การดื่มเลือดงู เป็นวิธีการยังชีพของทหารไทย


โดย PPTV Online

เผยแพร่




การเป็นทหาร ถือเป็นการรับใช้ชาติอย่างหนึ่ง และเป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจสำหรับคนไทย เป็นหน้าที่อันทรงเกียรติ เพราะกว่าจะมาเป็นทหารนั้นไม่ง่ายเลย สุขภาพต้องแข็งแรง ร่างกายต้องสมบูรณ์ และมีความอดทนสูง จึงไม่แปลกที่ในแต่ละปีจะมีวีธีการคัดเลือกทหาร

แน่นอนว่า เมื่อเราได้ถูกคัดเลือกให้เป็นทหารแล้วจะต้องมีการฝึกฝนเพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือกับเหตุการณ์ต่างๆ การฝึกในแต่ละวันจะหนักขึ้นเรื่อยๆ และบางครั้งก็ต้องไปร่วมกับเหล่าทหารจากสหรัฐอเมริกา จึงได้เป็นกลุ่มทหารไทยและสหรัฐฯ กลุ่มที่รวมตัวกันในนาม “คอบร้า โกลด์” (Cobra Gold) และกลายเป็นโครงการที่มีคนเข้าร่วมหลายประเทศ จุดประสงค์ที่มีกลุ่มนี้ขึ้นมาก็เพื่อ

1. เพื่อพัฒนาความสามารถของเหล่าทหารในแต่ละประเทศที่เข้าร่วมโครงการในเรื่องของการวางแผนและการดำเนินงานร่วมกัน

2.  สร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เข้าร่วมโครงการทั่วทั้งภูมิภาค

3. เพื่อพัฒนาการทำงานร่วมกัน เสริมสร้างความมั่นคงให้กับเหล่าทหารที่มาฝึก ได้เตรียมพร้อมรับมือเหตุการณ์ไม่ขาดฝัน เช่น ภัยสึนามิ ภัยธรรมชาติที่ร้ายแรง

การฝึกของเหล่าทหารที่เข้าร่วมโครงการนี้จะเป็นกิจกรรมที่หนักและโหดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ การทำให้ร่างกายแข็งแรงจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะเรื่องของอาการขาดน้ำ ในความเชื่อของเหล่าทหารเกี่ยวกับเครื่องดื่มที่ทำให้ไม่กระหายน้ำเมื่อถึงเวลาฝึก คือ “การดื่มเลือดงูเห่า!”

วิธีการโดยรูดพิษจากงูออกให้หมด นั่นคือ การถอนเขี้ยวงู ที่ทำเช่นนี้ก็เพื่อฝึกการดำรงชีพในป่า ให้ทหารที่ออกปฏิบัติการในพื้นที่ห่างไกลและทุรกันดาร ได้รู้ถึงความยากลำบาก และอันตรายในบางพื้นที่ น้ำและอาหารที่นำติดตัวไปไม่พอต่อการดำรงชีพ ทหารจึงจำเป็นต้องช่วยเหลือตัวเองให้รอดพ้นจากการอดตาย จึงมีการฝึกดำรงชีพในป่า หาอาหารตามธรรมชาติเพื่อหล่อเลี้ยงชีวิตให้รอด สิ่งนี้จะทำให้เหล่าทหารที่มาฝึก ได้มีความรู้ ความเข้าใจและสังเกตได้ว่า พืช หรือสัตว์ชนิดใดที่มีพิษหรือไม่มีพิษ และสามารถนำมาประกอบเป็นอาหารเพื่อยังชีพได้

 

เรื่องราวที่น่าสนใจเหล่านี้ยังมีอีกมาก ค้นพบและติดตามร่วมไปกับเราในรายการชั่วโมง Discovery ทุกวันจันทร์-อาทิตย์ เวลา 08.00-09.00 น. ทางช่อง PPTV HD 36

TOP ไลฟ์สไตล์
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ