เปิดใจนักวิจัย ไมโครพลาสติกในปลาทู


โดย PPTV Online

เผยแพร่




นางสาวเสาวลักษณ์ ขาวแสง ผู้ช่วยปฏิบัติการวิจัย ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 3 จังหวัดตรัง เปิดเผยว่า จุดเริ่มต้นการวิจัยครั้งนี้มาจากการเก็บขยะในพื้นที่ทุกวัน โดยเฉพาะบริเวณหาดเจ้าไหม ซึ่งปัญหาขยะที่เกิดขึ้นนั้นส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและระบบห่วงโซ่อาหารในพื้นที่อย่างไรบ้างเพราะในพื้นที่นิยมรับประทานอาหารที่มีไตปลาเป็นส่วนใหญ่ และหลังจากนี้ก็เตรียมวิจัยต่อในสัตว์น้ำชนิดอื่น ๆ

นักวิจัยจากศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 3 จังหวัดตรัง ย้ำว่า ผลการวิจัยในครั้งนี้เป็นแค่ข้อมูลระบบนิเวศเฉพาะพื้นที่ว่าเป็นอย่างไร อย่างไรก็ตามก็อยากให้ผู้คนตระหนักว่า ควรจัดการขยะอย่างไรให้ถูกวิธี เพราะตอนนี้ถือว่าเป็นวิกฤตขยะทางทะเลแล้ว อยากให้ทุกคนช่วยแก้กันที่ต้นเหตุ ไม่ใช่ปลายเหตุ โดยเฉพาะการช่วยกันลดการทิ้งขยะ

อ่าวพังงา ออกกฎห้ามนำพลาสติกเข้าอุทยานฯ 25 พ.ย.นี้

“วาฬกินถุงพลาสติกตาย” หลักฐานบ่งชี้วิกฤติขยะทะเลไทย

ส่วนที่บริเวณตลาดสดเทศบาลนครตรัง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง พบว่ามีประชาชนชาวตรังมาจับจ่ายซื้อของในตลาดเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะร้านจำหน่ายปลาสดยังคงคึกคัก จากการสอบถามนางอัจฉรา ล้อมคง แม่ค้าขายปลาประจำในตลาดสดเทศบาลนครตรัง บอกว่า ตอนนี้ตนเองทราบเรื่องดังกล่าวแล้วแต่ยังไม่พบว่าส่งผลกระทบใด ๆ ในการขายปลาทู (ปลาทูกิโลกรัมละ 120 บาท) แต่ในมุมมองประชาชนที่มาเดินซื้อของในตลาด บอกว่า ยังกินปลาทูตามปกติ แต่ก็มีรู้สึกกลัวบ้าง จึงอยากให้ทุกคนอย่าทิ้งขยะลงในแม่น้ำลงในทะเล เพราะขยะพวกนี้ก่อให้เกิดมลพิษ

 

TOP ประเด็นร้อน
วิดีโอยอดนิยม
เรื่องที่คุณอาจพลาด

วิดีโอยอดนิยม

ข่าวเด่นในรอบสัปดาห์

เพิ่ม PPTVHD36
ลงในหน้าจอหลักของคุณ