การถ่ายภาพชีวิตสัตว์ป่า สิ่งแรกที่ต้องมี คือ จิตสำนึกที่ดี


โดย PPTV Online

เผยแพร่




ยุคนี้เป็นยุคสมัยที่ความนิยมการเข้าป่าท่องเที่ยวถ่ายภาพธรรมชาติกำลังอินเทรนด์สุดๆ ไม่มีใครที่ไม่รู้จัก "ก้อง-บารมี เต็มบุญเกียรติ" ช่างภาพแนว Wildlife ชั้นแนวหน้าของเมืองไทย สร้างสรรค์ผลงานน่าตื่นตาตื่นใจจำนวนมากมายที่ถ่ายทอดความมหัศจรรย์ของชีวิตสัตว์ป่าและความงดงามของธรรมชาติ ออกสู่สายตาคนเมืองอย่างเราๆ ท่านๆ ผ่านทางภาพถ่ายและเรื่องเล่าจากประสบการณ์ตรงมากว่า 20 ปี

ในฐานะช่างภาพแนวสัตว์ป่าที่ตระเวนไปทั่วถิ่นทั้งไทยและเทศ “ก้อง บารมี” เล่าถึงประสบการณ์จากการใช้ Canon EOS R กล้อง Mirrorless Full Frame รุ่นแรกจาก Canon ว่า ฟีเจอร์ของกล้องตอบสนองงานถ่ายภาพของผมมาก ทดลองใช้กับเลนส์ ใส่ Grip กับแบตเตอรี่ 2 ก้อน บนขาตั้งกล้อง บาลานซ์มันดีมาก สั่นไหวมีน้อยเมื่อเทียบกับกล้องตัวอื่นๆ ที่ผมเคยใช้ ตัวบอดี้กล้องเองก็สามารถสั่งให้เป็น full หรือ Crop เซนเซอร์ 1.6 ดึงระยะภาพเข้ามาได้ง่ายและชัด

เพราะไม่ได้ถ่ายเฉพาะภาพนิ่ง แต่ถ่ายวิดีโอเพื่อทำรายการด้วย ฉะนั้น สิ่งที่ผมต้องการคือ การแตก line ช็อตของภาพออกมา บางครั้งอยากได้ภาพมุมกว้างเห็นทั้งถิ่นอาศัยของสัตว์ป่าแล้วก็เจาะเข้าไปที่ตัวสัตว์ Crop เข้าไปดูพฤติกรรมของสัตว์ ผมก็ใช้ Crop เซนเซอร์ในกล้อง Canon EOS R ตัวนี้ แล้วใส่ความละเอียด 4K คูณเข้าไปอีก คราวไปเทสกล้องที่ภูเขียว เขาใหญ่ ปราจีน อยุธยา รวม 7 วัน ผมเทสเต็มระบบทั้งหมดเลย

"ตอนที่ไปภูเขียว ผมลองใช้กับเลนส์ EF 200-400mm f/4L IS USM เพื่อสร้างความยืดหยุ่นในมิติของการใช้งาน จะมีช็อตเนื้อทรายอยู่ไกลมาก อ่างเก็บน้ำกับทุ่งหญ้าเป็นแบ็คกราวน์ อยู่ดีๆ เนื้อทราย 2 ตัวก็ชนกัน มองว่า เฮ้ย! สวยดี ช็อตนี้น่าจะลองใช้กับกล้อง Canon EOS R ตัวนี้ เราก็ถ่ายภาพมุมกว้างเห็น Landscape อยากให้เห็นเนื้อทรายกลางทุ่ง ก็ใช้เลนส์ระยะ 200 มม. ทีนี้ลองหมุนซูมมาที่ระยะ 400 มม. แล้วใช้ 1.4 ตัวคูณบิวต์อินที่อยู่ในตัวเลนส์ กลายเป็นระยะ 560 มม. บวก Extender 1.4 ได้ระยะกว่า 700 มม. แล้วก็เข้า Crop เซนเซอร์ของวิดีโอ เมื่อรวมกับอีกจุดเด่นหนึ่งที่ดีมาก คือ โหมด  IS Movie เป็นโหมดที่ถูกออกแบบมาให้สามารถ Crop ภาพเข้าไปอีก สมมติว่าภาพเกิดการสั่นไหว สามารถ Crop ข้างๆ ทิ้งเอาเฉพาะตรงกลางมา  สรุปได้เป็นภาพมุมกว้าง 2 สเต็ป ภาพเนื้อทรายวิ่งเล่น และอีกภาพเนื้อทรายวิ่งเข้ามาชนกัน”

บอกเลยว่า กล้อง Mirrorless Full Frame รุ่นแรกจาก Canon ตอบโจทย์การทำงานของผมมาก ถ้าเป็นเมื่อก่อน ต้องมีช่างภาพคนหนึ่งที่ใช้ซูเปอร์เทเลตัวใหญ่ อีกคนใช้เลนส์เทเลช่วงกลางพวก 70-200 มม. แต่ Canon EOS R  ตัวนี้ ช่วยให้ผม "ทำงานจบในตัวคนเดียว"

สิ่งทีพีคอีกข้อคือ การโฟกัสในที่มืด เคลมได้เลยว่า ในที่มืดมากๆ Canon EOS R ถ่ายได้ โฟกัสได้ ตอนที่ไปปราจีนบุรี ไปเก็บภาพนกแสกในเมือง มีแสงไฟแผ่วๆ มาที่ต้นไม้ในคืนพระจันทร์เต็มดวง จังหวะนั้นแสงอ่อนมาก ลองจินตนาการดูว่า ความไวแสงที่ ISO 10,000  สปีด 1 วินาที มันมืดขนาดไหน ปกติถ้าเจอโจทย์แบบนี้มันยาก เราอาจนอนไปแล้วด้วยซ้ำ แต่กล้องตัวนี้โฟกัสได้ เมื่อกดชัตเตอร์ในช่วงแรกๆ ภาพจะสั่นไหว แต่เมื่อกล้องเริ่มเสถียร จะให้ภาพที่คมชัด เอามาเข้าคอมพ์ปรับแสงนิดหน่อย แค่นี้...ก็ได้ภาพที่โอเค สำหรับงานผมเท่านี้ก็เพียงพอแล้ว ขณะที่กล้องของอีกคนที่ถ่ายอยู่ข้างๆ  โฟกัสไม่เข้า มีเสียงฟืดฟาดๆ ตลอด พอใช้งานนี้เสร็จ ผมมั่นใจกับ Canon EOS R  ตัวนี้มาก

หลังจากนั้น ไปถ่ายภาพที่เขาใหญ่ เจอช้างป่าเดินบนถนน ประมาณ 6 โมงเย็น  รถติดขับไปไหนไม่ได้ มีเจ้าหน้าที่อุทยานฯพยายามกันช้างออกไป สำหรับช่างภาพแล้ว ช็อตนี้จะมัวมาหยิบขาตั้งกล้องมาใช้ มันช้าไป ไม่สะดวก นึกภาพออกใช่ไหม  วิธีคิดคือ ขนาด ISO ที่ 10,000 ยังได้ภาพคม ผมเปิด Handheld กันสั่น ตั้ง ISO ที่ 6,400  วัดค่าแสงให้ได้ 1/600  แล้วก็ยกกล้องขึ้นกดถ่ายภาพในระบบ Continue High ยกซดกันไปเลย Scene สุดท้ายที่ได้ คือ ผมลงนอนกับพื้นถนน มีช้างโตเต็มวัย กับลูกช้าง และตัวพี่เลี้ยงทีมาด้วยกันอยู่ข้างหลังเบลอๆ จังหวะที่ช้างเดินมีน้ำเปียกอยู่บนถนน สะท้อนมาตรงขาช้าง ได้ภาพทีเหมือนช้างลอยอยู่ นี่แหละครับ ได้จาก ISO ที 6,400

คุณสมบัติเด่นๆ ที่พบจากกล้องตัวนี้อีก โฟกัสได้และเร็วในที่มืด แสงน้อย การถ่ายภาพแนว Wildlife ถ้าโฟกัสไม่ได้ก็จบ สมมุติเสือออกมาตอน 6 โมงครึ่ง แสงสลัวๆ จะมืด นั่งในบังไพรกันอยู่ 3 คน ผมโฟกัสเข้าปึ้ง แต่สปีดมันต่ำนะถ้าเกิดกดก็สั่น  ผมก็ต้องมาเลือกว่าจะแพนกล้องยังไงให้มันชัดที่่สุด แต่อีก 2 คน ถ้าโฟกัสไม่ได้ก็จบ เสือเดินมาแล้วผ่านไปประมาณ 10 กว่าวินาที ก็ถือว่าหมดโอกาสแล้ว

นอกจากนั้น การกระจายตัวของกลุ่มโฟกัสเยอะและกว้าง เหมาะมากกับการถ่ายภาพแบบ Touch and drag  ด้วย สมัยก่อนเราจะต้องหมุนกล้องมาโฟกัสแล้วก็หมุนมาจัดองค์ประกอบ แล้วก็ตั้ง AI Servo ไว้ มันก็จะ Tracking ตามวัตถุ สัตว์ป่าเดินผ่านมา เราก็รูดนิ้วโป้งบนจอ Touch screen โฟกัสตาม นิ้วชี้ก็กดถ่ายภาพไป มันก็ Track เข้าเรื่อยๆ ยังไงภาพก็ออกมาคม อีกอย่างที่ชอบมากคือ จอ LCD ทัชสกรีนแบบปรับหมุนได้ ช่วยให้ทำงานง่ายขึ้นในภาพมุมต่ำ มุมสูง หรืออย่างการยื่นตัวกล้องออกไปถ่ายภาพริมหน้าผา

สำหรับมือใหม่ที่สนใจใคร่อยากเป็นช่างภาพแนว Wildlife บ้าง "ก้อง บารมี" ให้คำแนะนำว่า ภาพถ่ายแนว Wildlife คือการถ่ายภาพชีวิตสัตว์ป่า สัตว์ปาไม่ใช่สิ่งที่คนคุ้นเคย สัตว์ป่ามีวิถีของมัน สิ่งแรกที่สำคัญที่สุด ไม่ใช่อุปกรณ์ ไม่ใช่กล้องราคาแพง ไม่ใช่งบประมาณ  แต่สิ่งแรกที่ต้องมีก็คือ “จิตสำนึกที่ดี” ถ้ามีตรงนี้ เราจะรู้สึกอยากช่วยเขา ความรู้สึกอยากได้รูปจะน้อยลงไป เราไม่ได้ภาพก็ได้ถ้าการถ่ายภาพไปรบกวนสัตว์ป่าเข้า ถ้าเรามีจิตสำนึกที่ดีในใจ เดี๋ยวธรรมชาติก็เปิดโอกาสให้เอง  นอกจากนั้น ต้องเรียนรู้พฤติกรรมของสัตว์ป่าและทำความเข้าใจตรงนั้นก่อน จะทำให้เราทำงานง่าย สิ่งที่เป็นมากกว่าการถ่ายภาพ คือ การได้ศึกษาถึงเพื่อน (สัตว์ป่า) ของเราว่าเป็นอย่างไรบ้าง นี่คือคีย์ที่สำคัญที่สุด และเป็นสิ่งที่ต้องมี

TOP ไลฟ์สไตล์
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ