สหประชาติ ( UN) เปิดเผยรายงานจากโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ ฉบับใหม่เมื่อวานนี้ ( 7 ก.พ.) โดยระบุว่า แหล่งน้ำทั่วโลก ตั้งแต่แม่น้ำคงคาของอินเดีย ไปจนถึงแม่น้ำแคชลาปูเดร ในรัฐโคโลราโดของสหรัฐฯ มียีนของเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะปนปะอยู่ และสิ่งนี้สร้างความกังวลอย่างมาก เพราะแม่น้ำมักเป็นแหล่งกำเนิดของน้ำดื่มที่มนุษย์ใช้บริโภค และกำลังกลายเป็นโรคระบาดชนิดต่อไปโดยที่มนุษย์ไม่ทันรู้ตัว
ยอดเสียชีวิต แผ่นดินไหวตุรกี ใกล้ 8,000 คน
“ซน ฮึง มิน” เผยชีวิตที่ต้องการหลัง “แขวนสตั๊ด”
นอกจากนี้ สหประชาชาติ ยังระบุด้วยว่า การเติบโตของจำนวนประชากร การขยายตัวของเมือง ความต้องการด้านอาหาร และการดูแลสุขภาพที่เพิ่มขึ้น อาจทำให้มีการใช้ยาต้านปฏิชีวนะเพิ่มขึ้น รวมถึงมีการปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อมมากขึ้นไปอีก
ซึ่งมลพิษทางสิ่งแวดล้อม ถือเป็นตัวขับเคลื่อนหลักในการพัฒนา การส่งผ่าน และการแพร่กระจาย ของ “การดื้อยาของเชื้อโรค”
เช่นเดียวกับการขาดการจัดการแหล่งปล่อยมลพิษ รวมถึงการสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะที่ไม่ถูกต้องตามคลินิก โรงพยาบาล และในทางเกษตรกรรม ก็ทำให้เกิดความเสี่ยงเพิ่มขึ้นไปอีก
สหประชาชาติได้เรียกร้องให้รัฐบาลประเทศต่างๆ ควบคุม และกำจัดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแหล่งน้ำ โดยความเคลื่อนไหวดังกล่าวมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการควบคุมการเพิ่มขึ้นของ Superbugs หรือเชื้อแบคทีเรียดื้อยาปฏิชีวนะ
ทั้งนี้ในปี 2019 มีผู้เสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับการดื้อยาต้านปฏิชีวนะแล้วประมาณ 5 ล้านคนทั่วโลก และหากไม่มีการหยุดยั้งการแพร่กระจายของเชื้อดื้อยานี้ คาดว่า อาจมีจำนวนผู้เสียชีวิตจะเพิ่มขึ้นเป็น 10 ล้านคนภายในปี 2050
ขณะที่ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริการะบุว่า ในสหรัฐฯ พบกาาติดเชื้อดื้อยาปฏิชีวะเกือบ 3 ล้านคนในแต่ละปี และมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 35,000 คน
องค์การอนามัยโลกระบุว่า “การดื้อยาของเชื้อโรค” ถือเป็นหนึ่งในภัยคุกคามด้านสุขภาพระดับโลกในระยะอันใกล้
สำหรับยาปฏิชีวนะมักใช้ในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด สารกำจัดศัตรูพืช ยาป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคในคน สัตว์ และพืชผล ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่า การใช้ยาต้านปฏิชีวนะมากเกินไปทั้งในคน สัตว์ และในกระบวนการผลิตอาหาร จุลินทรีย์ที่รอดจากสารเคมีเหล่านี้ได้จะแข็งแกร่ง และมีพลังมากกว่า รวมถึงสามารถแพร่กระจายยีนที่ดื้อยาไปยังเชื้อโรคที่ไม่เคยสัมผัสกับยาต้านปฏิชีวนะได้