"Resilience" ทักษะแห่งความยืดหยุ่น ที่มีทั้งดี และเสีย


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ทักษะแห่งความยืดหยุ่นที่มีติดตัวไว้ย่อมเป็นข้อดีเมื่อถึงวันที่เราล้ม แล้วลุกได้เร็วกว่า

"Resilience" เป็นที่พูดถึงมาได้พักหนึ่งถึงทักษะแห่งความยืดหยุ่น ล้มแล้วลุก ก้าวต่อไปได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งนั่นก็คือข้อดีของการมีทักษะนี้อย่างไม่ต้องสงสัย
แต่ในเมื่อมีข้อดีก็ย่อมต้องมีข้อกังวล ว่าเรากำลังใช้ในส่วนดี หรือปรับใช้จนเกิดผลเสียต่อตัวเรามากกว่ากัน มาดูกันว่า ข้อเสีย และข้อควรระวังในการมีทักษะที่ดีอย่าง "Resilience" มีอะไรกันบ้าง

เรียนรู้ทักษะที่จำเป็น สู่การทำงานหลังโควิด-19
"ทักษะระหว่างบุคคล" สื่อสาร-สร้างปฏิสัมพันธ์ เพื่อประสิทธิภาพการทำงาน

1. ไม่ใช่การอดทน
หากเรากำลังอดทนต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ดี ไม่ได้แปลว่าเรากำลังมี "Resilience" สิ่งสำคัญคือการหาวิธีรับมือ แก้ไข เพื่อไปถึงเป้าหมายที่เราตั้งไว้ หรืออย่างการปรับตัวไปสู่สิ่งที่ดีกว่า หาใช่ความอดทนต่อสิ่งไม่ดีด้วยการปรับตัวยอมรับ

2. ไม่เติมเต็มสิ่งที่เราคาดหวัง
ระมัดระวังในความคาดหวังของเรา ด้วยการมีทักษะ "Resilience" เพื่อไปให้ถึงความดาดหวัง เพราะ “ความคาดหวัง” อาจจะไม่ตรงกับ “ความเป็นจริง” เสมอไป การยืดหยุ่นเพื่อมองหาทางเลือกอื่นหรือปรับ “ความคาดหวัง” ให้ใกล้เคียงกับ “ความเป็นจริง” คือสิ่งที่ "Resilience" สามารถช่วยเราได้

3. "Resilience" ไม่ได้ทำให้เราแข็งแกร่ง
"Resilience" ขึ้นชื่อในเรื่องของความยืดหยุ่น และการปรับตัวมากกว่าจะทำให้เราสมบูรณ์แบบ เพราะสิ่งเหล่านี้ล้วนมีเงื่อนไขที่อยู่ได้ในสภาวะใด สภาวะหนึ่ง ซึ่งต่างจากความเป็นจริง ที่สภาวะของโลกไม่ได้หยุดนิ่งถาวร หรือเคลื่อนตัวช้าอย่างที่เคยเป็นมา เราอาจจะไม่ได้แข็งแกร่งขึ้นแต่อยู่ได้ดีขึ้น และรับมือได้เร็วขึ้น

เช็กลิสต์ตัวเอง...เข้าข่าย "ภาวะหมดไฟในการทำงาน" หรือ "ซึมเศร้า"

4. "Resilience" คือทักษะที่เกิดจากการใช้เวลาฝึกฝน
จุดเด่นในธรรมชาติของมนุษย์คือการปรับตัวเพื่อเปลี่ยนแปลงไปกับสภาวะการณ์ต่าง ๆ ผ่านการเรียนรู้ และฝึกฝนที่หลากหลาย เราไม่สามารถมีทักษะต่าง ๆ ได้เลยหากไม่ได้ใช้เวลา และลงมือไปกับการฝึกหรือปรับวิธีคิด

TOP ไลฟ์สไตล์
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ