผิด และอับอายซึ่งไม่นำไปสู่อะไรที่จะเกิดประโยชน์

“การให้อภัยตัวเอง” ไม่ใช่เพียงแค่การทำ หรือพูดเพียงครั้งเดียวแล้วเห็นผลทันใด แต่มันคือกระบวนการที่เริ่มต้นด้วยการหาความรู้สึกอื่นมาแทนที่ “ความรู้สึกผิด และอับอาย” ซึ่งนำไปสู่วังวนพิษ ( Toxic Cycle) ด้วย ความเห็นอกเห็นใจตนเอง (Self- Compassion) ตระหนักรู้ถึงสิ่งที่เราทำพลาดไป และปรารถนาที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองไม่ให้ทำผิดซ้ำอีก

“การให้อภัยตัวเอง” ทำไมถึงเป็นเรื่องยาก
ปรากฏว่าอีกสิ่งที่เกิดวิวัฒนาการควบคู่ไปกับมนุษย์นั้นคือ “การให้อภัยผู้อื่น” ซึ่งส่งผลต่อความอยู่รอดช่วยให้ชุมชนเหล่านั้นยังคงอยู่ได้ต่อไป จากงานวิจัยที่ถูกตีพิมพ์ใน Frontiers in Psychology ด็อกเตอร์ Van เสริมว่า “เพราะเรารู้จักตัวเองดีเกินไป และเพราะเรารับรู้ถึงสภาพแวดล้อมรอบตัวเรา ในขณะที่เรากำลังจะตัดสินใจผิดพลาด จนกลายเป็นว่าเราตัดสินตัวเองจนยากเกินที่จะให้อภัย”

“การไม่ให้อภัยตัวเอง” ส่งผลต่อสุขภาพกาย
ยิ่งเราให้อภัยตัวเองน้อยเท่าไหร่ ระดับความเครียดของเราจะสูงขึ้น ซึ่งความเครียดส่งผลต่อ
ภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ลดลง, น้ำตาลในเลือดสูง, ความดันสูง และส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร

เริ่มต้นจากการเห็นอกเห็นใจตนเอง (Self-compassion)
คือการที่เรามองเห็นตัวเอง และสิ่งที่เราทำโดยไม่มีอคติ, เข้าใจ และยอมรับ จากนั้นเริ่มต้นให้อภัยตัวเองด้วย 4ขั้นตอนดังนี้
1. รับผิดชอบ
จดจำถึงความผิดพลาดที่เกิดขึ้นและรับผิดชอบ
2. สำนึกผิด
คือความรู้สึกเสียใจต่อสิ่งที่เราได้ทำลงไป และถือเป็นการให้คำมั่นแก่ตัวเองว่าจะไม่ทำซ้ำอีก
3. ฟื้นฟู
พยายามแก้ไข หรือทำให้กลับมาเหมือนเดิม แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกสิ่งที่จะกลับมาเหมือนเดิมเสมอ
4. ก้าวต่อไป
ไม่มีประโยชน์อะไรกับการพยายามที่จะจมอยู่กับความผิดพลาดอีก หากเราได้ทบทวน และทำทั้ง 3 ขั้นตอนก่อนหน้านี้แล้วพร้อมกับความเชื่อมั่นว่าความผิดพลาดที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ เราพยายามที่จะยับยั้งอย่างดีที่สุดแล้ว ก็ขอให้ก้าวต่อไปเพื่อสิ่งที่ดีกว่า
 

TOP ไลฟ์สไตล์
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ